ภิกษุต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย
ผู้ฟัง มีคำถามอันนี้ เห็นถามมาหลายทีแล้วว่า การที่เรากินเนื้อสัตว์ เหมือนกับเป็นการสนับสนุนให้คนอื่นต้องฆ่า และขายเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นอีก แล้วเราต้องชดใช้กรรมด้วย ใช่ไหม
พระพุทธองค์ในพระไตรปิฎก ท่านไม่ได้ห้ามการฉันเนื้อ ห้ามเป็นบางเนื้อ เช่น เนื้อสุนัข เนื้อเสือดาว ท่านห้ามเพราะว่ามันมีเหตุ แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสห้ามไว้ พระภิกษุสงฆ์เราต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่ใช่ว่าเขาเอาแกงเนื้อมาให้ แล้วบอกไม่เอา ฉันฉันเนื้อไม่ได้ เอาแกงขี้เหล็ก อย่างนี้มันได้อย่างไร ไปต่อรองกับญาติโยมได้อย่างไร ญาติโยมท่านศรัทธามาอย่างไร พุทธองค์ตรัสไว้แล้ว ภิกษุต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย มีเหตุผลหรือเปล่า การที่ปัญญาจะเกิดหรือไม่เกิด ไม่ใช่ว่าไม่กินเนื้อ ปัญญาจะเกิดหรือไม่เกิดต้องอยู่ที่การอบรม ถ้าปัญญาจะเกิดด้วยการไม่กินเนื้อ วัวควายกินแต่หญ้า มันมีปัญญาที่ไหน เราต้องมีเหตุผล ถ้าเราจะเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วก็การที่ว่า เพราะเรากินเนื้อ เท่ากับสนับสนุนให้คนฆ่าสัตว์ เนื้อคนไม่มีใครกิน ฆ่ากันทุกวัน ถูกหรือเปล่า ฆ่ากันด้วยกิเลส ครับ ต้องเข้าใจตรงนี้ คนเราฆ่ากัน ฆ่ากันด้วยกิเลส ไม่ได้ฆ่ากัน เพราะว่ามีคนไปกิน เนื้อคนไม่มีใครกิน ฆ่ากันทุกวัน ถูกไหมครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม แต่ห้ามเนื้อบางชนิด
อ.สมพร มีนิดหนึ่งครับที่พระองค์ทรงรังเกียจ เขาฆ่าสัตว์เจาะจงเรา ถ้าเรารู้ว่าเขาฆ่าสัตว์เพื่อจะเลี้ยงเรา ก็ห้ามภิกษุไม่ให้ฉัน ถ้าภิกษุฉันก็ต้องอาบัติ หรือมีความรังเกียจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาฆ่าธรรมดา แล้วมีคนทำอาหารมาถวาย เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มีความรังเกียจ ก็ฉันเนื้อสัตว์ได้ ฉันได้เฉพาะเนื้อที่พระองค์ทรงอนุญาต เพราะเราไม่ได้ฆ่าเอง ถึงว่าเราไม่รับประทานเนื้อ เขาก็ต้องฆ่าเนื้อ คนที่รับประทานเนื้อมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องชดใช้กรรม ถ้าหากว่าเราไม่ได้ฆ่า อย่างภิกษุต้องมีความประณีตขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง มีความไม่รังเกียจว่า เขาฆ่ามาถวายเรา คือเจาะจงเรา ถ้ารังเกียจก็ฉันไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่รู้ไม่เห็น แต่ว่ามีความรังเกียจ แต่ไม่มีความรังเกียจ เช่น บิณฑบาต แล้วเขาก็เอาอาหารเนื้อมาถวาย เราก็รับได้ ฉันได้ แต่ว่ามีข้ออยู่อย่างหนึ่งสำหรับภิกษุ จะฉันเนื้อหรือไม่ใช่ฉันเนื้อก็ตาม ต้องพิจารณาก่อนแล้วก็ฉัน ถ้าไม่พิจารณา ก็ไม่ควร สำหรับภิกษุ ส่วนพวกเราโดยมากไม่ได้พิจารณา ก็รับประทานเลย ต่างกันอยู่นิดหนึ่ง