พระพุทธเจ้าแสดงธัมมะที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

 
viwat
วันที่  14 ต.ค. 2559
หมายเลข  28279
อ่าน  2,090

กราบเรียนท่านอาจารณ์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สวรรคตแล้ว ชาวไทยได้มีความโศกเศร้าเป็นจำนวนมาก กระผมจึงขออนุญาตท่านอาจารณ์ช่วยแสดงธัมมะของพระพุทธองค์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ได้เกิดปัญญา เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตต่อไปด้วยครับ

ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในชาดก จะกล่าวถึงคุณธรรมของพระราชา

ทศพิธราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือจริยวัตร ๑๐ ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี

ซึ่งทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย คุณธรรม 10 ประการดังนี้ครับ

1. ทาน (ทานํ) หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย และให้อภัยทาน และธรรมทาน ครับ

2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา

3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม และยอมบริจาคทุกสิ่งแม้ชีวิต เพื่อรักษา ราขอาณาจักร หรือ ที่ที่ตนปกครอง เพื่อส่วนรวม

4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า และอ่อนโยนด้วยกุศลจิตด้วยกาย วาจาและใจ มี ต่อพระภิกษุ เป็นต้น

6. ความเพียร (ตปํ) คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) คือ ความไม่โกรธ แม้มีผู้อื่นมาด่าว่า ทำร้าย ทางกายและวาจา เพราะถ้าโกรธแล้ว ย่อมเกิดอคติ ทำผิด เป็นโทษกับบ้านเมืองได้

8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

9. ความอดทน (ขันติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย และอดทนต่อสิ่งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา

10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ ไม่มีอคติ

จากที่กล่าวมา ในคุณธรรมของ ทศพิธราชธรรม ความละเอียด คือ ทั้งหมด ล้วนเป็นไปในกุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดีทั้งสิ้น ที่สำคัญการรักษาทศพิธราชธรรม ชื่อว่า รักษาตนเอง ด้วยคุณความดี และ เมื่อรักษาตนเองแล้ว ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วย เพราะเมื่อตนเองทำความดี คนอื่น และ บ้านเมืองก็ย่อมสงบสุข เพราะความสงบสุขมีได้ เพราะ ความดี กุศลธรรม ไม่ใช่เพราะ อกุศลธรรม ครับ ทศพิธราชธรรม จึงเป็นคุณธรรมที่ผู้ปกครองเมื่อประพฤติปฏิบัติ ย่อมนำมาซึ่งความสุข กับตนเอง และผู้อื่น ครับ

สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ครับว่า ผู้รักษาตนเอง ชื่อว่า ผู้รักษาผู้อื่นด้วย รักษาตนเองด้วยคุณความดี รักษาผู้อื่น ด้วย เพราะความดีไม่มีโทษ นำมาซึ่งความสุข ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้าที่ ๖๕

พระราชาผู้ชอบใจธรรม จึงจะดีงาม นรชนผู้มีปัญญา เป็นคนดี การไม่ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความดี การไม่ทำบาป เป็นสุข

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓- หน้าที่ ๑

พระเจ้าพาราณสี ทรงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนี้

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ

ชุด แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1317

ชุด แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1318


...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
thilda
วันที่ 14 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
viwat
วันที่ 15 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 18 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
rrebs10576
วันที่ 19 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 19 ต.ค. 2559

ธรรม 4 ข้อ

1. คฤหัสถ์ผู้บริโภคเป็นผู้เกียจคร้านไม่ดี

2. บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี

3. พระราชาไม่ใคร่ครวญก่อนทำไม่ดี

4. บัณฑิตมักโกรธไม่ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kukeart
วันที่ 21 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 22 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
panasda
วันที่ 1 พ.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ