ไม่เลือกทวาร


    ผู้ฟัง ผู้ฟังใหม่ๆ ก็จะอบรมทางตา แล้ว ใหม่ๆ คงจะต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ก่อนจนถึงขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ ผมว่าพอจะระลึกได้ว่า รูปกับนามนี่ คงจะเป็นคนละอย่างจริงๆ หรือจะเป็นอย่างอื่น ผมก็ยังไม่ถึงขั้นนั้น ทั้งรูปทั้งนาม จะสังเกตอย่างไร ตรงนี้ก็ยังเป็นประเด็นอยู่ ผมก็ต้องถามอย่างนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ผู้ฟังที่จะอบรมเจริญปัญญาทางตา

    ผู้ฟัง เป็นอนัตตาครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นอนัตตา แล้วทำไมทางตา ทำไมจะอบรมเจริญปัญญาทางตาเมื่อเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง เพราะว่า คำถามเบื้องต้น ก็เห็นสนทนากันทางตา ผมเลย

    ท่านอาจารย์ คนอื่นคงจะไม่เกี่ยว หมายความว่า ผู้ฟังจะได้รับฟัง มีโสตปสาทก็มีเสียงกระทบ แต่ว่าเมื่อเสียงกระทบได้ยิน แล้วต้องพิจารณา เป็นเรื่องของผู้ฟังโดยเฉพาะแต่ละบุคคล ไม่เกี่ยวกับคนอื่น คนอื่นจะพูดอะไรก็ได้ แต่คนฟังคิด พิจารณาความถูกต้องว่า ถ้ามีผู้ฟังที่จะอบรมเจริญปัญญาทางตา เป็นอนัตตา หรือเป็นอัตตา

    คุณอดิศักดิ์ การเจาะจงที่จะเจริญสติปัฏฐานทางตาก็ดี ทางหูก็ดี อย่างนี้เป็นอัตตาหรืออนัตตา สภาพธรรมะจะเกิดขึ้นต้องมีเหตุมีปัจจัย เขาเกิดขึ้นเพราะเหตุ เพราะปัจจัย แล้วสติคุณจะระลึก หรือไม่ระลึกก็ต้องมีเหตุมีปัจจัยที่จะระลึก แล้วแต่สภาพธรรมะใดจะปรากฏ เพราะฉะนั้น การเจริญสติปัฏฐานทางตานี้ อันนี้เป็นอัตตา สติปัฏฐาน ไปเจาะจงที่จะเจริญทางใดทางหนึ่งไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้ตกไปคำ คือผู้ฟัง จะ เจริญสติปัฏฐานทางตา ใช้คำ ว่า “จะ” ด้วย

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตรงนี้อาจารย์ก็สั่งสอนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ต้องอบรม ระลึกรู้สภาพธรรม แต่ว่าขณะนี้เราจะมาวิเคราะห์กันถึงทางตาว่า จะสังเกตอย่างไร รูปธรรม นามธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องสังเกตอย่างไร เรื่องฟังพระธรรมให้เข้าใจว่า เป็นธรรมะ ให้เข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมะ เพียงธรรมะคำเดียว ฟังเข้าใจว่า เป็นธรรมะ แต่ที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรมะนั้นอีกขั้นหนึ่ง

    ผู้ฟัง อาจารย์เสนอว่า ถ้าเป็น ธรรมอย่างเดียวนี่ ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาตรงนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    คุณอดิศักดิ์ ต้องฟังให้ดีด้วย จะเจริญไม่ได้

    ผู้ฟัง ทางตาเอง ผมก็พยายามพิจารณา

    คุณอดิศักดิ์ พยายามก็ไม่ได้ พยายามทางตาก็ไม่ได้ จะเจริญทางตาก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง ถ้าเราไม่รู้ถึงแนวทางเบื้องต้น แล้วอบรม ผมว่าจะยิ่งยากกว่านะครับ อาจารย์

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ละเอียด เพราะเหตุว่าพระธรรมละเอียด โดยเฉพาะอริยสัจ ๔ ละเอียดหมดทั้ง ๔ อริยสัจ แม้แต่มรรคสัจก็ละเอียด ไม่ใช่ว่าไม่มีความเข้าใจ แล้วก็จะไปพยายาม แต่เป็นเรื่องการฟัง ผู้ที่เป็นสาวกต้องฟัง เป็นพหูสูตร ฟัง จำ เข้าใจในสิ่งที่ฟัง จำในสิ่งที่เข้าใจ

    ผู้ฟัง อาจารย์เคยพูดในวิทยุว่า ต้องสนทนาด้วย

    ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ

    ผู้ฟัง ขอบคุณครับ

    อ.สมพร ผมเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง ก็เคยกล่าวไว้ แล้ว การที่เห็นสีครั้งหนึ่งทางตา ก็ มนสิการทางมโนทวารว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่อัตตา มีปัจจัยประชุมกัน ๔ อย่างพร้อมกันจึงเกิดการเห็นขึ้นครั้งหนึ่งทางตา มนสิการทางมโนทวาร ขณะที่เห็น แล้วก็นมสิการ ทางมโนทวาร เพราะว่าทางจักขุทวารกับมโนทวารเกิดคู่กันเสมอ เมื่อเห็น แล้ว ก็ มนสิการทางมโนทวารว่า ธรรมะทั้งหลายเกิดจากปัจจัย การที่จะเห็นได้ เพราะปัจจัย ๔ อย่างประชุมกันครั้งหนึ่ง แล้วก็เห็นครั้งหนึ่ง ก็ดับไป จิตนั้นดับไป แต่ว่าปัจจัยที่ให้เห็น สีเป็นต้นยังไม่ดับ มีกำลังต่อไปอีก ๑๗ ขณะ ปัจจัย ๔ อย่างประชุมพร้อมกัน ต้องพร้อมกัน จึงเกิดการเห็น ถ้าไม่พร้อมกันก็ไม่มีการเห็น ปัจจัย ๔ อย่าง ๑ สี ๒ ตา ๓ แสงสว่าง ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ หรือ มนสิการก็ได้ เมื่อปัจจัย ๔ อย่างนี้ประชุมพร้อมกัน แล้ว จึงเกิดการเห็นขึ้นครั้งหนึ่ง นี่ทางตา แต่ว่าเรามนสิการทางมโนทวาร

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ ไม่ทราบจะเป็นความเข้าใจผิดหรือเปล่าว่า ถ้าสติปัฏฐานเกิด ก็คือไม่สงสัยในทวารหนึ่ง เช่น ทางหู ไม่สงสัยว่า ระลึกศึกษาอย่างไร แต่พอถึงทางตา สงสัยว่าจะระลึกศึกษาอย่างไร จะเป็นไปได้ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่า ความสงสัย สงสัยหมดทุกอย่าง ในขณะที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมะนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าสติเริ่มระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรมะใด ความสงสัยในสภาพธรรมะอื่น ซึ่งสติยังไม่เกิด ยังไม่ได้ระลึก ยังไม่ได้ศึกษา ต้องมี

    ผู้ฟัง แต่หมายถึงว่า การระลึกศึกษานี้ ถ้าสติปัฏฐานทางหูเกิด ทางตาไม่เคยเกิด ก็เลยสงสัยว่า สติปัฏฐานทางตาจะเกิดอย่างไร

    ท่านอาจารย์ จะเกิดอย่างไร ก็เหมือนอย่างทางหูเกิดอย่างไร

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น อย่างที่เมื่อครู่นี้ออกมาถามว่า สติปัฏฐานทางหูไม่สงสัย หรือว่าความเข้าใจสภาพธรรมะทางหูไม่สงสัย แต่ว่าทางตาสงสัยว่าจะพิจารณาอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็หมายความว่า คนนั้นไม่รู้ลักษณะของสติที่เกิดว่า เป็นอนัตตา มีปัจจัยจึงได้เกิด แล้วขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่มีสติต่างกันอย่างไร การศึกษาธรรมะ อย่าข้าม แล้วอย่าคิดว่า รู้ แล้ว ที่รู้ แล้วทั้งหมดก็อาจจะมาตั้งต้นหาความละเอียดของสิ่งที่เข้าใจว่ารู้ แล้วว่า แท้ที่จริงที่ว่ารู้ แล้ว รู้อะไร รู้จริงๆ หรือเปล่า หรือเพียงแต่ฟัง แล้วคิดว่าเข้าใจหมด แล้ว


    หมายเลข 10127
    22 ส.ค. 2567