เคารพในการศึกษาธรรมะ


        การเคารพในพระรัตนตรัย และในการศึกษาธรรมะคืออย่างไร

        ท่านอาจารย์ รอบรู้ในพระพุทธพจน์ อนัตตาต้องเป็นอนัตตาแน่นอน เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ แล้วจะปฏิบัติผิด เพื่อรู้สภาพธรรมะ โดยไม่ศึกษาธรรมะ ไม่เข้าใจขึ้น ชื่อว่า เคารพหรือเปล่า

        เพราะฉะนั้น ดูเหมือนเคารพ เพราะได้ศึกษา แต่ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ แม้แต่คำเดียวว่า “ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา” ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย แล้วยังมีตัวตนหรือโลภะที่อยากรู้สภาพธรรมะโดยไม่อบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ตามลำดับขั้น แม้แต่คำว่า “ทุกข์ในวัฏฏะ” เป็นต้น เป็นมูลที่ทำให้ทุกข์ทั้งหลายเป็นไปทุกวัน ซึ่งยับยั้งการเห็น การได้ยินไม่ได้ นี่คือวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ทุกข์ทั้งหลายก็มาจากเห็น ได้ยินนี่แหละ บังคับไม่ได้เลย ถ้าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ทุกข์ทั้งหลายก็ไม่มี แต่จะไม่ฟังให้เข้าใจ คิดว่ามีหนทางอื่น ไปนั่งบ้าง เดินบ้าง ยกมือบ้าง อภิเษกตนเองว่ารู้กว่า เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ทรงแสดงตรงตามเหตุผลว่า ปัญญาต้องตามลำดับจากปริยัติ เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิบัติ คือ ปฏิปัตติ จนเป็นปัจจัยให้ถึงปฏิเวธ ถ้าเป็นอย่างนั้นเคารพในพระธรรมหรือเปล่า เคารพในพระศาสดาหรือเปล่า

        ความเคารพต้องมีเหตุผลด้วยความจริงใจในความถูกต้อง ไม่ใช่ชื่อว่าเคารพเพราะกราบไหว้แล้ว ศึกษาแล้ว ไม่ใช่ แม้ศึกษาแล้วก็ต้องตรงกับเหตุผลตามความเป็นจริง จึงจะถูกต้อง

        ได้ยินคำจากชาวพุทธว่า พระพุทธศาสนาไม่ยาก พูดได้ไหม แต่ก็พูดแล้ว และก็เป็นชาวพุทธที่บอกว่าเคารพพระรัตนตรัย แต่ไม่ใช่ความเคารพเลย เพราะเป็นผู้ประมาท ไม่เห็นคุณของพระธรรมแต่ละคำว่า ละเอียดลึกซึ้ง เพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร แค่นี้ก็ไม่สามารถกล่าวว่า พระธรรมง่าย และง่ายจริงหรือเปล่า เห็นเกิดแล้วดับแล้ว ง่ายไหม และคนที่บอกว่า พระธรรมง่าย สรรเสริญเคารพในพระศาสดาหรือเปล่า พระสูตรนี้ไม่มีความหมายเลย แต่ทรงแสดงไว้ด้วยพระองค์เอง

        เพราะฉะนั้น ไม่ใช่แค่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังเคารพในสิกขา ในการศึกษา และประพฤติตามด้วย ไม่ใช่ศึกษาว่า พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง แต่ไปทำสิ่งที่ง่ายๆ นั่นคือไม่ใช่ศึกษาด้วยความเคารพ เพราะไม่ประพฤติตาม

        อ.อรรณพ ขอกราบเรียนถามว่า ถ้าภิกษุไม่ยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา

        ท่านอาจารย์ การศึกษาแล้ว ฟังแล้วไปปฏิบัติอย่างอื่น จะยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ได้ไหม ศึกษาธรรมะเพื่ออะไร เพื่อจำ หรือสิกขาคือประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดนี้เกิดมาแล้วก็ประพฤติปฏิบัติทั้งนั้น ผิดๆ ถูกๆ อย่างโน้นบ้าง อย่างนี้บ้าง กุศลประเภทนั้น อกุศลประเภทนี้ แต่เข้าใจถูกต้องจากการศึกษาหรือยัง แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องจากการศึกษาเพื่อประพฤติปฏิบัติตามทั้งหมดตามที่ได้เข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม พูดว่า ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา เท่านั้นก็จบ แต่ศึกษาให้เข้าใจจนรู้ว่า เดี๋ยวนี้กำลังศึกษาหรือเปล่า เพราะถ้าเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรมะ ศึกษาธรรมะหรือเปล่า ศึกษาชื่อ แต่ธรรมะที่กำลังปรากฏ ศึกษาตามที่ได้ฟังมาหรือเปล่าว่า เป็นสิ่งที่มีจริง เกิดเดี๋ยวนี้ แล้วก็ดับด้วย

        นี่คือการศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยว่า ฟังแล้วว่า ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่างนี้ยังไม่ชื่อว่า ศึกษาตัวธรรมะ เพียงศึกษาชื่อ และเรื่องราวของธรรมะว่า ธรรมะเป็นอย่างนี้ แต่ลืมว่า เดี๋ยวนี้เห็นกำลังเป็นอย่างนี้ ได้ยินกำลังเป็นอย่างนี้ คิดเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้เมื่อไร นั่นคือศึกษาตามที่ได้ฟัง มิฉะนั้นแล้วจะฟังเหมือนศึกษา แต่ยังไม่ถึงประพฤติปฏิบัติตามก็ชื่อว่า เพียงศึกษาเรื่องราวที่นำไปสู่การประพฤติตาม ต้องเข้าใจด้วยว่า การศึกษาที่เราเข้าใจขึ้นๆ เพื่อนำไปสู่การศึกษา คือ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นการประพฤติตามที่ได้ศึกษา

        เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ศึกษาแล้วไม่ประพฤติ ไม่ได้สิกขาลักษณะของสภาพธรรมะกำลังปรากฏ


    หมายเลข 10319
    31 ธ.ค. 2566