พหูสูตคืออย่างไร


    พหูสูตไม่ใช่การจำโดยไม่เข้าใจพระธรรม แต่คือความเข้าใจถูกพร้อม ความทรงจำในฟังพระธรรมที่จะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา


    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจ จำเท่าไร จะเป็นพหูสูตได้ไหม ท่องพระไตรปิฎกได้ทั้งเล่ม แต่ไม่เข้าใจเลย แล้วจะเป็นพหูสูตได้ไหม

    อ. วิชัย เป็นไปไม่ได้เลยครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ได้สำคัญ ที่ไปจำโดยไม่เข้าใจ แต่ว่าพหูสูตต้องเป็นผู้ที่ฟังพระธรรม แล้วเข้าใจ ฟังมากจริง แต่ไม่เข้าใจเลย กับฟังแต่ละคำ แล้วเข้าใจแต่ละคำ แล้วก็เวลาได้ฟังอีก เพิ่มขึ้น ก็สอดคล้องกันทั้งหมด เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นชื่อ จะไปเรียกใครว่าเป็นพหูสูต หรือว่าต้องจำไว้ก็ไม่ใช่ แต่ต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจแล้ว ที่จะไม่จำ เป็นไปได้ไหม เพราะเหตุว่าสภาพจำเกิดกับจิตทุกขณะ แม้แต่โมหะมูลจิต ซึ่งมีอวิชชาเกิดร่วมด้วย มีโมหะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีกิเลสอื่นเกิดร่วมด้วย ก็ยังมีสัญญาเจตสิกที่จำ

    เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องจำ จำไม่ใช่เรา แต่ว่าจำ แล้วเข้าใจหรือเปล่า หรือว่าไม่เข้าใจแต่ก็จำ แต่ถ้ามีความเข้าใจ ขณะนั้นก็จะไม่ลืม อย่างเดี๋ยวนี้สิ่งที่มีกำลังปรากฏในขณะนี้ มีจริงๆ ก็ลืมแล้ว พูดเรื่องอื่นทั้งหมดเลย แล้วก็เห็นอะไร มาอีกแล้ว เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ทรงจำไว้หรือเปล่า ขึ้นอยู่กับว่าความเข้าใจแค่ไหน ถ้าความเข้าใจน้อยมาก แค่ได้ยินแล้วก็ลืม กับการที่ไม่ลืม พิจารณาบ่อยๆ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น มีหรือที่เวลาเห็นแล้ว จะไม่รู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เมื่อนั้นจึงสามารถที่จะละคลาย การที่เคยยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นการฟังธรรมทั้งหมด ต้องไม่ลืมว่า เพื่อเข้าใจ

    อ. วิชัย พระองค์ทรงแสดงเรื่องเหตุ ให้เกิดปัญญาครับ ที่กล่าวถึงความเป็นพหูสูตแล้วก็ทรงจำสุตตะไว้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแค่นี้ เราก็ต้องเข้าใจ พหูสูตไม่ใช่เพียงฟัง เยอะๆ จำมากๆ แต่ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจแต่ละคำ

    อ. วิชัย แล้วก็มีข้อความที่ว่า แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ยังแทงตลอดไม่ได้เลย เพราะว่าลืมแล้ว เห็นขณะนี้ก็ลืมแล้วว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แล้วไปแทงตลอดได้อย่างไร เพราะฉะนั้นก็รวบรัดสำหรับกว่าที่ปัญญาจะค่อยๆ เป็นอย่างนั้นได้ จากการที่เป็นพหูสูตคือฟังแล้วก็เข้าใจขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจแต่ละคำจริงๆ เช่น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แค่คำเดียว รูปารัมณะ วัณโณ สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้จำไว้แค่ไหน ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แค่ได้ยิน พอถาม เคยได้ยินแล้ว เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แล้วก็วันนั้นก็หายไปเลย สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ คำนี้ก็หายไป มีแต่คน มีแต่สิ่งของ มีแต่เหมือนเดิมทุกอย่าง

    เพราะฉะนั้นแทงตลอดอย่างไรได้ ในเมื่อแค่นี้ก็ลืมแล้ว เพราะฉะนั้นคนนั้นเป็นผู้ตรง ในความเข้าใจความหมายของคำว่าพหูสูต ในความหมายของคำว่าทรงจำธรรม ไม่ใช่ไปจำชื่อ แต่เพราะเข้าใจ แล้วไม่ลืม เพราะฉะนั้นเวลาเข้าใจแล้วไม่ลืม ไม่ต้องพูดสักคำ แต่สามารถที่ปัญญาขณะนั้น เข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏได้ เพราะฉะนั้นเรื่องแทงตลอด คงยังไม่ต้องพูด เพราะเหตุว่าต้องเป็นผู้ที่ตรง ว่ากำลังเป็นผู้ที่ฟังพระธรรมด้วยความเคารพ ว่าลึกซึ้ง

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงแต่จำ แต่รู้ว่าทุกคำมีจริงๆ ในขณะนี้ ที่สามารถที่จะรู้ว่าถูกต้อง เป็นจริง แต่ปัญญายังไม่สามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนั้นได้ เพราะเห็นทีไร ก็ลืมไปแล้ว ว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ จนกว่าไม่ลืม และคนนั้นก็เป็นผู้ที่ตรง ไม่ลืมเพราะอะไร จำ พูดถึงบ่อยๆ คิดถึงบ่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งผู้นั้นเป็นผู้ที่รู้ตัวเองว่า สัจจญาณ ปัญญาที่รู้ความจริง มั่นคงขนาดไหน เพราะเห็นทุกวัน และก็ได้ยินอีก เป็นการเตือน

    เพราะฉะนั้นพระธรรมทั้งหมดเพื่อเตือน สิ่งที่มีอยู่ขณะนี้ แล้วแต่ว่าจะทรงเทศนาถึงสภาพธรรมโดยนัยหลากหลายอย่างไร แต่ละข้อ เช่น ปัญญาสูตร แล้วก็มีสูตรอื่นๆ ด้วย แต่ทั้งหมดก็เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ โดยนัยต่างๆ เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะตรัสทุกคำไว้ในพระสูตรเดียว แต่ว่าแต่ละสูตรหลากหลายโดยที่ว่า เมื่อกล่าวถึงที่จะให้เข้าใจสิ่งใด ก็เน้นกล่าวถึงสิ่งนั้น เพราะว่าสิ่งอื่นก็มี แล้วจะให้กล่าวอย่างไรหมด เพราะฉะนั้นก็เป็นแต่ละสูตรไป

    อ. วิชัย เป็นเราที่จะขวนขวายพยายาม โดยขณะนั้นก็ไม่รู้ตัว

    ท่านอาจารย์ พยายามอย่างไร

    อ. วิชัย เช่นขวนขวายที่จะให้รู้ แล้วก็ทรงจำได้มาก

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ พยายามอย่างไร ขวนขวายอย่างไรจะให้รู้ หมดปัญญา ลองสิ ลองพยายามขวนขวายที่จะให้รู้สิ เป็นไปได้ไหม เพราะฉะนั้น ขณะนั้นพยายามขวนขวายที่จะรู้ ด้วยความเป็นเรา แอบไว้สนิทเลย โลภะกับความเห็นผิด เหมือนจะดี แต่ความจริงเป็นอกุศล เพราะไม่มีปัญญา ที่จะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นหน้าที่ของปัญญา ความเห็นถูก โดยการเข้าใจถูก จากการฟัง แล้วไตร่ตรอง ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ไม่ผิดเลย ถ้าไตร่ตรองแต่ละคำ อย่างธรรมนี้ มั่นคง ไม่ใช่อยู่ในหนังสือ แต่ว่ามีจริงๆ กำลังปรากฏ แต่แม้ฟังอย่างนี้ก็ยังไม่รู้ในความเป็นธรรม ของสิ่งที่ปรากฏ

    นี่คือความลึกซึ้งที่ว่า ไม่ใช่เพียงฟังแล้วไปจำ และคิดว่าเราต้องพยายาม ที่จะไปรู้อย่างนั้นอย่างนี้ แต่แม้การที่จะรู้ว่า แม้ได้ยินคำว่าธรรม แต่สิ่งที่ปรากฏก็ไม่ได้ปรากฏ ในความเป็นธรรม ปรากฏโดยความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสมอมา แม้ในขณะที่กำลังฟังธรรม เพราะฉะนั้นกว่าจะมีความเข้าใจจริงๆ ในแต่ละคำได้ ก็คือว่า กว่าจะมั่นคงว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นหลงทางได้ง่ายมาก ด้วยความเป็นเรา เช่น จะพยายามขวนขวายให้รู้ธรรม หรือจะให้เข้าใจธรรม เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีปัญญา แล้วอะไรจะไปทำกิจของปัญญา ไม่รู้จักปัญญาด้วย มีแต่ความเป็นเรา


    หมายเลข 10472
    18 พ.ค. 2567