ลักษณะของจิตและเจตสิก


        ผู้ถาม จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ จำเป็นจะต้องรู้อารมณ์ แต่โดยความเป็นจริงก็อดที่จะคิดหรือนึกไม่ได้ว่าอารมณ์ในขณะนั้นที่จิตรู้

        ส. ขอโทษค่ะ นี่ก็ค้านกันแล้วใช่ไหม จิตเขาเกิด เขาคิด จิตทำหน้าที่ตลอดเวลาของจิต เพราะฉะนั้นเราจึงเรียนเรื่องกิจของจิตว่าจิตแต่ละประเภททำกิจอะไร จิตไหนเกิดขึ้นทำกิจอะไร ไม่ใช่เรา ทั้งหมดคือกิจของจิตๆ เกิดขึ้นทำกิจคิด จิตเกิดขึ้นทำกิจติดข้องเมื่อมีเจตสิกนั้นๆ เกิดร่วมด้วย

        ผู้ถาม ความแตกต่างของจิต และเจตสิก

        สุ. จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ใช้คำว่า “ปัณฑระ” เมื่อกล่าวถึงจิตล้วนๆ ไม่กล่าวถึงเจตสิกใดๆ เลยที่เกิดร่วมด้วย เป็นสภาพที่ผ่องใสในฐานะที่เพียงรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ได้กล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แต่จะเศร้าหมองเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ถ้าไม่กล่าวถึงวิบากจิตหรือกิริยาจิต เพราะว่าจิตจะเกิดตามลำพังโดยที่ไม่มีเจตสิกเกิดร่วมไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ลักษณะของเจตสิก ขั้นฟัง ขณะนี้แม้การรู้ลักษณะของเจตสิกก็ขั้นฟัง เช่น ขณะนี้เห็นเป็นหน้าที่ของจิตเพราะว่าสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ปรากฏแจ้งว่าลักษณะเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอื่น สามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ อย่างเสียงที่กำลังปรากฏ เป็นเสียงอย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะจิตรู้แจ้งในลักษณะของเสียงนั้น ถ้าโกรธรู้ลักษณะของอะไรแจ้ง หรือว่าขณะนั้นโกรธ กำลังขุ่นเคืองไม่พอใจ

        ผู้ถาม ก็เป็นลักษณะของความหยาบกระด้าง

        สุ. เพราะฉะนั้นลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์ไม่ได้ปรากฏเลย เพราะว่าขณะนั้นมี

        ลักษณะของความโกรธปรากฏ นั่นคือลักษณะของเจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ แต่มีความไม่ชอบในอารมณ์ที่ปรากฏ

        ผู้ถาม ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เสียงด่า เสียงก็ดับไปแล้ว เกิดความขุ่นเคืองใจ

        สุ. แต่ขณะที่มีขุ่นเคืองใจ ต้องมีเสียงด้วยใช่ไหม เพราะว่ารูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นเวลาที่กำลังขุ่นเคืองใจในรูปหนึ่งรูปใดก็ตามแต่ ขณะนั้นโกรธไม่ชอบขุ่นเคืองในรูปนั้นที่ปรากฏ แต่จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ส่วนความโกรธก็โกรธในอารมณ์ แต่ไม่ใช่ลักษณะที่รู้แจ้งในอารมณ์อย่างจิต เกิดพร้อมกัน จิตกับเจตสิก

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193


    หมายเลข 10429
    25 ม.ค. 2567