สุดยอดขุมทรัพย์
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้ขุมทรัพย์อีกนัยหนึ่งคำถามที่จะถาม ก็คือว่า พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ คืออะไร
ท่านอาจารย์ ทรัพย์ที่ประเสริฐยิ่งกว่าทรัพย์อื่นใด คือ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก หรือปัญญานั่นเอง เพราะว่าถึงแม้ว่าเราจะมีทรัพย์อื่น ก็ไม่สามารถที่จะพ้นจากความทุกข์ได้ อาจจะเป็นห่วง แล้วก็ยิ่งมีทรัพย์มาก ก็ยิ่งทุกข์มากก็ได้ แต่ถ้ามีปัญญามีความเห็นที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ละคลายอกุศล ค่อยๆ หมดไปจนกระทั่งไม่เกิดอีกเลยได้
ผู้ฟัง อันนั้นคือสุดยอดของขุมทรัพย์ที่เราเรียนพระธรรม แต่กว่าเขาจะเป็นขุมทรัพย์ อันนี้ซึ่งเราใฝ่หาด้วยฉันทะ ม่ใช่ด้วยโลภะ รู้สึกว่ามันยาก แล้วมันใช้เวลามากเหลือเกิน ก่อนที่จะถึงปัญญา ดิฉันอยากจะรู้จักพระธรรมตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า ศรัทธา เพราะว่าทุกคนที่มานั่งในที่นี้ต้องมีศรัทธามาตั้งแต่บ้าน แล้ว ไม่อย่างนั้นก็คงไม่มานั่ง แต่ว่าอยากจะเรียนถามอาจารย์ว่า จิตนี้เกิดดับทุกขณะ ศรัทธาคงจะไม่เกิดติดต่อกันทุกขณะ คงจะมี ๑ ขณะที่เป็นศรัทธา อีก ๑ ขณะที่อาจจะไม่มีศรัทธา นี่คือรู้จักสภาพธรรมที่ตัวเองรู้สึกอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทำไมบางครั้งเราก็อยากจะฟังธรรม บางครั้งเบื่อ ในขณะเบื่อ อกุศลจิตเกิด ศรัทธาไม่เกิด แล้ว ศรัทธาเขาไม่ได้เกิดตลอดไป แต่การที่จะฟังธรรม ก็ต้องมีศรัทธาก่อน
ท่านอาจารย์ ทุกคนมีกุศลมาก หรืออกุศลมาก
ผู้ฟัง อกุศลค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อยากฟังธรรมมาก หรืออยากสนุกสนานมาก
ผู้ฟัง คือที่ดิฉันพูด หมายความว่าทุกคนตั้งใจมาในที่นี้ ต้องมีศรัทธาก่อน แน่ๆ แต่ต้องยอมรับว่าในขณะที่มาฟัง บางทีก็ไม่อยากฟัง บางทีก็อยากฟัง อันนั้นในขณะที่ไม่อยากฟัง อกุศลจิตเกิด แล้ว ศรัทธาไม่มี แล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะว่าศรัทธาเกิดกับอกุศลจิตไม่ได้
ผู้ฟัง ไม่ได้ ใช่สิคะ แต่คำถามของดิฉันก็คือว่า เขาไม่ได้เกิดตลอด แต่เหตุใดเราถึงได้ใฝ่หาธรรมอยู่ตลอด เกือบจะว่าตลอดชีวิตของเราที่ก่อนจะจากโลกนี้ไป มีความรู้สึกอย่างนั้น แต่ มันค้านว่า ศรัทธาเขาไม่ได้เกิดตลอด แต่มันเกิดๆ ดับๆ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราไม่ได้มีกุศลอย่างเดียว เราก็มีอกุศลด้วย
ผู้ฟัง ต้องมีปัจจัยหลายอย่างด้วยใช่ไหม คือนอกจากสุขภาพของผู้นั้นเอง หรือว่าผู้แสดง หรือว่าสถานที่ ทำอย่างไรศรัทธาถึงจะมีกำลัง รู้สึกว่ากำลังมันน้อยเหลือเกิน แต่ก็อยากเรียนธรรมเป็นบางครั้งบางคราว อันนี้คือปัญหา
ท่านอาจารย์ ทุกคนเหมือนกันหมดค่ะ
ผู้ฟัง จาคะนี้ก็เป็นทรัพย์อีกตัวหนึ่งเหมือนกัน มันจะต่างกับทานอย่างไรคะ
ท่านอาจารย์ เป็นการสละกิเลส
ผู้ฟัง ทานก็สละ ในขณะที่เราให้ เราไม่มีความตระหนี่
ท่านอาจารย์ แต่หวังอะไรหรือเปล่าคะ การให้เพื่อวัฏฏะ หรือเพื่อวิวัฏฏะ
ผู้ฟัง เพื่อวิวัฏฏะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเพื่อวิวัฏฏะ ก็ไม่ได้หวังอะไรในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือภพชาติ
ผู้ฟัง แต่ก็ยังเดิมอีกนั้นแหละ มันเกิดขณะจิต
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องตรง คือขณะใดที่อกุศลเกิดก็เป็นอกุศล จะไปเปลี่ยนอกุศลที่เกิดให้เป็นกุศลไม่ได้ ให้รู้ความจริงว่า ไม่มีใครอยากมีอกุศลเลย แต่เมื่อมีปัจจัย อกุศลก็เกิด เป็นของธรรมดาของปัจจัย เมื่อมีก็ต้องเกิด
ผู้ฟัง แต่มันก็ต้องมีกำลังอีก ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ สะสมไปเท่านั้นค่ะ
ผู้ฟัง จาคะมันยาก มันจะออกวัฏฏะ ในขณะที่ให้ จิตเป็นกุศล ในขณะนั้นไม่ใช่เรา ในขณะที่จิตเป็นกุศล เราให้จริงๆ คือสภาพจิตตอนนั้นเขาทำงานของเขา จิตจึงเป็นกุศล ถ้าเราทำ แล้ว เราจะเป็นโลภะทันที แต่หลังจากที่ดับไป แล้ว มันจะเป็นเราทันที มันสลับกัน
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะหมดความเป็นเรา
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ คือกระผมมีปัญหา ยกตัวอย่าง ขณะนี้ ผมกำลังได้ยินเสียง แล้วรู้ด้วยว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร รู้ความหมายว่า ใครพูด แต่ว่าเท่าที่ฟังผมก็รู้ว่า ขณะที่รู้ว่าเสียงเป็นรูป แต่ว่าขณะที่ได้ยินรู้ว่า มันเป็นนาม แต่เป็นนามธรรม แต่ว่าผมก็ไม่เข้าใจโดยละเอียดว่า ที่จะให้เข้าใจว่า เป็นธรรม อย่างที่ท่านอาจารย์พูด มันเป็นอย่างไร คือต้องการความละเอียด หรือขยายความให้ผมเข้าใจบ้าง
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นความตรง คือขณะนี้เราเพียงได้ยินคำว่า “นาม” ได้ยินคำนี้ แล้วรู้ว่าไม่ใช่รูป เพราะเหตุว่าต่างกันมาก รูปไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แต่ว่ามีสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมองไม่เห็นเลย ไม่มีรูปร่างสัณฐาน แต่เป็นสภาพธรรม ที่เมื่อเกิดขึ้น แล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏให้รู้ เช่นในขณะนี้ ถ้าเราจะลืมอย่างอื่นหมดเลย เห็น มีแน่นอน ไม่ต้องคิดถึงรูป ไม่ต้องคิดถึงเรา ไม่ต้องคิดถึงอะไรเลย แต่ธาตุชนิดนี้สามารถ ขณะนี้ ที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือในขณะนี้ก็เป็นธาตุที่เกิดขึ้นได้ยินเสียง แล้วก็ดับ มีปัจจัยที่จะให้เกิดได้ยิน เพราะเป็นสภาพรู้ ก็ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาคือเห็นในขณะนี้ หรือว่าจะได้ยินเสียง รู้เสียง ลักษณะของเสียงก็ต่างๆ กัน
เพราะฉะนั้น สภาพรู้นั้นสามารถที่จะรู้ความต่างของเสียง คือรู้แจ้งในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ จะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ก็มีกลิ่นหลายกลิ่น แล้วธาตุนี้ก็สามารถที่จะรู้ทุกกลิ่นที่กระทบกับฆานปสาท หรือรูปที่สามารถกระทบกลิ่นได้ ทางลิ้นซึ่งทุกคนก็เพิ่งจะผ่านการรับประทานอาหารมา ขณะที่กำลังรับประทาน รสต้องปรากฏ แน่นอน แล้วก็มีสภาพที่รู้รส คือ ลิ้มรสที่หวาน ลิ้มรสที่เปรี่ยว ที่เค็มต่างๆ ขณะนั้น ซึ่งรสก็ไม่ได้มีรูปร่างสัณฐานใดๆ ปรากฏเลย แต่ธาตุชนิดนี้สามารถลิ้มลักษณะของรส ที่กำลังปรากฏเมื่อกระทบกับลิ้น นี่ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งทางกายในขณะนี้ก็มีธาตุรู้ซึ่งกำลังรู้สิ่งที่กระทบกาย