คำว่า...อโหสิกรรม

 
pannipa.v
วันที่  3 ต.ค. 2551
หมายเลข  10054
อ่าน  27,433

อโหสิกรรม

ได้ยินคำนี้บ่อยมาก เมื่อมีการกระทำที่ล่วงอกุศลกรรมบถ ก็จะพูดกันว่า "ขออโหสิกรรม" บ้าง "โหสิ" บ้างขอเรียนถามท่านผู้รู้ภาษาบาลีว่า การใช้คำว่า "อโหสิกรรม" เช่นนี้ ถูกต้องหรือไม่ ขอช่วยอธิบายความหมายของคำนี้ และ ช่วยยกตัวอย่างที่ถูกด้วยค่ะ ...

อนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 3 ต.ค. 2551

คำว่า "อโหสิกรรม" ตามศัพท์ แปลว่า กรรมได้มีแล้ว แยกศัพท์ดังนี้ อ แปลว่า ได้ โหสิ แปลว่า มีแล้ว กรรม แปลว่า กรรม บางนัยคำว่า "อโหสิกรรม" หมายถึง กรรมที่ไม่ให้ผลก็มี แต่ในปฏิสัมภิทามรรคมีความหมายถึง ๑๖ นัย ในภาษาพูดของคนไทยเรา หากกระทำผิดต่อผู้มีคุณ เมื่อสำนึกผิดก็มักใช้คำว่าขออโหสิกรรม ผู้ถูกล่วงเกิน ให้อโหสิกรรม ไม่ถือโทษ ก็ดูเหมือนจะเข้าใจกันแต่จะถูกต้องตามหลักพระธรรมหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

อโหสิกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ในชีวิตประจำวันก็พอที่จะเห็นได้ว่ากรรมวิจิตรมากการเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นผลของกรรม (กำเนิดวิจิตร เพราะกรรมวิจิตร) เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เนื่องจากว่าเราเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ทำกรรมไว้มากมาย ดังนั้นกรรมที่ได้กระทำแล้ว ทั้งที่เป็นกรรมดีและเป็นกรรมที่ไม่ดี เมื่อมีโอกาสที่จะให้ผลเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น จึงทำให้ได้รับในสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ทำให้มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง เพราะกรรมที่ได้กระทำมาแล้วทั้งนั้น (แม้แต่ เห็นในขณะนี้ ก็เป็นผลของกรรม แต่ไม่สามารถที่จะทราบว่าเป็นเพราะกรรมชนิดไหนที่ให้ผล) คำว่า อโหสิกรรม ภาษาบาลี คือ อโหสิ กมฺมํ ซึ่งแปลว่า กรรมได้มีแล้ว กล่าวคือ กรรมที่ได้กระทำไปแล้ว (อโหสิ - ได้มีแล้ว, กมฺมํ - กรรม, การกระทำ)

ขอเรียนเชิญผู้ศึกษาธรรมร่วมกันทุกๆ ท่าน เข้าไปอ่านเรื่อง อโหสิกรรม ตามที่อาจาย์ประเชิญได้ยกมา เพราะเป็นประโยชน์เพิ่มพูนความเข้าใจได้มากทีเดียว ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ได้คลิกเข้าไปอ่านแล้ว กรรมเป็นเรื่องละเอียดมากค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Khaeota
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ในพระไตรปิฎกมีปรากฏคำว่า "ขอให้ (อีกฝ่ายหนึ่ง) อดโทษให้ " แต่ยุคสมัยนี้ประโยคนี้ไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว และคงจะไม่ชินปากด้วยถ้าจะพูดกันจริงๆ เพราะไม่ได้สะสมมาที่จะขอโทษผู้อื่นด้วยคำๆ นี้ครับ คำบาลีที่มีปะปนอยู่ในภาษาไทย ส่วนใหญ่ผิดเพี้ยนมาก แล้วก็เป็นไปด้วยความเข้าใจที่ตื้นเขินที่พูดกันจนชินปากมานาน โดยที่ไม่รู้ความหมายอันลึกซึ้งของคำๆ นั้นเลยชินเสียจนเราหลงเข้าใจผิดว่า "เรารู้แล้ว" ใครจะมีกิริยาอาการอย่างไร พูดคำใดออกมาขณะไหน ก็เหมือนกับว่ารู้แล้ว ทราบแล้วตามนั้น (แต่จริงๆ แล้วไม่รู้อะไรเลย) ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจนรู้ถูก เข้าใจถูก ตรงตามที่ทรงแสดง แม้จะรู้ว่าคำๆ นั้นไม่ถูกแต่ก็จะไม่คัดค้านหรือปรับวาทะกับผู้ใดด้วยอกุศลจิต เพราะรู้แล้วว่า เขาใช้กันมาตามความเคยชินอย่างนั้น และเมื่อตนทำผิดบ้าง จะใช้ถ้อยคำใดเพื่อสื่อให้ผู้ที่ตนล่วงเกินเห็นโทษของตน แล้วยกโทษให้ แม้จะเป็นคำที่ใช้จนเคยชินเพราะร่วมสมัย ก็ย่อมที่จะพูดได้ เพราะเห็นแล้วว่า ถ้อยคำที่พูดไม่สำคัญเท่ากับเจตนาที่แสดงออกมาโดยการกระทำทางกาย วาจา ที่มาจากกุศลจิตครับ (แต่ถ้าใช้คำถูกเพราะเข้าใจถูกด้วยก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ)

ขณะใดที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แสดงโทษนั้น เพื่อการที่จะสำรวมระวังต่อไป ย่อมเป็นประโยชน์ เพราะขณะนั้น เป็นผู้ตรง ที่สามารถเห็นถึงอกุศลของตนเองตามความเป็นจริง ไม่ดึงดันด้วยความถือตน สำคัญตน หรือเข้าข้างตน สิ่งนี้ย่อมดีกว่าการที่เราเรียนมากๆ รู้คำเยอะๆ จำความหมายได้เยอะๆ แต่ว่าพอถึงเวลาที่เผลอล่วงเกินผู้อื่นเข้า กลับไม่ยอมแม้แต่จะขอโทษ ไม่ยอมที่จะเห็นคุณของอภัยทาน ไม่ยอมที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ภัทรภร
วันที่ 5 ต.ค. 2551
อโหสิกรรมจะได้ผลนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 5 ต.ค. 2551

"...ขณะใดที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แสดงโทษนั้น เพื่อการที่จะสำรวมระวังต่อไป ย่อมเป็นประโยชน์ เพราะขณะนั้น เป็นผู้ตรง ที่สามารถเห็นถึงอกุศลของตนเองตามความเป็นจริง ไม่ดึงดันด้วยความถือตน สำคัญตน หรือเข้าข้างตน สิ่งนี้ย่อมดีกว่าการที่เราเรียนมากๆ รู้คำเยอะๆ จำความหมายได้เยอะๆ แต่ว่าพอถึงเวลาที่เผลอล่วงเกินผู้อื่นเข้า กลับไม่ยอมแม้แต่จะขอโทษ ไม่ยอมที่จะเห็นคุณของอภัยทาน ไม่ยอมที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมครับ..."

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
happyindy
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ละเอียดดีจังเลย

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทั้งผู้ถามและผู้ตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 6 ต.ค. 2551

กรรมที่ได้กระทำแล้ว และให้ผลแล้ว ก็เรียกว่า อโหสิกรรม หรือกรรมที่ทำแล้วไม่ให้ผล ก็เรียกว่า อโหสิกรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wirat.k
วันที่ 7 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
edu
วันที่ 19 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Natanaphong
วันที่ 10 ส.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ