สติสัมปชัญญะ

 
คุณย่า
วันที่  21 ก.ค. 2552
หมายเลข  12956
อ่าน  3,724

สนทนาธรรมที่มูลนิธิ พื้นฐานพระอภิธรรมอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑

วิชัย กราบเรียนถามท่านอาจารย์สำหรับปัญญาแม้ในขั้นการฟังก็ทราบว่าธรรม เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้ปัญญาจะเกิดได้ด้วยการฟังพิจารณาและไตร่ตรอง นี่คือขั้นของการฟังเพื่อเข้าใจ ที่ปัญญาเกิดและเป็นไปและเจริญความรู้ความเข้าใจ เป็นเรื่องของ ความมั่นคงของสิ่งที่เข้าใจแล้ว ว่าเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะต้องมีการที่จะฟังไตร่ตรองพิจารณา โดยที่ต่างกับขณะที่ฟังครั้งแรก ก็เข้าใจอย่างนี้แต่เมื่อปัญญาเจริญขึ้นมีความมั่นคงที่จะรู้ถึงความเป็นอนัตตา ที่จะต้องเป็นอย่างนี้มีความต่างกันกับเพียงที่กล่าวว่า ต้องฟังต้องพิจารณา ต้องไตร่ตรอง

อาจารย์ แล้วก็รู้ความต่างกัน ด้วยว่าขณะที่มีความเข้าใจยิ่งขึ้น โดยสติสัมปชัญญะเกิดนี่คือการเจริญขึ้นของปัญญาแม้เพียงทีละเล็กทีละน้อยเพราะว่าเมื่อสติสัมปชัญญะเกิดโดยความเป็นอนัตตานี้ แน่นอนสภาพธรรมก็เหมือนเดิม ไม่มีใครที่สามารถจะไปทำให้สภาพธรรมใด ให้เกิดได้แม้สติเพราะฉะนั้น ขณะใดที่สติเกิดขณะนั้นก็รู้ได้ว่า ลักษณะของสตินั้นกำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏซึ่งก่อนนั้นไม่ใช่การรู้ด้วยสติ เพราะฉะนั้น ปัญญาก็เริ่มเข้าใจ ขณะที่มีสติเกิดเพราะเกิดขึ้นแล้ว กำลังรู้ลักษณะของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่กำลังปรากฏตามปกติกับขณะที่หลงลืมสติ เป็นปกติโดยไม่มีใครจงใจไม่มีใครบังคับ

นั่นคือการเริ่มจะเข้าใจเพิ่มขึ้น อีกว่าแม้แต่สติสัมปชัญญะก็เป็นอนัตตา ไม่มีใครที่สามารถจะบังคับบัญชาได้ และเมื่อสติสัมปชัญญะเกิดกำลังรู้ลักษณะหนึ่งลักษณะใด เป็นปกติในขณะนี้เองแต่ละขณะคือขณะนี้ๆ ไม่ใช่ขณะอื่นต้องเป็นขณะที่กำลังปรากฏ ปัญญาก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่ายังไม่ได้มีความเห็นถูก แจ้งชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่สติเกิด แต่ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดที่จะให้รู้ในลักษณะยิ่งขึ้น เป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุนี้จึงรู้ได้ว่าปัญญาขั้นฟัง แม้มีสติขณะที่เข้าใจ ก็ไม่ใช่การศึกษาที่เป็น ศีลสิกขา, จิตสิกขา, ปัญญาสิกขา พร้อมทั้งสาม ในลักษณะที่กำลังมีลักษณะของสภาพธรรมที่สติกำลังรู้และปัญญาก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

เพราะฉะนั้น แม้แต่ความที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นปัญญา ต้องเป็นปัญญาคือรู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าแม้ในขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจ ก็ไม่รู้ว่ากำลังเริ่มเข้าใจ ถ้าเป็นในลักษณะนั้นก็ไม่ใช่ปัญญาแน่นอน แต่ในขณะนี้เองถ้าจะมีการรู้ลักษณะของสภาพธรรม โดยสติเกิดขณะนั้นก็มีปัญญาที่รู้ ว่าขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด เพราะว่าถึงสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็เห็น ก็ได้ยิน ก็คิดนึกแล้ว ก็หมดไปอย่างรวดเร็ว

แต่เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิดแสดงไว้ว่าอารมณ์ปรากฏด้วยดี เพราะสติเป็นสภาพที่ระลึกรู้ใช้คำว่า ระลึก จะใช้คำว่า ตามรู้คือว่าไม่ได้ไปรู้อื่นจากสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏ เพราะฉะนั้นตามอะไรตามสิ่งที่มีแล้วในขณะนั้นไม่ไปสู่สิ่งอื่น ด้วยเหตุนี้ถ้ามีความเข้าใจธรรม ก็สามารถที่จะเข้าใจ พยัญชนะหลากหลายในพระไตรปิฎกได้ ไม่ว่าจะทรงแสดงลักษณะของสติ โดยสภาพที่ระลึกก็รู้ว่าไม่ใช่เป็นการระลึกอย่างที่เราเคยเข้าใจว่าระลึก คือนึกเรื่องนั้นขณะนั้นก็คือแค่สภาพที่ลืมว่าเป็นธรรม ขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นปัญญาที่จะกล่าวว่าไม่รู้นั้นเป็นไปไม่ได้ และรู้ตามความเป็นจริงด้วยว่าขณะนั้นเป็นสติที่พึ่งเกิด และกำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรม โดยที่ปัญญายังไม่ได้รู้ชัดแล้ว ก็ยังรู้ด้วยขณะใดที่สติสัมปชัญญะยังไม่เกิด ไม่สามารถจะรู้ชัดเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะนั้นได้โดยการประจักษ์แจ้ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 22 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pongpat
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
noynoi
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 7 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jadesri
วันที่ 9 ธ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ