สติจะต้องระลึกรู้ลักษณะที่สงบว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่ง


    ผู้ฟัง .   คือมันมีปรากฏการณ์สมมติว่า เป็นต้นว่า เกิดจิตเกิดโมโหเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น พอรู้ว่า พอเรามีสติ รู้ว่าโมโหเกิดขึ้น พอมีสติอันนั้นปั๊บ จิตอันนั้นเกิดขึ้น โมโหอันนั้น มันรู้สึกมันจะหายไป แล้วก็มีเรื่องราวอะไรต่างๆ เกิดขึ้นมาอีก เราก็รู้เรื่องนี้ แต่ว่าปัญญายังไม่ถึง รู้ว่า ความขาดจากกิเลส อะไรต่างๆ  มันก็ยังมีพัวพันธ์อยู่ อย่างนี้เรียกว่าเป็นลักษณะของพุทธาสติ คือเราปฏิบัติธรรม ตามคำสังสอนพระพุทธองค์ จะเรียกว่า เป็นสมถะ ได้หรือเปล่า เท่านั้นครับ

    ส.   เป็นสมถะ แน่นอน ในขณะนั้นแล้วแต่ว่าในขณะนั้น มนสิการ พุทธานุสติ หรือว่า ธรรมานุสติ หรือสังฆานุสติ หรือ อนุสติอื่นๆ ก็แล้วแต่คะ

    ผู้ฟัง .   ตานี้ วิปัสสนาหมายความว่าต้องเกิดพร้อมด้วยปัญญารู้ว่า  อย่างนั้นดับอย่างนั้น

    ส.   ยังไม่ประจักษ์ ความเกิดดับของอะไร นะคะ เพียงแต่ขณะใดที่สติเกิด ไม่หลงลืม คือศึกษา พิจารณาน้อมไป รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง .   บางครั้ง เมื่อเราขาดสติ อกุศลมันก็จะรุมเข้ามา พอเกิดสติขึ้นมา อย่างนี้มันก็จะรู้ว่าเรากำลังโกรธอยู่  เรากำลังชอบอยู่ อะไรพวกนี้ ความรู้สึกที่เราชอบ พอมีสติเกิดขึ้น ความรู้สึกที่เรากำลังเป็นเรื่องเป็นราวอะไรต่อไป มันก็หยุดทันที อันนี้เป็นลักษณะของอะไร ผมก็ยังสงสัย เป็นสมถะ หรือวิปัสสนา เพราะว่า ยังไม่ปัญญา หรือปัญญายังไม่เกิดถึงกับขั้น

     ส.   ลักษณะของความสงบปรากฏ ได้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ความเป็นตัวตนยังไม่หมด  เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น ก็เป็นลักษณะของความสงบ ซึ่งสติ จะต้องศึกษา รู้ว่าขณะที่สงบนั้น ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    ผู้ฟัง .   คือหมายความว่ารู้  รู้ว่าเรา มีจิต

    ส.   ต้องศึกษาตลอด  การเจริญสติปัฏฐาน ขณะที่สงบเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง .   เราก็รู้ว่าสงบเกิด

    ส.   สติก็จะต้องระลึกรู้ลักษณะที่สงบ เพื่อจะรู้ว่าเป็นสภาพธรรมชนิด ๑ ด้วยเหตุนี้สภาพธรรม ทั้งหมด ที่ปรากฏเป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น ซึ่งถ้ายังไม่ระลึก ยังไม่ศึกษา ยังไม่รู้ ก็ยังไม่สามารถที่จะดับการยึดถือว่า เป็นตัวตนได้


    หมายเลข 5063
    19 ส.ค. 2558