สอบถามเรื่องการทำบุญครับ

 
waratwaron
วันที่  7 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16396
อ่าน  1,781

สงสัยว่า การอยากทำบุญ นี่เป็นกิเลสหรือเปล่าครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ผมเข้าใจว่า ถ้าอยากเมื่อไหร่ก็ไม่พ้นกิเลสครับ ทำไมต้องอยาก เมื่อคิดจะทำ ควรทำทันที ผู้ที่มีอัธยาศัยในการทำบุญ เมื่อถึงเวลาก็ทำทันที อีกอย่างหนึ่งการทำบุญมีถึง ๑๐ อย่างด้วยกัน ไม่ใช่มีทานอย่างเดียว แต่การทำความดีประเภทอื่นๆ มี ศีล การฟังธรรม เป็นต้น ก็เป็นบุญเหมือนกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
waratwaron
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณครับ ^__^

ผมว่ามันก็ต้องอยากก่อนนะครับ ส่วนจะทำหรือไม่ทำก็อีกเรื่องหนึ่ง หรือจะทำทันที หรือทำทีหลัง มันก็คงต้องอยากก่อน ไม่ใช่ว่าทำทันทีแล้วมันจะไม่มีความอยากมาก่อน ^__^

ส่วนบุญ ๑๐ อย่าง ผมว่าทุกอย่างก็ตั้งต้นมาจากความอยากที่จะทำเหมือนกัน เช่น อยากรักษาศีล อยากฟังธรรม ^__^

แต่ยังไงผมก็ว่าอยากทำดี ก็ยังดีกว่าอยากทำชั่วแน่นอน

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ ^__^

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jaran
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

เห็นด้วยกับความเห็นที่ 2 ครับ

ขออนุโมทนาทุกความเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

อยากเป็นอกุศล เป็นตัณหา เป็นโลภะ ขณะที่มีความตั้งใจที่จะเจริญกุศล ขณะนั้นมีฉันทะที่จะทำ เช่น ฉันทะในการฟังธรรม ฉันทะในการช่วยเหลือผู้อื่น เพราะเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศล อย่างนี้ไม่ใช่ความอยากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผิน
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 มิ.ย. 2553

ฉันทะ กับ โลภะ ใกล้เคียงกันมาก แม้กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงความต่างของเจตสิกทั้งสองไว้โดยชัดเจน โลภะ คือความติดข้อง เป็นอกุศลธรรม ปกติวิสัยของปุถุชนเป็นผู้เต็มไปด้วยความติดข้อง ติดข้องได้แม้แต่ในความดี ขณะที่ติดข้องในอะไรก็ตาม จิตขณะนั้นเป็นอกุศล มีฉันทะเกิดร่วมกับอกุศลจิตนั้นด้วย เพราะฉันทะ เป็นสภาพธรรมที่เป็นกลาง คือเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้

สภาพธรรมในขณะนี้ละเอียดมาก ถ้าไม่ใช่ขณะที่ระลึกตรงลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ จะคิดนึกถึงสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็เกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้คำเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสภาวะที่มีจริงที่กำลังปรากฏกับสติและปัญญาเป็นสำคัญ

การทำความดี ไม่จำเป็นต้องอยากมาก่อนถึงจะทำ ผู้ที่สะสมฉันทะในการเจริญกุศลประการต่างๆ ย่อมเป็นผู้ที่มีความพอใจที่จะกระทำความดี เมื่อมีเหตุปัจจัยสมควร กุศลคือความดีก็สามารถที่จะเกิดได้ เป็นปัจจัยให้กระทำทันที จึงไม่ต้องรอให้อยากทำเสียก่อนจึงจะทำ เหมือนผู้ที่อยากทำดี แต่ถึงเวลาจริงๆ แล้วก็ไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
รากไม้
วันที่ 9 มิ.ย. 2553

ผู้ที่ศึกษาธรรมะมาดีแล้ว จะทราบว่า การเจริญกุศลจิตทุกประเภท ไม่มีการคาดหวังในผล ไม่มีการติดข้องถึงผลว่าจะดีหรือร้าย และไม่สนว่าขณะนี้ทำน้อยไปหรือมากไป แต่จะทำทุกครั้งที่มีโอกาส ถ้าไม่ได้ทำกุศลก็ไม่เดือดร้อนใจ ... เหล่านี้ คือ ฉันทะ ในการเจริญกุศลจิต เพราะทำไปด้วยปัญญาที่รู้ว่าสิ่งที่กระทำเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ กระทำไปเพื่อการละคลายกิเลสในขณะนั้นๆ ไม่ใช่เพื่อการสะสมอะไรใดๆ ทั้งสิ้น

อนุโมทนา ทุกดวงจิตที่ใฝ่ธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
waratwaron
วันที่ 9 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณทุกท่านครับ ^__^

ขอรบกวนถามอีกหน่อยครับ

ที่ ajarnkruo ว่า "การทำความดี ไม่จำเป็นต้องอยากมาก่อนถึงจะทำ ผู้ที่สะสมฉันทะในการเจริญกุศลประการต่างๆ ย่อมเป็นผู้ที่มีความพอใจที่จะกระทำความดี เมื่อมีเหตุปัจจัยสมควร กุศลคือความดีก็สามารถที่จะเกิดได้ เป็นปัจจัยให้กระทำทันที จึงไม่ต้องรอให้อยากทำเสียก่อนจึงจะทำ"

ต้องเป็นพระอริยะหรือเปล่าครับ ถึงจะทำให้การทำความดี ไม่มีความอยากปนอยู่ ซึ่งถ้าเป็นปุถุชนทั่วไป มันคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่มีความอยากปนอยู่ แต่ที่ว่าไม่มีความอยากปน มีแต่ฉันทะ น่าจะดูสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในตอนนั้นของตัวเองไม่ออก ว่าตอนนั้นตัวเองมีความโลภ ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คุณ
วันที่ 10 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ajarnkruo
วันที่ 10 มิ.ย. 2553

เรียน ความเห็นที่ 9

เรื่องความอยาก ความติดข้อง ผู้ที่ไม่มีอกุศลประเภทนี้อีกเลย มีบุคคลเดียวคือพระอรหันต์เท่านั้น ฉะนั้น ควรศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจว่าผู้ที่มีความอยากหรือโลภะมากอย่างปุถุชน ในวันหนึ่งๆ โลภะย่อมจะมีปัจจัยเกิดบ่อยเป็นธรรมดา จะมีตัวตนไปห้ามให้ไม่อยาก ห้ามให้ไม่ติดข้อง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ความอยากที่เกิดปรากฏ เป็นสิ่งที่มีจริง ที่ควรศึกษา พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิ่งที่มีจริงทั้งหมดว่าเป็น "ธรรม" ... "ความอยาก" เป็น "ธรรม" เพราะมีสภาวะที่มีจริง มีลักษณะของมันอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ... "อยาก" ไม่ใช่ "โกรธ" ... "อยาก" เป็น "อยาก" ... ไม่มีใครเปลี่ยนสภาพธรรมนี้ให้เป็นอย่างอื่นไปได้

ที่สำคัญ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ความอยากก็เป็นอนัตตาเช่นกัน เกิดเพราะมีเหตุมีปัจจัย ไม่มีใครบังคับให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแม้แต่สิ่งเดียว ... ให้เกิดหรือไม่ให้เกิดตามใจชอบได้

ฉะนั้น ความรู้เบื้องต้นของการศึกษาธรรมะ ก็คือ เพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงตามที่ทรงแสดงนั้นเป็นจริงอย่างไร ศึกษาให้ค่อยๆ เข้าใจ พิจารณาจนเกิดปัญญา เกิดความเห็นถูกของตน ไม่อาศัยเพียงคนอื่นบอกหรืออาศัยเพียงคิดเอาเอง ต้องเป็นผู้ตรง และละเอียดที่จะสอบทานความถูกต้องจากพระธรรมที่ทรงแสดงไว้กับความจริงที่มีในชีวิตประจำวันด้วย

อย่างที่ได้เรียนไว้ข้างต้น ... ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริง กำลังปรากฏ ... ดูเหมือนธรรมดา เห็นก็เห็นไป ได้ยินก็ได้ยินไป อยากก็อยากไป แต่ความจริง แต่ละสภาพธรรมมีความละเอียดลึกซึ้งอย่างมาก ละเอียดถึงขนาดที่ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงพระมหากรุณาทรงแสดงจำแนกไว้ด้วยดีแล้ว จะไม่มีใครสามารถรู้ความจริงของสิ่งธรรมดาในชีวิตของตนได้เลยแม้แต่น้อย อย่างที่เราพูดถึง "อยาก" พูดชื่อได้ว่า "อยาก" คือโลภะ แต่ตัวจริง ความอยากหรือโลภะ เป็นธรรมฝ่ายอกุศลที่เห็นได้ยากยิ่ง แม้มีจริง ก็ไม่ใช่จะเห็นได้โดยง่าย ปกติเราคิดว่าเราเห็นโลภะ เช่น เห็นในขณะที่อาการอยาก ปรากฏ แต่ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ นั่นยังไม่ใช่การเห็นโลภะตามความเป็นจริง แต่เป็นการยึดมั่นโลภะด้วยความเป็นตัวตน คือเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น "เราอยาก" ... "อยากของเรา" ... "อยากมีในเรา" เป็นต้น ความจริงความอยากหรือโลภะ ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร เกิดแล้วตามเหตุปัจจัย หมดเหตุปัจจัย ความอยากก็ดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

จึงควรศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่าโลภะหรือความอยาก ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรม เช่นเดียวกับการศึกษาฉันทะและสภาพธรรมอื่นๆ ขั้นต้นเพียงให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้เรามีตัวตนไปเจาะจงรู้หรือไปแยกรู้สิ่งที่มีจริงออกจากกัน โดยเฉพาะสภาพนามธรรมที่เกิดพร้อมกันอย่างเนียนสนิท เช่น โลภะ กับ ฉันทะ ในขณะที่อกุศลจิตเกิด เป็นต้น ... แยกไม่ได้แน่นอนถ้าปัญญาไม่ถึงระดับที่จะรู้ได้ เพียงแต่ศึกษาตามให้เข้าใจจริงๆ ว่าสภาพธรรมที่มีจริง โดยความละเอียดเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร ขณะที่ฉันทะเกิดกับกุศล ต้องต่างจากขณะที่ฉันทะเกิดกับอกุศลแน่นอน เพราะเหตุว่า "กุศล" ไม่ใช่ "อกุศล" แต่ต่างกันอย่างไรก็ควรที่จะค่อยๆ ศึกษาให้เข้าใจต่อไป

ขอเชิญคลิกอ่าน >>>

ฉันทะกับความอยากต่างกันอย่างไร

ฉันทะและโลภะ

อยากทราบความต่างของฉันทะกับโลภะค่ะ

แยกไม่ออกระหว่างฉันทะและโลภะ

ฉันทะและตัณหา

ตัณหากับฉันทะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 11 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Preawpraw
วันที่ 15 ก.ค. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ที่่ ajarnkruo ว่า

"การทำความดี ไม่จำเป็นต้องอยากมาก่อนถึงจะทำ ผู้ที่สะสมฉันทะในการเจริญกุศลประการต่างๆ ย่อมเป็นผู้ที่มีความพอใจที่จะกระทำความดี ... มีเหตุปัจจัยสมควร กุศล คือความดี ก็สามารถที่จะเกิดได้ เป็นปัจจัยให้กระทำทันที จึงไม่ต้องรอให้อยากทำเสียก่อน จึงจะทำ"

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ