ธรรมะกับวินัย


        ธรรมะก็เป็นวินัยทำให้กำจัดกิเลส และวินัยก็เป็นธรรมะด้วย เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีธรรมะจะมีวินัยได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจแม้แต่คำ กำจัดกิเลสด้วยอะไร ด้วยดีๆ กำจัดได้อย่างไร ใช่ไหมคะ พระภิกษุท่านบวชเป็นบรรพชิตเพราะท่านสะสมอุปนิสัยที่จะกำจัดกิเลสในเพศบรรพชิต สะสมมาที่จะสละความติดข้องในการครองเรือน ทุกสิ่งทุกอย่างในเพศคฤหัสถ์ ซึ่งคฤหัสถ์เองแม้ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องกำจัดกิเลสด้วย เพราะฉะนั้น วินัยก็คือธรรมะ ถ้าไม่มีธรรมะ คือ ปัญญา อะไรจะกำจัดกิเลสได้ แต่ความประพฤติของผู้ได้สละอาคารบ้านเรือนแล้ว ก็ต้องรู้ตนเองว่า มีกิเลสมากน้อยแค่ไหน คฤหัสถ์ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่แต่เฉพาะบรรพชิต มีกิเลสมากน้อยแค่ไหน แล้วกำจัดกิเลสตามเพศของคฤหัสถ์ และบรรพชิต

        เพราะฉะนั้น การที่บรรพชิตมีวินัยก็ต้องรู้ว่า วินัยนั้นเพื่อกำจัดกิเลส ถ้าไม่เป็นไปตามวินัยกำจัดกิเลส หรือเปล่า สมควรแก่การเป็นเพศบรรพชิต หรือเปล่า

        เพราะฉะนั้น วินัยทุกข้อก็เพื่อให้ระลึก ให้เข้าใจถูกต้องว่า สมควรแก่เพศบรรพชิต หรือเปล่า แต่การกำจัดกิเลสก็ต้องกำจัดกันทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตด้วย

        เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์สมควรรู้ด้วย เพราะเหตุว่าแม้ในชาตินี้ไม่ได้เป็นบรรพชิต ชาติก่อนๆ ใครจะรู้ว่าไม่เคยเป็น หรือแม้ชาตินี้บางท่านบวชแล้วก็สึก ก็เคยเป็นเหมือนกัน และชาติหน้าจะเป็น หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องว่า ทั้งหมดเพื่อกำจัดกิเลส

        เพราะฉะนั้น ทุกคำมีคุณค่ามากที่จะพิจารณา และประพฤติปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้น ภิกษุที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยไม่ใช่บรรพชิต ไม่ใช่ผู้กำจัดกิเลส แต่เมื่อเป็นบรรพชิตแล้ว ต้องรู้ว่า มีชีวิตอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้

        ด้วยเหตุนี้พระวินัยทั้งหมดทำให้รู้ตัวตามความเป็นจริงว่าเป็นใคร แล้วจะขจัด หรือกำจัดกิเลสในเพศใด ถ้าในเพศบรรพชิตก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ ซึ่งละเอียดมากที่คฤหัสถ์ก็สมควรประพฤติปฏิบัติตามแม้ไม่ใช่เพศบรรพชิต อย่างภิกษุณีเวลาไปสู่สำนักไหน ถ้าเขาไม่เชื้อเชิญก็นั่งไม่ได้ ดีไหมคะ หรือไปถึงบ้านไหนก็ไปนั่ง ไปนอน ถ้าเจ้าของบ้านออกมาก็ต้องตกใจอยู่ดีๆ มีใครมานั่งมานอนที่นี่

        เพราะฉะนั้น ทุกอย่างในพระวินัย ไม่ว่าในเรื่องบริโภคอาหารเป็นสิ่งที่งดงามมาก ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยครบถ้วนจะไม่มีใครรู้เลยว่า เป็นพระอรหันต์ หรือไม่เป็นพระอรหันต์ เพราะไม่มีทางทำให้เห็นว่าเป็นไปเพราะกำลังของกิเลสเลย

        ด้วยเหตุนี้ถึงแม้ว่าจะเป้นบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ก็เป็นธรรมะที่มีกิเลสมากน้อยแค่ไหน ที่จะอบรมขัดเกลาจิตใจในเพศไหน ที่เราต้องพูดถึงธรรมะโดยนัยของพระวินัยก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การกำจัดขัดเกลากิเลสที่มีมากกว่าเพศคฤหัสถ์ก็ยังมี คฤหัสถ์ก็สามารถทำได้ ถ้าได้อ่าน และเห็นว่าสิ่งใดสมควรในการบริโภค ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดเป็นอภิสมาจาร หมายความว่าเป็นมารยาทที่ดีงามสำหรับทุกคน เพราะว่าขณะนั้นก็ขัดเกลาด้วย และรู้สภาพธรรมะด้วย


    หมายเลข 10283
    29 ธ.ค. 2566