หวั่นไหวเพราะไม่รู้


        ธรรมะที่เป็นกุศลนั้นอย่างหนึ่ง ธรรมะที่เป็นอกุศลก็ตรงกันข้ามกับกุศล นี่คือความเข้าใจ ไม่ต้องคิดถึงชื่อ แต่เข้าใจความจริงว่า เดี๋ยวนี้ชีวิตทุกขณะมีสิ่งที่มีจริงซึ่งเห็นแล้วก็คิด แล้วก็มีสภาพธรรมะทั้งเดี๋ยวก็ชอบ เดี๋ยวก็ชัง เดี๋ยวก็เมตตา เดี๋ยวก็มีความเพียร เดี๋ยวก็ท้อถอย ทั้งหมดเป็นสิ่งที่มีจริง

        เพราะฉะนั้น ในบรรดาสิ่งที่มีจริงนั้น ก็มีสภาพธรรมะที่เป็นอกุศลกับกุศลก่อน ถ้าเป็นฝ่ายดี กุศล ก็มีอโลภะ มีสิ่งที่น่าพอใจปรากฏ ไม่หวั่นไหวไปเพลิดเพลินพอใจอย่างมาก ขณะนั้นไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ถ้าเป็นอกุศล ไม่ว่าอะไรปรากฏ เพราะไม่รู้ความจริง หรือเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเล็กน้อย แสนสั้น ชั่วคราว แล้วดับไป เมื่อไม่รู้ความจริงอย่างนี้ก็หวั่นไหวไป เพราะการสะสมที่มีอยู่ในจิต ไม่ว่าอะไรจะปรากฏ ไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้น ถูกต้องไหมคะ ขณะไม่รู้จะสงบไม่ได้

        เพราะฉะนั้น บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ไม่ต้องรู้อะไรเลยทั้งสิ้น ให้จิตนิ่ง ขณะนั้นเป็นกุศล เข้าใจว่า นั่นคือไม่หวั่นไหว แต่พระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงว่า ขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นเป็นอกุศล ถ้าไม่กล่าวถึงวิบาก ซึ่งเป็นผลของกุศล และอกุศล และไม่กล่าวถึงจิต เจตสิกที่เพียงเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่มี แต่ไม่ใช่ผลของกรรมหนึ่งกรรมใด แต่ก็ไม่ใช่กุศล และอกุศลด้วย นี่คือชีวิตจริงๆ ที่จะต้องเข้าใจ

        เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมะ ไม่ใช่พอได้ยินแล้วคิดเอง ผิดแน่นอน เป็นใคร สามารถคิด และเข้าใจว่า คิดได้ด้วย แต่ตามความจริงพอรู้คุณธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าตรัสคำใด เข้าใจให้ถูกต้องตามที่พระองค์ทรงตรัสรู้อย่างลึกซึ้ง อย่างละเอียดยิ่ง เช่นหวั่นไหว ขณะใดก็ตามที่หวั่นไหว ต้องเพราะไม่รู้ความจริง เวลาไม่รู้ความจริงแล้วก็มีความพอใจบ้าง เป็นความติดข้องหรือโกรธเคืองบ้าง ซึ่งตรงกันข้ามกับทางฝ่ายกุศล เพราะเหตุว่าสะสมมาที่จะมีสภาพธรรมะที่ดีงามเกิดขึ้นกับจิต

        เพราะฉะนั้น ขณะนั้นแม้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาที่ใครๆ ก็ติดข้อง แต่คนที่สะสมมาเกิดกุศลได้ ไม่ติดข้องได้ ขณะนั้นก็ไม่หวั่นไหว

        เพราะฉะนั้น แม้เป็นคำเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเข้าใจธรรมะในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ไม่พูดถึงใครทั้งสิ้น ศึกษาธรรมะ ธรรมะจริงๆ ทั้งหมดตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นสภาพธรรมะนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ไม่มีทางจะรู้ความจริงได้ แต่เดี๋ยวนี้เองทั้งๆ ที่สภาพธรรมะกำลังปรากฏ เกิดแล้วดับแล้วเร็วมาก ฟังเข้าใจก็ยังไม่สามารถรู้ว่า ขณะไหนหวั่นไหว และขณะไหนไม่หวั่นไหว แต่เมื่อเข้าใจถูกต้องว่า หวั่นไหวเพราะไม่รู้ แต่เท่าที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ใครไปรู้ถึงสภาพไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงบ้าง จะรู้ก็ต่อเมื่อหวั่นไหวไปแล้วด้วยโลภะ หวั่นไหวไปแล้วด้วยมานะ หรือหวั่นไหวไปแล้วด้วยทิฏฐิ

        เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงโดยกว้าง และโดยเจาะจง ก็ต้องรู้ด้วยว่า ขณะไหนมุ่งกล่าวเฉพาะตรงนั้น เพราะอะไร หรือเพื่ออะไร แต่ความเข้าใจต้องสอดคล้องกัน


    หมายเลข 10055
    30 ธ.ค. 2566