วิสมโลภะของพระอนาคามี


    อ.อรรณพ สมโลภะของปุถชน จะเป็นวิสมโลภะของพระอริยบุคคล

    ท่านอาจารย์ เพราะอย่างคนที่ฟังด้วยกันก็อาจจะเห็นว่า เขานั่งรับประทานอาหารคนเดียวคงไม่ใช่วิสมโลภะ ถ้าวิสมโลภะต้องถึงทุจริตกรรม ใช่ไหมคะ นี่ก็เป็นความเข้าใจในอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่าแม้เป็นคำนี้แหละ แต่ว่าคนที่เข้าใจว่า ทุจริตกรรมนั่นแหละเป็นวิสมโลภะก็อย่างหยาบ แต่ถ้าอย่างละเอียดขึ้นมาอีก จนกระทั่งถึงของพระอนาคามี ก็คือวิสมโลภะที่ว่า ใครสามารถจะเห็นทั้งๆ ที่ คนอื่นเห็นแต่คนกำลังที่รับประทานอร่อยไม่เห็นเลย ว่าไม่ใช่อย่างธรรมดา

    อ.อรรณพ ตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า รับประทานอาหารจนไม่คิดถึงคนอื่น ถ้าเป็นปุถุชน

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่กล่าวว่าเป็นวิสมโลภะ ก็ธรรมดา ก็เป็นเรื่องธรรมดา ก็ชอบก็รับประทานไป

    อ.อรรณพ ของบุคคลที่ท่านละเอียดขึ้น ประเสริฐขึ้น ท่านเป็นพระอริยบุคคลนั่นคือวิสมโลภะ

    ท่านอาจารย์ การเห็นกำลังว่า ทำไมไม่คิดถึงคนอื่นบ้าง หรือว่าคนอื่นก็อร่อยเหมือนกัน ก็แสดงให้เห็นถึงว่า กิเลสมีกำลังถึงระดับนั้น

    อ.อรรณพ หรือถ้าจะกล่าวง่ายๆ คือ สิ่งที่หยาบของพระอริยบุคคล ที่ท่านเห็นว่าหยาบ แต่ปุถุชนไม่เห็นว่าหยาบ

    ธิ. อย่างพระอนาคามีท่านละความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะหมดแล้ว ท่านก็จะเหลือโลภะที่ยังละเอียดอย่างไรคะ

    ท่านอาจารย์ ก็ยังติดข้องในภพ ในความเป็น

    ธิ. แล้วที่จะเป็นวิสมโลภะล่ะคะ

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่าปรากฏกับท่าน

    ธิ. หมายถึงว่า แม้แต่ความติดข้องของท่านที่เหลืออยู่ ก็เป็นวิสมโลภะแล้วสำหรับท่าน

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้นปรากฏความเป็นวิสมโลภะให้เห็น

    ธิ. ก็จะต้องมีกำลังมากกว่าธรรมดา

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อเป็นพระอนาคามีก็จะรู้ เพราะว่าจริงๆ แล้วเราพูดได้ เราคิดได้ทุกอย่างเลย แต่ว่าจริงๆ แล้วความลึก และความละเอียดของความเป็นจริง ต้องเป็นปัญญาที่สามารถที่จะรู้ได้ เช่น ปกติของพระอนาคามีก็ยังมีโลภะ แต่ท่านไม่มีโลภะในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะว่าดับแล้วเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น ท่านก็มีความติดข้องในภาวะในความเป็น เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่ดับกิเลสหมดประเภทที่ไม่เดือดร้อนเพราะรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่แม้อย่างนั้นก็ยังมีโลภะ ความพอใจในความสงบซึ่งเป็นกุศล เพราะกุศลทุกประเภทสงบ และอีกประการหนึ่งท่านก็มีมานะ เพราะท่านเป็นพระอนาคามีบุคคลซึ่งดับกิเลสที่เป็นกามราคะหมดแล้ว ก็เป็นความละเอียดขึ้น แต่เวลาที่มีความจงใจที่อยากจะให้สมถะระดับขั้นต่างๆ เกิด เพราะเหตุว่าท่านเป็นผู้ที่สามารถจะได้ก็มี พระอนาคามีที่ท่านได้ฌานด้วย ก็ต่างกับขณะที่ไม่มีความจงใจที่ต้องการ เพียงแค่นี้ก็จะเห็นว่าวิสมโลภะ อภิชฌาวิสมะโลภะของท่านก็ต้องต่างระดับกับของบุคคลอื่น

    อ.อรรณพ คือท่านไม่มีอภิชฌาในรูป เสียง กลิ่น รส แล้ว

    ท่านอาจารย์ โลภะธรรมดาที่จะกล่าวถึงว่าต่างกับอภิชฌาวิสมโลภะอย่างไร ก็จะเห็นความละเอียดว่า ความติดข้องในความเบาสบายของกุศลจิตของท่านซึ่งเกิดบ่อย และไม่เป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส ขณะนั้นท่านก็สงบ โทสะไม่เกิดเลย แต่แม้กระนั้นเวลาที่ท่านประสงค์หรือต้องการที่จะให้ฌานจิตเกิด ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความต่าง เพ่งเล็งเฉพาะส่วนนั้นที่ต้องการ อันนี้ก็เป็นแต่เพียงข้อที่จะพิจารณา แต่ว่าจะรู้จริงๆ ได้ ก็ต้องถึงความเป็นบุคคลนั้นๆ

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165


    หมายเลข 9864
    26 ม.ค. 2567