ถีนะ มิทธะ

 
harji
วันที่  13 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25890
อ่าน  3,821

ขอเรียนถามว่า ถีนะ มิทธะ ทำไมเกิดร่วมเฉพาะสสังขาริกจิต เช่น ง่วงนอนก็ไม่มีใครชักชวน เกิดตามเหตุปัจจัยคือ อ่อนแรง

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถีนเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตท้อแท้ เซื่องซึมในอารมณ์

มิทธเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยท้อแท้ เซื่องซึมในอารมณ์

เมื่อเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้เกิดขึ้น จะทำให้บุคคลนั้นมีอาการหดหู่ท้อถอย เกียจคร้านหรือง่วงเหงาหาวนอน อกุศลเจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและ มิทธเจตสิก ซึ่งเกิดได้กับอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อน เป็นสสังขาริกเท่านั้น ทำให้สภาพจิตขณะนั้นไม่ควรแก่การงาน
ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก เกิดกับจิตที่มีกำลังอ่อน จึงเกิดกับสสังขาริก ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 13 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมเป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ตามความเป็นจริงของเจตสิกธรรมทั้ง ๒ คือ ถีนะ ความแท้แท้ท้อถอย ความหดหู่ ความเซื่องซึม และ มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นก็เกิดร่วมกันทุกครั้ง แยกจากกันไม่ได้ และถ้าจะเกิดก็จะเกิดกับอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนเท่านั้น จะไม่เกิดกับอกุศลที่มีกำลังกล้าและจะไม่เกิดกับกุศลจิตเลย เพราะถีนมิทธะเป็นอกุศลเจตสิกที่จะต้องเกิดกับอกุศลจิตและจะต้องเป็นอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อนแล้วจะมีถีนกับมิทธะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะบางครั้งก็ไม่เกิด นี่คือความเป็นจริงของสภาพธรรมที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ [ถีนะและมิทธะจะถูกดับได้อย่างเด็ดขาด เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 13 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 14 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
harji
วันที่ 14 ธ.ค. 2557

ขอเรียนถามต่อว่าเช่น ง่วงนอนก็ไม่ได้มีใครชักชวน เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย คือ อ่อนแรงไม่มีใครชักชวนให้อ่อนแรง

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2557

เรียน ความเห็นที่ 5 ครับ

ในความหมาย สสังขารริก ไม่ได้หมายถึง จะต้องมีใครมาชักชวนเท่านั้น แต่หมายถึงสภาพธรรมที่จิตมีกำลังอ่อน ก็เป็นสสังขารริก เพราะฉะนั้น ขณะที่ง่วงนอน แม้ไม่มีใครมาชักชวน เพราะไม่มีสัตว์ บุคคลมาชักชวน แต่โดยสภาพธรรมที่จิตมีกำลังอ่อน จึงชื่อ สสังขารริก ครับ เพราะฉะนั้น สสังขารริก จึงไม่ได้จำกัดความหมายเพียงแค่ ต้องมีใครชักชวน แต่หมายถึง สภาพธรรมที่มีกำลังอ่อนก็ได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 14 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
harji
วันที่ 14 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 30 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 24 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ