อธิษฐานบารมี ต่างจากโลภะ อย่างไร

 
mymint2121
วันที่  24 ก.ย. 2553
หมายเลข  17258
อ่าน  3,541

ขออนุญาตเรียนถามว่า อธิษฐานบารมี ต่างจากโลภะ อย่างไร ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 ก.ย. 2553
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pamali
วันที่ 24 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 551

การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในธรรมอันไม่มีโทษ เป็น อธิษฐานบารมี.


อธิษฐานบารมีคือความคิดที่ตั้งใจมั่น อันไปในทางที่เป็นกุศล ในธรรมที่ไม่มีโทษเป็นไปเพื่อขัดเกลาและดับกิเลส ตั้งใจมั่นในการเจริญกุศลทุกประการ เพราะเห็นโทษของอกุศลจึงเจริญกุศล ขณะที่ขอหรือมีความต้องการ (โลภะ) จึงไม่ใช่อธิษฐานบารมีเพราะไม่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส และขณะที่ขอ ขณะที่ต้องการผล ขณะนั้นเป็นอกุศลเป็นธรรมที่มีโทษ ไม่ใช่ธรรมที่ไม่มีโทษคือ กุศลครับ ที่สำคัญทุกบารมีต้องประกอบด้วยความเข้าใจคือปัญญาเป็นสำคัญ จะเป็นบารมีได้ ก็ด้วยปัญญาด้วยความเข้าใจที่เป็นไปเพื่อละขัดเกลากิเลสจริงๆ ครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.ย. 2553

อธิษฐาน คือ ความตั้งใจมั่นที่จะสละกิเลส เป็นไปเพื่อการถึงฝั่ง คือพระนิพพาน ส่วน โลภะเป็นอกุศล ไม่ทำให้ออกจากวัฏฏะได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 24 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Endeavor
วันที่ 25 ก.ย. 2553

การที่จะบรรยายความแตกต่างออกมา เป็นประโยคก็คงทำได้ไม่ยาก และมีในตำราครับแต่การที่จะรู้สภาพที่ต่างกันจริงๆ ต้องค่อยๆ น้อมไประลึกสภาพของจิตที่เกิดขึ้นต่างๆ กันตามปรกติ ในชีวิตประจำวัน บ่อยๆ เสียก่อน (ผมอธิบายยาวหน่อยนะครับ)

ในขั้นต้น ควรเข้าใจ สภาพจิตที่เป็นอกุศล ซึ่งต่างกับสภาพจิตที่เป็นกุศล เสียก่อนครับ

อ่าน (หรือฟัง) ผ่านๆ อาจคิดว่าเข้าใจแล้วว่าอกุศลจิต ต่างกับ กุศลจิต แต่เคยระลึกสภาพของจิตในขณะที่เป็นอกุศลจริงๆ หรือเปล่าและเคยระลึกสภาพของจิตในขณะที่เป็นกุศลหรือเปล่า และในขณะนี้ สภาพจิตที่กำลังปรากฏ กำลังเกิดดับ เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้าขั้นต้น ยังแยกความแตกต่างไม่ได้ ก็ควรศึกษา (จากการอ่าน/ฟัง)

และค่อยๆ พิจารณาอย่างละเอียดก่อนครับ เพื่อให้มีปัจจัยที่สติจะสามารถระลึกได้ ตรงลักษณะของจิต ที่กำลังเป็นอกุศลจริงๆ เพื่อให้มีปัจจัยที่สติจะสามารถระลึกได้ ตรงลักษณะของจิตที่กำลังเป็นกุศลจริงๆ ศึกษาพิจารณาละเอียดต่อไปอีก เพื่อให้มีปัจจัยที่สติจะสามารถระลึกได้ ตรงลักษณะของจิต ที่กำลังเป็นกุศลที่ประกอบ ด้วยโสมนัสเวทนา (ต่างกับโลภมูลจิต โสมนัสสสหคตัง) และ กุศลที่ประกอบด้วย อุเบกขาเวทนาเพื่อให้มีปัจจัยที่สติจะสามารถระลึกได้ ตรงลักษณะของจิต ที่กำลังเป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน (สสังขาริก) และกุศลที่มีกำลังแรง โดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสังขาริก) ศึกษาพิจารณาละเอียดต่อไปอีก เพื่อให้มีปัจจัยที่สติจะสามารถระลึกได้ ตรงลักษณะของจิต ที่กำลังเป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณวิปปยุต) และ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุต) ทั้งหมดนี้บ่อยๆ เนืองๆ จนมีความรู้ชัด มั่นคง ในลักษณะอาการต่างๆ กันของจิตแต่ละประเภท ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เริ่มตื่นนอน อาบน้ำแต่งตัว ไปทำงาน มีปัญหาอุปสรรคเรื่องงาน มีการทำทาน มีการสำรวมกายวาจาใจ มีการศึกษาฟังธรรม มีการอนุโมทนา อุทิศส่วนกุศล จนเข้านอน มีการเห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และคิดนึกต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุกวันๆ จะช่วยให้ค่อยๆ เข้าใจความต่างกัน ของธรรมะต่างๆ ชนิด ตามที่เคยสงสัยและ จะรู้ว่าขณะที่จิตกำลังตั้งมั่นที่จะน้อมไปในการละคลายกิเลส เป็นอธิษฐานบารมี (เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต) ว่ามีลักษณะอย่างไร ต่างกับขณะที่เป็นโลภะ ที่กำลังมีความยินดีว่ากุศลธรรม "ของเรา" กำลังเกิดอยู่ในตอนนั้น ยินดีว่าอกุศลธรรม "ของเรา" ไม่ได้เกิดอยู่ในตอนนั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และต้องมีความเพียรจริงๆ เพื่อให้ความเข้าใจที่ถูกต้องมั่นคง ในขั้นระลึกจริงๆ ค่อยๆ เจริญขึ้น เป็นความเข้าใจที่ตนเองได้ประจักษ์ ไม่ใช่เพียงขั้นอ่านหรือฟังแล้วคิดว่าเข้าใจแล้ว

ขออนุโมทนา ท่านผู้มีสัมมาวิริยะทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mymint2121
วันที่ 25 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chaiyut
วันที่ 25 ก.ย. 2553

อธิษฐานบารมี คือ ความมุ่งมั่น แน่วแน่ ที่จะขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร เป็นธรรมฝ่ายกุศล ซึ่งมีปัญญาเป็นหัวหน้า ปัญญาอันเกิดจากความเข้าใจพระธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง เข้าใจเพื่อละความไม่เข้าใจ ศึกษาเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อสละกิเลสมากมายที่สะสมมานานตามลำดับ ลำดับแรก คือ มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาธรรม เพื่อละความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะความจริงไม่มีตัวตน มีแต่ธรรม และธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา

แม้ว่าจะยังดับความเห็นผิดไม่ได้ในขณะนี้ แต่เริ่มอบรมได้ โดยการฟังพระธรรมให้ค่อยๆ เข้าใจ เมื่อเข้าใจขึ้น อธิษฐานบารมีก็จะค่อยๆ มั่นคงขึ้น แต่ไม่ใช่ให้มีวิธีการให้ไปมุ่งมั่นทำอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เมื่อรู้ว่าไม่รู้จักธรรม ไม่เข้าใจธรรม ก็ศึกษาธรรมให้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้นๆ เท่านั้น แต่ถ้ามีกฏเกณฑ์ เจาะจง จัดแจงให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้เมื่อไร นั่นคือไม่ใช่ความเข้าใจธรรม ไม่ถึงความเป็นอธิษฐานบารมี เพราะกำลังเป็นไปกับโลภะ ถ้าเป็นโลภะ โลภะจะไม่เห็นถูกเลยว่าควรสละกิเลส เพราะโลภะไม่ใช่ปัญญา โลภะมีแต่จะให้หวังให้ขอให้ได้ตามที่อยาก ตามที่ปรารถนา โลภะจะทำให้หันเหไปสู่ทางอื่น ที่จะไม่ทำให้เจริญเหตุที่ถูกต้อง เพราะโลภะเป็นอกุศล อกุศลจะนำไปสู่การพอกพูนอกุศล โดยมีความไม่รู้เป็นพื้น เมื่อยังเต็มไปด้วยความไม่รู้ ก็ย่อมจะทำให้ติดข้องในสิ่งที่ไม่รู้ และนำมาซึ่งความเห็นผิดอีกมากมาย อกุศลทั้งหลายไม่สามารถที่จะทำให้พ้นไปจากทุกข์ได้ มีแต่การอบรมเจริญปัญญา กุศลบารมีทั้งหลายเท่านั้น จึงจะทำให้พ้นจากทุกข์ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
isme404
วันที่ 28 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ