พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ทรงโอวาทพระราหุล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ค. 2564
หมายเลข  34550
อ่าน  1,102

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 263

ภิกขุวรรคที่ ๒

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 263

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล

[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกา ปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่ ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำสําหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๒๖] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่งแล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่ในภาชนะน้ำนี้หรือ.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งรู้อยู่ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้วหรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 264

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคว่ําภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ํานี้หรือ.

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ําเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ.

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น.

[๑๒๗] พ. ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกําเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทํากรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้อง หน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างรักษาแต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดําริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกําเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทํากรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 265

ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล.

ดูก่อนราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกําเนิดดี เคยเข้าสงครามแล้ว ย่อมทํากรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง.

เพราะการที่ช้างทํากรรมด้วยงวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดําริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกําเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทํากรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง.

ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทําไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทําบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน.

เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๑๒๘] ดูก่อนราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แว่นมีประโยชน์อย่างไร.

รา. มีประโยชน์สําหรับส่องดู พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทํากรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

กรรม ๓

[๑๒๙] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมนั้นเธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทํากรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 266

ของเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ดูก่อนราหุล ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนี้ เธอไม่พึงทําด้วยกายโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงทําด้วยกาย.

แม้เมื่อเธอกําลังทํากรรมด้วยกาย เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เรากําลังทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทํากรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น.

ดูก่อนราหุล แม้เธอทํากรรมด้วยกายแล้ว เธอก็

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 267

พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเละผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกายกรรมใด กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง เปิดเผย ทําให้ตื้น ในพระศาสนาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญู แล้วพึงสํารวมต่อไป.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกายกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๐] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยวาจา เธอพึงพิจารณาวจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอไม่ควรทําโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 268

จะทํากรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนคนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นผลดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทํา.

ดูก่อนราหุล แม้เมื่อเธอกําลังทํากรรมด้วยวาจา เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกวจีกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้น.

ดูก่อนราหุล แม้เธอทํากรรมด้วยวาจาแล้ว เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 269

เปิดเผย ทําให้ตื้นในพระศาสนา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญู ครั้นแล้วพึงสํารวมต่อไป.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๑] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยใจ เธอพึงพิจารณามโนกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรรมเห็นปานนี้ เธอไม่ควรทําโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทํากรรมใดด้วยใจ มโนกรรมเองเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทํา.

ดูก่อนราหุล แม้เมื่อเธอกําลังทํากรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแหละว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียดผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบาก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 270

กระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกมโนกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทําอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มมโนกรรมเห็นปานนั้น.

ดูก่อนราหุล แม้เธอทํากรรมใดด้วยใจแล้ว เธอก็พึงพิจารณากรรมนั้นแหละว่า เราได้ทํากรรมใดด้วยใจแล้ว มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทําได้แล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงกระดาก ละอาย เกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น ครั้นแล้วพึงสํารวมต่อไป.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทําแล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยมโนกรรมนั้นแหละ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 271

[๑๓๒] ดูก่อนราหุล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้ชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น พิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็จักพิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน กําลังชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็พิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักพิจารณาๆ แล้วจึงชําระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบจูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๑

อรรถกถาภิกขุวรรค

๑. อรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร (๑)

อัมพลัฏิกราหุโลวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพลฏฺิกายํ วิหรติ ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา คือ เมื่อเขาสร้างย่อส่วนของเรือนตั้งไว้ท้าย


(๑) บาลีเป็น จูฬราหุโลวาทสูตร.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 272

พระเวฬุวันวิหาร เพื่อเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด พระราหุลเจริญปริเวกอยู่ ณ ปราสาทอันมีชื่ออย่างนี้ว่า อัมพลัฏฐิกา.

ชื่อว่า หนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด. แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้นครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ.

บทว่า อาสนํ คือ ณ ที่นี้ก็มีอาสนะที่ปูลาดไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว พระราหุลก็ยังปัดอาสนะนั้นตั้งไว้.

บทว่า อุทกาทาเน คือ ภาชนะใส่น้ำ. ปาฐะว่า อุทกาธาเน บ้าง.

บทว่า อายสฺมนฺตํ ราหุลํ อามนฺเตสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระราหุล คือ ตรัสเรียกเพื่อประทานโอวาท.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาไว้มากแก่พระราหุลเถระ. พระองค์ตรัสสามเณรปัญหาแก่พระเถระไว้เช่นกัน.

อนึ่ง พระองค์ตรัสราหุลสังยุต มหาราหุโลวาทสูตร จุลลราหุโลวาทสูตร รวมทั้งอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้เข้าด้วยกัน

จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้ เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา ทรงจับชายจีวรทูลขอมรดกกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ทรงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบให้แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระบวชให้.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า ชื่อว่า เด็กหนุ่มย่อมพูดถ้อยคําที่ควรและไม่ควร เราจะให้โอวาทแก่ราหุล ดังนี้แล้วตรัสเรียกพระราหุลเถระ มีพระพุทธดํารัสว่า ดูก่อนราหุล ชื่อว่า สามเณรไม่ควรกล่าวติรัจฉานกถา.

เธอเมื่อจะกล่าว ควรกล่าวกถาเห็นปานนี้ คือ คําถาม ๑๐ ข้อ การแก้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 273

๕๕ ข้อ ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามเณรปัญหานี้ว่า เอกนฺนาม กิํ อะไรชื่อว่า ๑.

สพฺเพ สตฺตา อาหารฏิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ.

ทส นาม กิํ อะไรชื่อว่า ๑๐.

ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เรากล่าวว่าเป็นอรหันต์.

พระพุทธองค์ทรงดําริต่อไปว่า ชื่อว่า เด็กหนุ่มย่อมกล่าวเท็จด้วยคําน่ารัก ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่า เราได้เห็นแล้ว กล่าวสิ่งที่เห็นว่า เราไม่เห็น.

เราจะให้โอวาทแก่ราหุลนั้น แม้แลดูด้วยตาก็เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย จึงทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒ จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑ แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.

ทรงแสดงการเว้นตัณหาในปัจจัย ๔ การละฉันทราคะในกามคุณ ๕ และความที่อุปนิสัยแห่งกัลยาณมิตรเป็นคุณยิ่งใหญ่ แล้วจึงตรัสราหุลสูตร. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทําฉันทราคะในภพทั้งหลาย ในที่ที่มาแล้วๆ จึงตรัสราหุลสังยุต. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทําฉันทราคะอันอาศัยเรือน อาศัยอัตภาพว่า เรางาม วรรณะของเราผ่องใส. แล้วจึงตรัสมหาราหุโลวาทสูตร.

ในมหาราหุโลวาทสูตรนั้น ไม่ควรกล่าวว่า ราหุลสูตร ท่านกล่าวไว้แล้วในกาลนี้. เพราะราหุลสูตรนั้นท่านกล่าวด้วยโอวาทเนืองๆ.

ท่านตรัสราหุลสังยุต ตั้งแต่พระราหุลมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษาจนถึงเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษา.

ท่านตรัสมหาราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร มีพระชนม์ได้ ๑๘ พรรษา.

ท่านตรัสจุลลราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา.

ท่านตรัสกุมารกปัญหา และอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้ในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 274

ในพระสูตรเหล่านั้น ท่านตรัสราหุโลวาทสูตร เพื่อโอวาทเนืองๆ ตรัสราหุลสังยุต เพื่อถือเอาห้องวิปัสสนาของพระเถระ ตรัสมหาราหุโลวาทสูตร เพื่อกําจัดฉันทราคะที่อาศัยเรือน ตรัสจุลลราหุโลวาทสูตร เพื่อยึดเอาพระอรหัต ในเวลาที่ธรรมเจริญด้วยวิมุตติ ๑๕ ของพระเถระแก่กล้าแล้ว. พระราหุลเถระหมายถึงพระสูตรนี้.

เมื่อจะสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

กิกีว พีชํ รกฺเขยฺย จมรี วาลมุตฺตมํ นิปโก สีลสมฺปนฺโน มมํ รกฺขิ ตถาคโต

พระตถาคตผู้มีพระปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ทรงรักษาเราเหมือนนกต้อยตีวิด พึงรักษาพืชพันธุ์ เหมือนเนื้อจามรีรักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น.

ท่านตรัสสามเณรปัญหา เพื่อละถ้อยคําอันไม่ควรตรัส ในอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้ เพื่อมิให้ทําสัมปชานมุสาวาท (พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่).

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสสิ โน แก้เป็น ปสฺสสิ นุ คือ เธอเห็นหรือหนอ.

บทว่า ปริตฺตํ คือ หน่อยหนึ่ง.

บทว่า สามฺํ คือ สมณธรรม.

บทว่า นิกฺกุชฺชิตฺวา คือ คว่ํา.

บทว่า อุกฺกุชฺชิตฺวา คือ หงาย.

บทว่า เสยฺยถาปิ ราหุล รฺโ นาโค ดูก่อนราหุล เหมือนช้างต้นของพระราชา ท่านกล่าวอุปมานี้ เพื่อแสดงความเปรียบเทียบของผู้ไม่มีสังวรในการกล่าวเท็จ ทั้งรู้อยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อีสาทนฺโต มีงาอันงอนงาม คือ มีงาเช่นกับงอนไถ.

บทว่า อุรุฬฺหวา เป็นพาหนะที่เจริญยิ่ง คือ น่าขี่.

บทว่า อภิชาโต

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 275

คือ มีกําเนิดดี สมบูรณ์ด้วยชาติ.

บทว่า สงฺคามาวจโร คือ เคยเข้าสงคราม.

บทว่า กมฺมํ กโรติ ย่อมทํากรรม คือ ประหารข้าศึกที่เข้ามาแล้วๆ ให้ล้มลง.

อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ด้วยกายเบื้องหน้า ดังนี้ คือ ยังซุ้มแผ่นกระดานและกําแพงโล้นให้ล้มลงด้วยกายเบื้องหน้าก่อน. ด้วยกายเบื้องหลังก็เหมือนกัน. กําหนดกรรมด้วยศีรษะแล้วกลับแลดูด้วยคิดว่า เราจักย่ํายีประเทศนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ทําลายสิ่งตั้งร้อยตั้งพันให้ออกเป็นสองส่วน.

ชื่อว่าทํากรรมด้วยศีรษะ การประหารลูกศรที่มาแล้วๆ ให้ตกไปด้วยหู ชื่อว่า ทํากรรมด้วยหู. การทิ่มแทงเท้าช้างข้าศึก ม้าข้าศึก กองช้าง กองม้า และพลเดินเท้าเป็นต้น ชื่อว่าทํากรรมด้วยงา. การตัดทําลายด้วยไม้ยาวหรือด้วยสากเหล็กที่ผูกไว้ที่หาง ชื่อว่าทํากรรมด้วยหาง.

บทว่า รกฺขเตว โสณฺฑํ ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น คือ ใส่งวงไว้ในปากรักษาไว้.

บทว่า ตตฺถ คือ ในการที่ช้างรักษางวงนั้น.

บทว่า อปริจฺจตฺตํ คือ ไม่ยอมสละ ถึงจะเห็นผู้อื่นชนะและเราแพ้.

บทว่า โสณฺฑายปิ กมฺมํ กโรติ ย่อมทํากรรมแม้ด้วยงวง คือ จับค้อนเหล็ก หรือสากไม้ตะเคียน แล้วย่ํายีที่ประมาณ ๑๘ ศอกได้โดยรอบ.

บทว่า ปริจฺจตฺตํ ยอมเสียสละแล้ว คือ บัดนี้ไม่กลัวแต่อะไรๆ อีกแล้วในกองทัพช้างเป็นต้น ย่อมเห็นชัยชนะของเรา.

บทว่า นาหนฺตสฺส กิฺจิ ปาปํ บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทําบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ความว่า บุคคลนั้นจะไม่พึงทํากรรมน้อยหนึ่งในการล่วงอาบัติทุกกฏเป็นต้น หรือในกรรมมีมาตุฆาตเป็นต้นไม่มี.

บทว่า ตสฺมา ติห เต ความว่า เพราะผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่จะไม่ทําบาปไม่มี ฉะนั้นเธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวเท็จแม้เพราะหัวเราะ แม้เพราะใคร่จะเล่น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 276

บทว่า ปจฺจเวกฺขณตฺโถ คือ มีประโยชน์สําหรับส่องดู. อธิบายว่า มีประโยชน์ส่องดูโทษที่ใบหน้า.

บทว่า ปจฺจเวกฺขิตฺวา ปจฺจเวกฺขิตฺวา คือ ตรวจดูแล้ว ตรวจดูอีก.

บทว่า สสกฺกํ น กรณียํ คือ ไม่พึงทําโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

บทว่า ปฏิสํหเรยฺยาสิ พึงเลิก คือ พึงกลับอย่าพึงทํา.

บทว่า อนุปทชฺเชยฺยาสิ พึงเพิ่ม คือ พึงให้เกิดขึ้น พึงค้ำจุนไว้ พึงทําบ่อยๆ.

บทว่า อโหรตฺตานุสิกฺขิตา คือ ศึกษาทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน.

บทว่า อฏฏิยิตพฺพํ พึงกระดาก คือ พึงระอา พึงบีบคั้น.

บทว่า หรายิตพฺพํ คือ พึงละอาย.

บทว่า ชิคุจฺฉิตพฺพํ พึงเกลียด คือ พึงให้เกิดความเกลียดดุจเห็นคูถ.

อนึ่ง เพราะมโนกรรมมิใช่วัตถุแห่งเทศนาอันควรแสดงไว้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่กล่าวไว้.

ก็ในฐานะอย่างไรเล่า จึงควรชําระกายกรรมและวจีกรรม. ในฐานะอย่างไรจึงควรชําระมโนกรรม.

ควรชําระกายกรรมและวจีกรรม ในเวลาก่อนอาหารครั้งหนึ่งก่อน เมื่อฉันอาหารแล้วควรนั่งในที่พักกลางวันพิจารณาว่า ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงนั่งในที่นี้ กายกรรม หรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ผู้อื่นในระหว่างนี้ มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ.

หากรู้ว่ามี ควรแสดงข้อที่ควรแสดง ควรทําให้แจ้งข้อที่ควรทําให้แจ้ง. หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์.

อนึ่ง ควรชําระมโนกรรม ในที่แสวงหาบิณฑบาตครั้งหนึ่ง, ชําระอย่างไร. ควรชําระว่า วันนี้ ความพอใจก็ดี ความกําหนัดก็ดี ความคับแค้นก็ดี ในรูปเป็นต้นในที่แสวงหาบิณฑบาตมีอยู่หรือหนอ.

หากมี ควรตั้งจิตว่า เราจักไม่ทําอย่างนี้อีก. หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์.

บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระสาวกของพระตถาคต.

บทว่า ตสฺมา ติห ความว่า เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ชําระแล้วอย่างนี้ แม้ในอนาคตก็จัก

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 277

ชําระอย่างนี้ แม้ในปัจจุบันก็ย่อมชําระอย่างนี้ ฉะนั้นแม้พวกเธอ เมื่อศึกษาตามสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็พึงศึกษาอย่างนี้.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระธรรมเทศนานี้ให้จบลงด้วยสามารถแห่งบุคคลที่ควรแนะนํา ดุจเทวดาผู้วิเศษถือเอายอดแห่งกองรัตนะอันตั้งขึ้นจนถึงภวัคคพรหม ด้วยกองแห่งแก้วมณีที่ประกอบกัน.

จบอรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรที่ ๑