ต้องรู้กำลังของตัวเอง ๒
การศึกษาธรรมะเพื่อรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ยอมจะรู้จัก พยายามที่จะไปเหมือนคนโน้น เหมือนคนนี้ จะไปนั่งใต้ต้นโพธิ์ หรือว่าที่หนึ่งที่ใดก็ แล้วแต่ แล้วก็คิดว่าขณะนั้นจะทำให้สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้เป็นสัจธรรม ซึ่งเกิด แล้วดับเร็วมาก ถ้าไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมะหนึ่งสภาพธรรมะใดซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่มีการที่สามารถจะรู้อริยสัจธรรม ทุกขอริยสัจจะรู้ไม่ได้เลย จะไปรู้เมื่อไร ในเมื่อขณะนี้สภาพธรรมะเป็นจริงอย่างนี้ แล้วปัญญาก็ยังไม่เริ่มที่จะระลึกที่จะเข้าใจลักษณะที่เป็นนามธรรม หรือลักษณะที่เป็นรูปธรรม จึงไม่ใช่เรา ถ้าไม่รู้ว่า ลักษณะนั้นเป็นนามธรรม เห็นนี้ก็ต้องเป็นเราเห็น ฟังอย่างไรๆ ก็ยังเป็นเราที่เห็น แต่ถ้าค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น แล้วขณะนี้ที่กำลังเห็น พร้อมกับการฟัง ก็ค่อยๆ เข้าใจจริงๆ ว่า เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่มีใครสามารถที่จะทิ้ง ละทิ้งสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา หรือเปลี่ยนลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ให้เป็นอย่างอื่นได้ กำลังเผชิญหน้าอยู่ ขึ้นอยู่กับว่า ปัญญาสะสมมาระดับไหน ถ้าสะสมมาที่จะเข้าใจจริงๆ ก็สามารถที่จะค่อยๆ ไม่ติดในนิมิตอนุพยัญชนะของสิ่งที่กำลังปรากฏ
ทุกอย่างก็จะตรงตามที่ทรงแสดงทุกอย่าง แต่ต้องเป็นปัญญา ไม่ใช่ว่าเป็นเราคิด เราทำ แล้วเราก็ลืม ตั้งแสนโกฏิกัปมาอวิชชาเราแค่ไหน โลภะซึ่งมีอยู่ในชีวิตประจำวันทุกขณะ แม้ว่าเป็นธรรมะยากก็ยังอยากที่จะประจักษ์การเกิดดับ อยากจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม นี่คือผิด แต่ถ้ารู้ตามความเป็นจริง เป็นผู้ที่ แล้วแต่การสะสมว่า เราสะสมความรู้ขึ้นแค่ไหน แล้วสติสัมปชัญญะจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมะหนึ่งสภาพธรรมะใด ในขณะนี้เป็นปกติ ละความเป็นเราที่จะทำ ละความเป็นเราที่อยากหรือต้องการที่จะเร่งรัดโดยที่ว่า สิ่งที่สะสมมา แล้วทั้งหมดไม่คำนึงถึงเลย ต้องการเพียงแต่ว่าทำอย่างไร เราถึงรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ขณะนั้นก็ไม่เห็นโลภะ จึงไม่ได้ละสมุทัย เพราะว่าสมุทัย นายช่างที่สร้างเรือน คือ โลภะ จะสร้างเรือนแบบไหนก็ได้ สร้างดีถึงขนาดอรูปฌาน รูปฌาน หรือว่าสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใด หรือมนุษย์ หรือว่าจะสร้างบ้านที่ไม่น่าอยู่เลย ก็จะเป็นสิ่งที่ให้ได้ประสบพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่น่าพอใจทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นั่นก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมะที่มีจริงๆ แต่ถ้าไม่ละโลภะ ไม่ถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม คำนี้ลืม แล้วก็เข้าใจว่า ขณะนั้นกำลังเพียรที่จะเพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมะ แต่ความเพียรมี ๒ อย่าง เพียรถูกกับเพียรผิด ไม่ได้คิดถึงความเพียรผิดเลย คิดถึงแต่จะเพียรอย่างเดียว แต่ความจริงความเพียรมี ๒ อย่าง ถ้าไม่เกิดร่วมกับปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมะที่มีจริงๆ ทีละเล็กทีละน้อย เพียรทำอย่างอื่นเพราะอยากรู้ ขณะนั้นไม่ใช่หนทางที่จะรู้ ก็ต้องเป็นความเพียรผิด
ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อความที่ทรงแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ ลุ่มลึกทั้ง ๔ อริยสัจจะ แม้หนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้อริยสัจธรรมก็เป็นหนทางที่ลุ่มลึก เพราะว่าตราบใดที่ไม่เห็นโลภะ จะละโลภะได้อย่างไร เป็นไปได้ไหมคะ แต่ว่าถ้ารู้ว่า ขณะใดที่ไม่ใช่หนทางที่ถูก ขณะนั้นเพราะใคร