ลักษณะอาการหลังเกิดสภาวธรรม

 
dets25226
วันที่  27 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20249
อ่าน  8,252

๑. สุญญตะ ว่างอยู่ เปล่าอยู่ โล่งอยู่ ไม่มีอะไรเหลือ เป็นกลวงอยู่

๒. ปัสสัทธิ เบาอยู่ เบากาย เบาใจอยู่

๓. สันติ สงบอยู่ กิเลสที่หลงเหลืออยู่นั้นสงบเย็นอยู่ชั่วคราว ไม่แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฏ

๔. สุขะ สุขอยู่ เสวยความสุขอยู่ เหมือนดังพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยสุขอยู่บนราชบัลลังก์

๕. ปีติ อิ่มเอิบใจอยู่ เกิดความอิ่มเอิบใจอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุด หากการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาดำเนินมาถึงจุดนี้ และมีอาการ ครบทั้ง ๕ ประการปรากฏออกมาชัดเจนอย่างพร้อมเพรียงกันนั้น เรียกว่า "เกิดมรรคเกิดผล" แล้ว

ธรรมสากัจฉา ช่วงเย็นครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การบรรลุมรรคผลไม่ได้ดูจากอาการปรากฏที่กล่าวมา ๕ ข้อ ข้างต้นนี้เท่านั้น จึงสรุปได้ว่า บรรลุมรรคผลครับ ดังนั้น การได้บรรลุธรรมแล้ว การบรรลุธรรมเป็นเรื่องของนามธรรม คือ จิต เจตสิกที่เกิดขึ้น ที่เป็นมรรคจิตเกิดขึ้น ทำกิจละกิเลสในขณะนั้น เมื่อละกิเลสแล้ว ผลจิตก็เกิดต่อ และท้ายสุดก็เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว และพิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ ปัญญานี้เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ อันเป็นปัญญาที่พิจารณาตามความเป็นจริง เมื่อได้บรรลุธรรมแล้ว

ดังนั้น ไม่ใช่ ความสุข ปิติ สันติ หรืออื่นๆ ที่แสดงถึงการบรรลุแล้ว แต่การบรรรลุแล้ว รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเองที่เกิดขึ้นต่อจากมรรคจิต ผลจิต ซึ่งรู้ตามความเป็นจริงว่า กิเลสที่ละแล้ว ละอะไรบ้าง กิเลสที่เหลืออยู่มีเหลือเท่าไหร่ และที่สำคัญ เมื่อถึงปัญญาระดับพระอรหันต์ บรรลุเป็นพระอรหันต์ ย่อมพิจารณาถึงกิเลสที่ละแล้ว แต่กิเลสที่เหลืออยู่ก็ไม่ต้องพิจารณาเพราะดับกิเลสหมดแล้วนั่นเองครับ

ดังนั้น สิ่งที่จะรู้ได้ ไม่ใช่เพียงอาการภายนอก หรืออาการภายในเพียงความสุขปิติ หรืออื่น แต่สิ่งที่รู้ได้ ไม่ใช่อย่างอื่น นั่นก็คือปัญญาอีกนั่นเองที่เป็นปัจจเวกขณญาณครับ ที่เกิดต่อจากการบรรลุธรรมครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ปัจจเวกขณญาณ

ซึ่งขออธิบาย คำแต่ละคำที่ผู้ถามยกมา เพื่อความเข้าใจถูกต้อง ให้ตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงดังนี้

สุญญตา ไม่ได้หมายถึง ความว่าง กลวง ที่ไม่มีอะไร แต่สุญญตา ในที่นี้ คือมีสภาพธรรม แต่สภาพธรรมนั้นเป็นสุญญตา คือ สูญ หรือว่าง ไม่มีความเป็นสัตว์ บุคคลในสภาพธรรมนั้น เพราะเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล จึงว่างจากตัวตน แต่ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย มีสภาพธรรม แต่สูญจากความป็นสัตว์ บุคคลนั่นเอง

อีกนัยหนึ่ง สุญญตา หมายถึง สภาพธรรมที่สูญ ปราศจากราคะ หรือกิเลสประการต่างๆ ดังนั้น มรรคจิตทั้งหมดที่เป็นโลกุตตรมรรค ชื่อ สุญญตา ด้วยเพราะ สูญ ปราศจากราคะและกิเลสประการต่างๆ คือว่างจากกิเลสประการต่างๆ และสุญญตายังหมายถึง สภาพธรรม คือนิพพาน ตามที่กล่าวมาเพราะสูญ ว่างจากกิเลส ปราศจากกิเลสทั้งปวงครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ความหมายของสุญญตา [ธรรมสังคณีปกรณ์]

สุญญตา

ปัสสัทธิ เป็นเจตสิกฝ่ายดี คือ กายปัสสธิ และจิตตปัสสธิ ซึ่งเกิดกับจิตฝ่ายดี ไม่เว้นแม้ขณะที่ให้ทาน จึงไม่สามารถนำมาตัดสินได้ว่า ขณะที่บรรลุธรรม สงบกายและจิตในขณะนั้น เพราะกุศลขั้นต้นก็สงบกายและจิตในขณะนั้น คือกุศลขั้นทานก็มีกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

กายปัสสัทธิ - จิตตปัสสัทธิ - โสภณสาธารณเจตสิก

สันติ ในความเป็นจริงเป็นความสงบจากกิเลสเด็ดขาด จึงจะชื่อว่าบรรรลุ ไม่ใช่สงบจากกิเลสชั่วคราว ดังนั้น สันติ จึงเป็นสภาพธรรมที่สงบจากกิเลสเด็ดขาด ไม่กลับมาอีกเลย และบางนัย สันติ หมายถึง พระนิพพานครับ

สุข คือ เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท ดังนั้น เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ เช่น พอใจติดข้อง ก็มีความสุข จึงไม่สามารถนำความสุขมาตัดสินได้ว่า เพราะสุข จึงบรรลุธรรม

ปีติ เป็นเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตและกุศลจิตก็ได้ เกิดร่วมแม้จิตที่เป็นโลภะที่แช่มชื่นด้วยความปิติที่เป็นอกุศลก็ได้ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ปีติเจตสิก -- ปกิณณกเจตสิก

ดังนั้น การบรรลุมรรคผล ไม่ได้ตัดสินที่ด้วย สิ่ง ๕ อย่างตามที่กล่าวมา แต่ตัดสินด้วยปัญญาที่เห็นแจ้งตามความเป็นจริงและดับกิเลส เมื่อดับกิเลสแล้ว ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริงว่าได้บรรลุ ได้ดับกิเลส ได้ประจักษ์พระนิพพานก็เกิดขึ้นที่เป็นปัจจเวกขณญาณ ปัญญานั่นแหละที่จะตัดสินและรู้ตามความเป็นจริงว่าได้บรรลุแล้วครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
dets25226
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

อนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับ

ผมเห็นว่า ปัญญานี่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก หากได้เกิดกับจิตแล้วก็เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมาย พ้นวิสัยแห่งการคาดเดา ถึงมีการเรียกกันว่าเป็นโลกุตตร น่าเลื่อมใสผู้ที่มีปัญญาทั้งหลายซึ่งได้บรรลุมรรค ผล นิพพานยิ่งครับฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่ยังมีกิเลส ยังเต็มไปด้วยกิเลสนานาประการ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันจึงมีขณะที่ไม่สงบอย่างมากมาย เพราะเหตุว่ามีอกุศลจิตเกิดมากกว่ากุศล นี้เป็นธรรมดาของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล ขณะนั้นย่อมไม่สงบ แต่ในทางตรงกันข้าม ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นย่อมสงบจากอกุศล เพราะกุศลกับอกุศล จะไม่เกิดร่วมกันอย่างเด็ดขาด

การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเกื้อกูลต่อการเจริญขึ้นของกุศลธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น เพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นเหตุให้จิตใจสงบจากกิเลส สงบจากอกุศลตามระดับขั้นของความเข้าใจ จนกว่าจะถึงความเป็นผู้สงบจากกิเลส สงบจากอกุศลตามลำดับขั้น เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นทำกิจประหารกิเลส สูงสุดคืออรหัตตมรรคจิต ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกทั้งหมด ถ้าไม่มีปัญญาเลย เรื่องการดับกิเลส ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
intra
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

เริ่มจะมีปัญญาบ้าง ความสงสัยก็จะค่อยๆ คลายออกแต่ก็ยังไม่สามารถลดกิเลสได้แม้แต่น้อยนิดค่ะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตและปัญญาของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
aurasa
วันที่ 28 ธ.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 31 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
peem
วันที่ 15 มิ.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม ...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ