ขอถามเรื่องการประเคนของพระครับ?

 
เต๋า
วันที่  23 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14832
อ่าน  18,621

๑) คำว่าประเคนของในหัตถบาส หมายถึง แบบไหนครับ - เฉพาะของที่โยมประเคนต้องอยู่ในหัตถบาสอย่างเดียว (ตัวผู้ยื่นประเคนอยู่นอกหัตถบาสได้) - หรือว่า ทั้งของที่ประเคนและตัวผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาสทั้งคู่ (คือพระสามารถยื่นมือไปโดนตัวโยม คือนับตั้งแต่ข้อมือขึ้นไป)

๒) การรับประเคน ด้วยของเนื่องด้วยกายเช่นพระถือผ้ารับประเคน ความยาวของผ้ารับประเคนเปรียบเสมือนหัตถบาสของพระ จะยาวแค่ไหนก็ได้ใช่หรือเปล่าครับ

๓) พระรับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกายจะใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงหรือเปล่า เช่นพระสามารถใช้ผ้ารับประเคนกับผู้ชายได้หรือเปล่า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

๑. คำว่า หัตถบาส เป็นระยะที่ใกล้ แสดงถึงการให้ที่ถูกต้อง คือนับจากด้านหลังของพระและด้านหน้าของผู้ประเคน ประมาณ ๒ ศอกกับอีกหนึ่งคืบ ทั้งผู้ให้และผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส

๒. ไม่ได้ครับ ต้องอยู่ในหัตถบาส

๓. ได้ครับไม่ผิด แต่ที่นิยมกันก็คือถ้าเป็นผู้ชายถวายพระก็รับด้วยมือได้เลย ใช้ผ้ารับสำหรับผู้หญิงประเคน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

การถวายอาหารพระภิกษุ ฯลฯ ต้องประเคนให้พระภิกษุรับ แต่ถ้าเป็นน้ำเปล่า ไม่ต้องประเคนก็ได้ พระภิกษุก็สามารถดื่มน้ำได้ ไม่อาบัติ ยกเว้นน้ำปานะต้องประเคน ถ้าพระภิกษุไม่มีจิตยินดีก็ไม่อาบัติ ผู้หญิงก็สามารถถวายอาหารให้พระรับด้วยมือก็ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Wad
วันที่ 25 ต.ค. 2554

ขอเรียนถามเรื่องการถวายภัตตาหารค่ะ

๑. กรณีที่มีภัตตาหารหลายรายการในบุญพิธีต่างๆ ไม่สามารถประเคนของในหัตถบาสได้ ชาวบ้านจะนำปิ่นโตหรือถ้วยชามที่ใส่ภัตตาหารมาวางต่อๆ กันโดยพระสงฆ์จับผ้ารับประเคนไว้ด้านหนึ่ง เรียกว่า "ไฟช็อต" คือ ของสิ่งนั้นได้สัมผัสส่งต่อไปถึงสิ่งที่วางแล้วบนผ้ารับประเคน ซึ่งเชื่อตามๆ กันมาว่าได้ประเคนแล้ว หรือว่าเราควรประเคนทีละรายการโดยยกทีละถาด ยกทีละชามเข้าไปประเคนคะ

๒. ภัตตาหารที่พระสงฆ์รับประเคนแล้ว อุบาสกหรืออุบาสิกาจะเข้าไปจับเพื่อช่วยจัดเรียงอีกไม่ได้ ถือว่าขาดประเคนใช่หรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 26 ต.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

๑. การประเคนต้องครบองค์จึงจะใช้ได้ ถ้าเพียงวางต่อๆ กันใช้ไม่ได้ จะยกประเคน เป็นถาดใหญ่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละชาม

๒. ตามพระวินัยไม่ถือว่าขาดประเคน เป็นเพียงความเชื่อครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Wad
วันที่ 2 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 19 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 ม.ค. 2555

ขอเรียนถามอีกครั้งค่ะว่า ผู้หญิงสามารถประเคนให้พระภิกษุรับด้วยมือเลยได้หรือไม่ เนื่องจากความเห็นใน คห ที่ 1 และ 2 มีความขัดแย้งกันอยู่ ที่ถูกต้องคืออย่างไรคะ

ขอขอบคุณและขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 7 ครับ

ความเห็นที่ 1 และ 2 ไม่ได้ขัดแย้งกันครับ

การประเคน จะเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชายประเคน พระภิกษุก็สามารถรับด้วยมือได้เลย หรือจะรับด้วยของเนื่องด้วยกาย ก็ได้ เช่น ใช้ผ้ารับประเคน ซึ่งสมัยปัจจุบันนี้ ที่นิยมกัน คือ เวลาผู้ชายประเคน ส่วนมากพระภิกษุจะไม่ใช้ผ้ารับประเคน จะรับด้วยมือ เลย แต่ถ้าเป็นผู้หญิงประเคน พระภิกษุท่านก็จะใช้ผ้ารับประเคน ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พระภิกษุท่านสามารถรับประเคนด้วยมือได้เลย ทั้งจากผู้ประเคนที่เป็นชายและหญิง ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่ไตรสรณคมน์และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Panotphorn
วันที่ 16 ก.พ. 2563

ไปทำบุญวัดป่าแห่งหนึ่ง มีการจัดเตรียมภัตตาหารเพื่อรอพระภิกษุมารับบาตร เป็นการประเคนที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ ณ ที่นั้น

คำถาม คือ ถ้ามีการประเคนไปแล้ว มีญาติโยมมาทีหลังจะประเคนเพิ่มได้ไหมคะ ผิดไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 12 มี.ค. 2563

อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 9 โดย Panotphorn

ขออนุญาตเรียนว่า การประเคน คือ การมอบถวายของแก่ภิกษุผู้รับ ดังนั้น ถ้าหากยังไม่มีการมอบถวายแก่พระภิกษุ ก็ยังไม่ชื่อว่า ประเคน แต่เมื่อมีการประเคนอย่างถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมีการประเคนใหม่ เพราะพระภิกษุท่านรับแล้ว ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

ประวัติการประเคน

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ