อุปนิสสยโคจร [สีลวเถรคาถา]
ความหมายของโคจร
-โค คือ อินทรีย์ หมายถึง มนินทรีย์
-จร คือ การไป หรือ การท่องเที่ยวไป
-โคจร หมายถึง อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต (จิต เป็นมนินทรีย์)
ความหมายของอุปนิสสย โดยนัยของอนันตรูปนิสสย
-อุป คือ กำลัง
-นิสฺสย คือ ที่อาศัย
-อนนฺตร คือ ไม่มีระหว่างคั่น
-จิตเป็นธาตุที่สามารถที่จะสะสมกุศล และอกุศลทุกอย่าง สืบต่อมาจากจิตขณะก่อนทันทีที่จิตดับก็เป็นปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น
อุปนิสสยโคจร โดยนัยที่มี พระธรรมเป็นอารมณ์
อุปนิสสยโคจร อารมณ์ของจิตธาตุรู้เกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ให้จิตรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สะสมได้ทั้งกุศลและอกุศล ถ้าอารมณ์นั้น คือ พระธรรมที่ทรงแสดง ก็มีคุณค่าประมาณไม่ได้เลย เพราะทำให้สามารถละอกุศลซึ่งสะสมมาแล้วในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีทางใดเลยที่อกุศลจะหมดสิ้นไปได้ ถ้าไม่ใช่ด้วยปัญญา
อ่านข้อความเตือนสติทั้งหมดจากสีลวเถร คาถา..
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อุปนิสัยโคจร คือ การเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีคุณธรรมมีปัญญาแล้วทำให้ตัวเองเจริญในคุณธรรมและปัญญา เข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส เป็นต้น
ดังนั้น เพราะอาศัยกัลยาณมิตร อาศัยที่อาศัยที่มีกำลังจึงทำให้ปัญญาเจริญและถึงการดับกิเลสครับ เพราะฉะนั้นอุปนิสัยโคจรอีกนัยท่านแสดงว่าคือกัลยาณมิตรครับ
ขออนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสสยโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุประกอบด้วยคุณคือกถาวัตถุ ๑๐ มีมิตรดี เข้าไปอาศัยมิตรดีย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังมิได้เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ข้ามความสงสัย ทำความเห็นให้ตรง ทำจิตให้ผ่องใส เมื่อศึกษาตามย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะปัญญา นี้ชื่อว่า อุปนิสสยโคจร.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
"อุป-" เป็นคำนำหน้า ที่มีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งในที่นี้ หมายถึง'ใกล้' หรือ 'เข้าไป'
คงไม่ใช่ในความหมายว่า 'กำลัง' ในแบบ "อนันตรูปนิสสยะ" (ซึ่งเป็นคำในพระอภิธรรม) เพราะ อุปนิสยยโคจร มีความหมายว่า "เข้าไปใกล้ (หรือเข้าไปหา) มิตรดี" โดยเป็นคำที่ทรงเทศนาแบบพระสูตร ครับ
ขออนุญาตเรียนความคิดเห็นที่ ๖ ครับ
โดยความเป็น อุปนิสสยโคจร ก็ต้องหมายถึง การมีโอกาสได้อาศัยพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตั้งแต่เข้าไปหากัลยาณมิตร ฟังพระธรรมจากกัลยาณมิตร เป็นต้น จึงจะเป็นที่พึ่งที่อาศัยที่มีกำลังได้ โดยมีพระธรรม นั่นแหละ เป็นอารมณ์ ให้ได้ฟังได้ศึกษา ดังนั้น อุปนิสฺสย (ที่อาศัยที่มีกำลัง) คำนี้ ไม่เปลี่ยน แม้ในความหมายที่เป็นภาษาบาลี ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ...