รู้ความต่างของขณะที่สติเกิดกับหลงลืมเมื่อเจ็บ
ผู้ถาม ความเจ็บเมื่อเกิดขึ้น แล้วเราก็ระลึกได้ อันนี้ก็คือไม่ใช่สภาพธรรมแล้ว เจ็บขาหรือเจ็บท้อง อันนี้ก็ยิ่งไกลต่อสภาพความเป็นปรมัตถธรรม จริงๆ แล้วลักษณะที่เป็นไม่ต้องคิดออกมาเป็นคำเลยใช่ไหม
สุ. อดคิดไม่ได้นี่แน่นอน แต่ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคงว่าจิตนี่เกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะๆ ที่กำลังมีลักษณะเจ็บปรากฏถูกต้องไหม ต้องมีเจ็บปรากฏ ปกตินี่คิดหรือเปล่าว่าเราเจ็บ
ผู้ถาม จริงๆ เจ็บก่อน
สุ. ยังไงก็ตามแต่ ธรรมนี่เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ไปทำให้เป็นอย่างอื่นเลย แต่ว่าเป็นเรื่องจริงที่ว่าใครๆ ก็ตามที่เกิดเจ็บขึ้นมา เกิดความคิดว่าเราเจ็บหรือเปล่า คิดหรือเปล่า เจ็บก็คือเจ็บ ไม่เห็นมีใครคิดว่าเรากำลังเจ็บใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่กฏเกณฑ์ที่ให้มาคิดว่าเรากำลังเจ็บหรือไม่ใช่เราที่กำลังเจ็บ แต่ลักษณะเจ็บไม่ใช่เรา ปัญญาที่จะอบรมคือรู้ในสภาพที่เจ็บ ลักษณะนั้นปรากฏเหมือนกับขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตากำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเมื่อเจ็บเกิดขึ้นกำลังปรากฏ ลักษณะที่เจ็บเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย โลภะจะพยายามให้เป็นอย่างอื่น แต่ถ้าเป็นปัญญาที่มั่นคง ขณะที่ลักษณะที่เจ็บปรากฏ จะรู้ความต่างของขณะที่สติเกิดกับหลงลืมสติ ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป สำหรับผู้ที่เข้าใจธรรม เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ถ้าไปเข้าใจว่าเป็นเรื่อง ที่จะต้องปฏิบัติ ต้องคิดอย่างนี้ จะต้องทำอย่างนี้ นั่นคือผิด แต่ถ้ามีความเข้าใจว่าเจ็บมี กำลังปรากฏเป็นธรรมดา รู้ตรงลักษณะที่เจ็บด้วยสติสัมปชัญญะหรือรู้โดยสติสัมป ชัญญะไม่เกิด นี่คือขั้นแรก การที่จะค่อยๆ เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรมก็คือรู้ความต่างของขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิดว่าเจ็บๆ ไปคิดไป แล้วแต่ว่าจะไปหายา หรือไปหาหมอ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าเวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด ไม่ต่างจากเจ็บที่ปรากฏแล้ว แต่ขณะนั้นรู้ว่าสติกำลังรู้ตรงลักษณะนั้น นี่คือเริ่มเข้าใจธรรม แล้วก็เห็นธรรมที่กำลังปรากฏโดยการเริ่มเข้าใจว่าลักษณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ต้องไปเตรียมทำอย่างอื่น
ที่มา ...