ปุราเภทสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗

 
มศพ.
วันที่  6 ก.ค. 2557
หมายเลข  25063
อ่าน  2,876

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ปุราเภทสูตร

(ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ)

จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๗๗๙

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๘ มิ.ย. ๒๕๕๗)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๗)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๗๗๙

ปุราเภทสูตรที่ ๑๐ *

(ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ)

พระพุทธนิมิต ตรัสถามว่า

[๔๑๗] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่าเป็นผู้สงบ ท่านพระโคดม พระองค์ผู้อันข้าพระองค์ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนรชน ผู้สูงสุดแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

ผู้ใด ปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก เป็นผู้ไม่อาศัยกาลเบื้องต้น (อดีต) และเบื้องปลาย (อนาคต) อันใครๆ จะพึงนับว่า เป็นผู้ยินดีแล้ว ในกาลท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้น ย่อมไม่มี เรา กล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ

ผู้ใด ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา

ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้ว ด้วยวาจา

ผู้ใด ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นผู้มีปกติเห็นความสงัดในผัสสะ อันใครๆ จะนำไปในทิฏฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใดปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปกติไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบในคำส่อเสียด เว้นจากความเชยชมในกามคุณอันเป็นวัตถุน่ายินดี ทั้งไม่ประกอบในการดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่เชื่อต่อใครๆ

ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษาเพราะใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความ

ไม่มีลาภ และเป็นผู้ไม่พิโรธ ไม่ยินดีในรสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย

มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตัว ว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา ในโลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลายของผู้นั้น ย่อมไม่มี

ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสสัยของผู้ ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยาก เพื่อความมี หรือเพื่อความไม่มี ของผู้ใดไม่มี เรากล่าวผู้นั้น ผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้สงบกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งหลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว

บุตร ธิดา สัตว์เลี้ยง ไร่นาและที่ดินของผู้ใด ไม่มี แม้ความเห็นว่าเที่ยงก็ดี ความเห็นว่าขาดสูญ ก็ดี อันใครๆ ย่อมไม่ได้ในผู้นั้น

ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าวกะผู้นั้น (ว่าผู้ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้ายแล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะ เป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะถ้อยคำทั้งหลาย.

มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีไม่มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องใน บุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือผู้เลว กว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาและทิฏฐิ) ย่อม ไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่าของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย

ผู้นั้นแล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ.

จบปุราเภทสูตรที่ ๑๐

ข้อความจากอรรถกถาอรรถกถาปุราเภทสูตร ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่

อรรถกถาปราเภทสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

หมายเหตุ ปุราเภทะ แปลว่า ก่อนที่จะตาย // ก่อนที่กายจะแตกทำลายไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ปุราเภทสูตร (ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบถึงความคิดของเทวดาทั้งหลายว่า ก่อนตายควรจะทำอะไร พระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่เหล่าเทวดา โดยทรงนิรมิตพระพุทธนิมิต ให้ทูลถามปัญหากับพระองค์ ถึงลักษณะของความเป็นผู้สงบว่าเป็นอย่างไร พระองค์ตรัสตอบลักษณะของความเป็นผู้สงบ ว่า เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มี-ความติดข้องยินดีพอใจ ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมแล้วด้วยวาจา ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นผู้มีปกติเห็นความสงัดในผัสสะ คือ เห็นความสงัด จากความเป็นตัวตนเป็นต้นในจักขุสัมผัสเป็นต้นอันเป็นปัจจุบัน ใครๆ จะชักนำไปในความเห็นผิด ไม่ได้ เป็นต้น เมื่อได้ฟังอย่างนี้แล้ว เทวดาแสนโกฏิบรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน นับไม่ถ้วน.

ขอเชิญคลิกศึกษาเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส

กิเลสตัณหา

ความสำคัญตนและความเป็นตัวตนเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

ที่ตั้งของความสำคัญตน

เวลาโกรธ ถ้ารู้ว่าโกรธ ก็จะไม่โกรธ

โลภะ โทสะ โมหะ

มีใครรู้ได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ..เป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นศึกษาพระธรรม

เป็นผู้ไม่ประมาท ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 7 ก.ค. 2557

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 7 ก.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 8 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 9 ก.ค. 2557

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 11 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 12 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 18 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ