อนิจจสัญญา - สัญญาที่ ๕

 
สารธรรม
วันที่  21 ก.ย. 2553
หมายเลข  17244
อ่าน  8,829

"อนิจจสัญญา"

สัญญาที่ ๕ คือ การเจริญอนิจจสัญญา จะเห็นได้นะคะว่า ทุกอย่างจะต้องมาที่ลักษณะของไตรลักษณ์ การเจริญอนิจจสัญญา คือ พิจารณาสภาพความไม่เที่ยง ซึ่งมีอยู่เป็นปรกติประจำวัน

ถ้าเพียงแต่จะพิจารณาว่า เมื่อเช้า กับ เดี๋ยวนี้ ก็ต่างกันแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งยังไม่เกิดเมื่อเช้านี้ ตอนบ่ายนี้ก็อาจจะเกิดขึ้น ก็แสดงถึงความไม่เที่ยง และสิ่งซึ่งมีแล้วก็หมดไป ก็แสดงถึงความไม่เที่ยง สิ่งที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ก็แสดงถึงความไม่เที่ยง

เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาถึงสภาพที่ไม่เที่ยงให้ละเอียดขึ้น ย่อมทำให้จิตหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภ สักการะ และความสรรเสริญ เมื่อได้อบรมเจริญอนิจจสัญญาถึงที่

แต่ถ้ายังไม่ถึงที่นะคะ ก็ยังไหลไปสู่การยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ซึ่งบางคนติดมากจริงๆ วันหนึ่งๆ อาจจะไม่คิดเรื่องอื่นเลย นอกจากเรื่องลาภ เรื่องยศ และเรื่องสรรเสริญ เพราะเหตุว่าไม่ได้เจริญอนิจจสัญญา

อสุภสัญญา - สัญญาที่ ๑

มรณสัญญา - สัญญาที่ ๒

อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา - สัญญาที่ ๔

อนิจจสัญญา - สัญญาที่ ๕

อนิจเจทุกขสัญญา - สัญญาที่ ๖

ทุกเขอนัตตสัญญา - สัญญาที่ ๗

...บรรยายโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงนี้ ก็มีจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

อนันตรปัจจัย คือสภาพธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไป เมื่อดับไปจึงเป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกดวงต่อไปเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างขั้นเลย เพราะฉะนั้น จิตเจตสิกที่ดับไปจึงเป็นอนันตรปัจจัยให้จิต เจตสิกดวงต่อไปเกิดขึ้นทันทีอนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่น, ไม่มีธรรมอย่างอื่นคั่น) และสมนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี หรือ ที่เข้าใจกัน คือ ความเป็นปัจจัยโดยเป็นลำดับด้วยดี) นั้น ทั้งสองปัจจัยนี้ หมายถึงเฉพาะนามธรรม คือ จิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เท่านั้น รูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย

เมื่อจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ขณะต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่น ซึ่งเมื่อไม่มีระหว่างคั่นแล้ว ยังจะต้องเป็นลำดับด้วยดี ด้วย จะสับลำดับกันไม่ได้ เพราะตามความเป็นจริงของจิตแล้ว จะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ จิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ซึ่งจิตขณะต่อไปทีเกิดขึ้น (รวมทั้งเจตสิก) นั้น ก็เป็นผลของอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย นั่นเอง ครับ

จึงกล่าวสรุปได้ว่า จิต เจตสิกเท่านั้นที่เป็นอนัตรปัจจัย รูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่า รูปแต่ละรูป ก็มีสมุฏฐานให้เกิด รูปของตน เช่น เกิดจากรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นต้น ไม่ได้เกิดจาก การเกิดแล้วดับไปของรูปอีกรู) หนึ่ง ที่จะเป็นดั่งอนันตรปัจจัย ครับ แต่รูป เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยปัจจัยอื่นได้ มี สหชาตปัจจัย เป็นต้น ครับ โดยการเกิดพร้อมกัน

ขออนุโมทนา

1. จิตและเจตสิกธรรมดวงใดบ้างที่ทำหน้าที่คิดนึกอย่างเป็นกระบวนการความคิดนึก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนามธรรม คือ เป้นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ หมายถึงว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้น จะต้องรู้อะไรบางอย่าง นั่นคือขณะที่มีความคิดนึกเกิดขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ถูกคิด สิ่งที่ถูกคิด เรียกว่า อารมณ์ เพราะฉะนั้น ความคิดนึกจึงเป็นนามธรมเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ซึ่ง ความคิดนึก ก็ไม่พ้นจากนามธรรม คือ จิต เจตสิก อาศัยจิตที่เป็ฯใหญ่ในการรู้ ก็ทำให้มีการคิดนึก เพราะ อาศัยจิต และ อีกนัยหนึ่ง วิตกเจตสิกก็ทำหน้าที่ ตรึกนึกคิดได้ ครับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับว่า วิตกเจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่ตรึก นึกคิด และอาศัยจิตด้วยนั้น ท่านเปรียบเหมือนเท้าของโลก คือ ก้าวไปทุกที่ ทุกเวลาได้ คิดเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว

เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว และ จิต เมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมคิดนึก ไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำไว้ ที่เคยจำไว้ จำไว้ในเรื่องอะไร ก็คิดไปในเรื่องนั้น เพียงแต่ว่า จะคิดด้วยกุศล หรืออกุศล ซึ่ง เพราะ อาศัยกิเลสเป็นปัจจัย ก็ทำให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และ คิดเรื่องตนเองก็ได้ แต่คิดด้วยจิตที่เป็นอกุศล ด้วยความฟุ้งซ่านเพราะอาศัยเหตุ คือ กิเลสเป็นสำคัญ ครับ

ซึ่งกระบวนการการเกิดการคิดนึก ก็อาศัยการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ทางมโนทวารวิถี ที่นึกคิดเป็นไปในเรื่อราวต่างๆ ตามความทรงจำ สัญญาที่จำไว้ โดยมี วิตกเจตสิกทำหน้าที่ตรึก นึกถึง ครับ

2. จิตที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพียงแต่ระลึกรู้ในอารมณ์เท่านั้นยังไม่ทันคิดนึก อยากทราบว่าแรกๆ ของการระลึกรู้สำหรับผู้ที่เริ่มเข้าใจมีอาการให้สังเกตได้อย่างไร บ้าง

ธรรมที่ทำหน้าที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม คือ สติ และ ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่ง จิตเป็นเพียงสภาพธรรมที่รู้อารมณืเท่านั้น ดังนั้น การจะเกิดสติที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมต้องเป็นปัญญาระดับสติปัฏฐาน ซึ่ง ปัญญาเริ่มแรก และ สติเริ่มแรก ในขณะที่สติปัฏฐานเพิ่งเริ่มเกิด ขณะนั้น จะเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ว่าเป็นแต่เพียงธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง มีเพียงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเท่านั้น แต่ ยังไม่รู้ละเอียดลึกลงไปว่าเป็นสภาพธรรมอะไร ครับ เพราะเป็นเพียงปัญญาและสติเบื้องต้น อย่างไรก็ดี กว่าจะถึงตรงนั้น ซึ่งยากและไกลก็ต้องอบรมปัญญาขั้นการฟังให้เข้าใจถูกต้องต่อไป ครับ

3. มีการฝึกฝนเพื่อห้ามหรือสะกัดกั้นการคิดนึกได้หรือไม่ เพื่อให้สติเพียงระลึกรู้สภาพธรรม โดยไม่ให้เลยไปถึงการคิดนึก

ไม่มีใครห้ามได้ ครับ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็คิดนึก เป็นธรรมดา แม้แต่พระอรหันต์ท่านก็คิดนึก ไม่ได้เกิดสติตลอดเวลา ซึ่งเป็นธรรมดาของสภาพธรรมและ วิถีจิตที่จะต้องเป็นอย่างนั้นแม้ปุถุชน ผู้อบรมปัญญา แม้เกิดปัญญา และ ดับไป คิดนึกก็เกิดต่อได้ และ แม้อกุศลก็เกิดต่อได้เป็นธรรมดา แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม หนทางที่ถูก จึงไม่ใช่หนทางที่จะทำ แต่ เป็นหนทางที่เข้าใจ ด้วยการฟัง ศึกษาพระธรรมต่อไป ธรรมจะทำหน้าที่เอง ครับ ขออนุโมทนา

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมาธิ เป็นความตั้งมั่น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสมาธิเกิดร่วมด้วย สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง มีความเสมอกันกับจิตที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปได้ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ตามประเภทของจิตนั้นๆ มิจฉาสมาธิ เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นผิด เกิดร่วมกับอกุศลจิต ขณะที่อกุศลจิตเกิดจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามไม่ได้ ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เหตุให้เกิด มิจฉาสมาธิ คือ ความไม่รู้ และ ความเห็นผิด เพราะ อาศัย ความไม่รู้ ทำให้มีการทำที่ผิด ปฏฺบัติที่ผิด ครับ

ส่วน ระดับของมิจฉาสมาธิ ไม่มีทาที่จะถึง อุปจารสมาธิ และ อัปนาสมาธิ เพราะการจะถึง ระดับท้งสองนั้น จะต้องเป็น สัมมาสมาธิเท่านั้น เช่น การเจริญฌานต่างๆ ที่เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ มีการเจริญพรหมวิหาร เป็นต้น ครับ

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ

ท่านผู้ฟัง สมาธินั้น...แค่ไหนจึงเป็นมิจฉาสมาธิ แค่ไหนจึงเป็นสัมมาสมาธิ.

ท่านอาจารย์ เอกัคคตาเจตสิก มีสภาพที่มีอารมณ์เดียว ขณะที่เป็นสมาธิก็มีเอกัคคตาเจตสิก ที่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ปรากฏ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง เพราะเอกัคคตาเจติก เป็น "สัพพจิตตสาธารณะเจตสิก". ฉะนั้น ไม่ต้องห่วงเรื่องสมาธิ เพราะมีอยู่แล้วกับจิตที่เกิดทุกดวง เพียงแต่ว่าเวลาที่จิตเกิดนั้น (ปกติ) ...ลักษณะของเอกกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏ เพราะจิตที่เกิดก็สั้นมาก และสิ่งที่ปรากฏ วาระหนึ่งๆ ก็สั้นมาก ฉะนั้น ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏตั้งมั่น ถึงระดับที่เราใช้คำว่า "สมาธิ". แต่ถ้าจิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนาน...ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏ เช่น ตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง...เดินให้ดี ไม่ให้ล้ม ข้ามสะพานไม่ให้ตก เป็นต้น เหล่านี้ ก็เป็นลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกขณะนั้น...ไม่ใช่กุศลจิต. ขณะใดที่เอกัคคตาเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิต. ขณะใดที่เอกัคคตาเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่ "สัมมาสมาธิ" แต่เป็น "อกุศลสมาธิ" หรือ "มิจฉาสมาธิ" ขณะที่เอกัคคตาเจตสิก เกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะนั้นเป็น "สัมมาสมาธิ".

ขออนุโมทนา

การเจริญสติปัฏฐาน ที่เป้นการเจริญอบรมปัญญษที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรือ่งการจะบังคับ การจะทำอย่างไร แต่เป็นเรือ่งความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น โดยเข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ว่าไม่สามารถบังคับไม่ให้อกุศลเกิดก็ไม่ได้ เพราะ สะสมกิเลสมามาก เป็นธรรมของปุถุชน เมื่อมีเหตุปจจัยก็เกิด อกุศล เกิด การปฏฺิบัติที่ผิดได้เป็นธรรมดา พระอริยบุคคลในอดีต ก่อนจะเป็นพระอริยะ ท่านก็ปฏิบัติผิดมาก่อน เพราะท่านยังมีกิเลส เช่น ท่านพระพาหิยะ ก็ไปปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ผิด จน พรหม ก็ต้องมาเตือน นี่แสดงถึงความเป็นธรรมดาของอกุศลที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไป ผู้ที่อบรมปัญญาก็เช่นกัน มีเหตุปัจจัยให้เกิดความต้องการ เกิดโลภะ เกิดความจดจ้องได้เป็นธรรมดาแต่หนทางที่ถูก คือ ก็เข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้ว ว่าขณะที่จดจ้องว่าเป็นเพียงธรรมไม่ใช่เรา อกุศลทีเ่กิดขึ้น การปฏิบัติที่ผิดก็เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ก็จะเป็นการปฏฺบัติที่เบาสบายเพราะ เป็นการไม่ทำ แต่เข้าใจ และ รู้ถึงความเป็นอนัตตา สติไม่เกิดก็เป็นธรรมดา อกุศลเกิดก็เป็นธรรมดา หนทาง คือ การฟัง ศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่ทำกิจหน้าที่ ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น ซึ่ง เอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภท เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดจะต้องมีความตั้งมั่นของจิต เพียงชั่วขณะจิตหนึ่งในขณะนั้น ซึ่ง ขณะที่ตั้งมั่นในขณะจิตนั้น ถ้าเกิดกับจิตที่เป็นอกุศล ก็เป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับจิตที่เป็นกุศล ขณะนั้นเป็นความตั้งมั่นชอบ ก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่วเมื่อว่าโดยละเอียดลงไป สัมมาสมาธิ หมายถึง นัย ทั้งที่เป็นสมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนาด้วยครับ

การเจริญมสมถภาวนา มีการได้ฌานต่างๆ ขณะนั้น ก็มีความตั้งมั่นชอบ ที่เกิดพร้อมกับปัญญาในขณะนั้น เป็นสัมมาสมาธิ ที่ตั้งมั่นในอารมณ์ที่ทำให้เกิดกุศลติดต่อกันไป จนปรากฎในลักษณะของสมาธิ จนถึงได้ฌาน ก็เป็นสัมมาสมาธิในระดับสมถภาวนาที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น มี ลมหายใจ เป็นต้น ครับ

ส่วน ในขณะที่เจริญวิปัสสนา ที่เป็นขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นก็มี สมาธิ แต่เป็นขณิกสมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ในขณะนั้น ก็มีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชั่วขณะในอารมณ์ที่ปรากฎในขณะนั้น เช่น ขณะที่ รู้ลักษณะของสีที่กำลังปรากฎ ขณะนั้น มีปัญญา และ มีสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยที่ตั้งมั่นชั่วขณะ ในขณะที่มีรู้ความจริง จึงมีสัมมาสมาธิด้วยในขณะนั้น คือ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ ครับ

ดังนั้น อรูปฌาน เป็นการเจริญสมถภาวนา มีปัญญาเกิดร่วมด้วย จึงไม่ใช่มิจฉาสมาธิ แต่ เป็นสัมมสมาธิ เพียงแต่ ไม่ใช่สัมมาสมาธิที่จะทำให้ถึงการดับกิเลส เพราะเป็นการเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aurasa
วันที่ 15 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ