ใครๆ ก็ชอบเพื่อนดี
ทุกคนชอบที่จะมีเพื่อนดี เพื่อนที่มีความปรารถนาดี ดังนั้นจึงควรสะสมจิตใจที่ มีความเมตตาไม่ว่าจะกับใคร และควรปลูกฝังสร้างเสริมความเข้าใจในเหตุใน ผลคุณความดีให้กับเยาวชนตั้งแต่ต้นอย่างถูกต้อง
ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ เยาวชนหรือสูงวัย ต้องการเพื่อน ต้องการมิตร แต่ต้องเป็นมิตรที่เข้าใจ แล้วก็หวังดี ถ้าใช้คำว่าเพื่อนดี ก็จะถามเด็ก และคุณสมบัติของเพื่อนดีมีอะไรบ้าง เปิดพระไตรปิฏก ดูสิ อะไรต่างๆ แค่เป็นผู้ที่หวังดีต่อคนอื่นไม่หวังร้าย รู้ไหมนั่นคือความหมายของคำว่ามิตร ถ้าเป็นมิตรกันจะไม่มีหวังร้ายต่อกันเลย ถ้าโกรธเมื่อไหร่ไม่ใช่มิตรเมื่อนั้น ถ้าหวังร้ายแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ใช่มิตรแน่นอน เพราะฉะนั้นธรรมเป็นธรรมที่ละเอียดจริงๆ แม้แต่มิตรความเป็นเพื่อน ถ้าแข่งดีเมื่อไหร่ไม่ใช่มิตรเมื่อนั้น ถ้าริษยาเมื่อไหร่ก็ไม่ใช่มิตรเมื่อนั้น ถ้าต้องการชนะเมื่อไหร่ก็ไม่ใช่มิตรเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่ามิตร คือความหวังดีพร้อมที่จะเกื้อกูล ถ้าหวังดี แล้วนั่งเฉยๆ เขาก็ลำบาก มาก แล้วก็ไม่ช่วยเลย เป็นอย่างไร หวังดีหรือไม่
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่กฎเกณฑ์ เราจะต้องมานั่งอ่านพระไตรปิฏกบอกมาว่า ๑๐ ข้อ ๑๕ ข้อ เราก็ต้องค่อยๆ ประพฤติไปทีละข้อๆ แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องของความเข้าใจ เป็นเรื่องของความเห็น ชีวิตของแต่ละคน ปกติอะไรนำไป โลภะความไม่รู้นำไปในกิจทั้งปวง เมื่อไหร่ที่ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญานำไปในกิจทั้งปวง ไม่ว่าจะพูด จะทำ จะคิด แม้เสียงด้วยความหวังดี ก็ต้องต่าง เพราะมาจากใจที่หวังดี บางคนคุ้นเคยกับการใช้เสียงแข็งกับคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา คนในบ้าน ดุ แล้วเป็นประโยชน์อะไรคะ ขณะนั้นก็ทำร้ายตัวเองแล้ว และยังทำร้ายคนฟังด้วย ไม่ใช่มิตรแน่
เพราะฉะนั้นมิตรต้องเป็นใจที่เป็นมิตรที่หวังดีจริงๆ พร้อมที่จะเกื้อกูล เพราะฉะนั้นรู้ได้เลย ใครเป็นมิตรเมื่อไหร่กับใคร เด็กต้องการมิตรหรือไม่ กับผู้ใหญ่ต้องการมิตรหรือไม่ ใครๆ ก็ต้องการมิตรไหม คนเลวต้องการมิตรไหม คนเลวก็ต้องการ เห็นไหมคะ แล้วเราจะจำกัดไหมว่าจะเป็นมิตรแต่เฉพาะคนดี คนเลวไม่ต้องไปเป็นมิตรด้วย
ข้อความในพระไตรปิฏก แต่ต้องชัดเจนไม่ครบถ้วน ไม่คบคนพาล แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เมตตาเขา ไม่เมตตาเขานี่มีประโยชน์อะไร ใจขณะนั้นเดือดร้อน และเขาก็เดือดร้อน คนพาลน่าสงสารไหม เพราะฉะนั้นเมตตามีประมาณไหม ธรรมที่ไม่มีโทษทั้งหลายไม่มีประมาณ ไม่ใช่แบบเมตตาเฉพาะคน เฉพาะครอบครัว วงศาคณาญาติ มิตรสหายหรือคนดี แต่ไม่มีประมาณ ยิ่งเมตตาเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น คนอื่นจะไม่ได้รับภัยจากเราเลย เป็นสุขไหมสำหรับเขา และเราเองขณะที่เมตตาสบายที่สุด ไม่เดือดร้อนเลย เขาร้ายก็เป็นธาตุที่สะสมมา ใครก็เปลี่ยนแปลงธาตุนั้นๆ ไม่ได้ แสดงให้เห็นทั้งกาย ทั้งวาจา ว่านั่นแหละธาตุที่สะสมมา บอกแล้วว่าธาตุ ธรรม อนัตตา ลืมไปได้อย่างไร ก็ลืมไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีความเข้าใจ ความเข้าใจค่อยๆ ไปชำระล้างอกุศลที่จะให้บริสุทธิ์ได้ จนกระทั่งสามารถดับไปตามประเภทๆ ตามลำดับขั้นก็ต้องอาศัยคุณความดี ไม่ใช่ว่าความไม่ดีจะไปละความไม่ดีได้
เพราะฉะนั้นเด็กก็ต้องการเป็นมิตรที่ดีใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราตั้งหน้าตั้งตามาเข้าแถวฟังสวดมนต์แต่ไม่รู้เรื่องแล้วมีประโยชน์อะไร แต่ผู้ใหญ่หรือครูอาจารย์สามารถเป็นมิตรหวังดี กับนักเรียนของตนได้ไหม เพราะเหตุว่านักเรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฐานะไม่เหมือนกัน วงศาคณาญาติไม่เหมือนกัน การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่เหมือนกัน การสะสมมาของเขาแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเราจะให้ไปทำอะไร ไม่รู้แล้วก็เที่ยวไปนั่งบอก และเขาก็ไม่สามารถที่จะรับอะไรได้ ก็เป็นเพราะไม่เข้าใจในความเป็นมิตร ถ้าด้วยความเป็นมิตร ชั่วโมงศีลธรรม จริยธรรม ก็เป็นชีวิตตามปกติธรรมดาเป็นการอบรมของส่วนโรงเรียนที่จะได้รู้ว่าใครชื่ออะไร รู้จักกันไหม รู้ไหมว่าเขามีพี่น้องกี่คน หรือแม้แต่ตัวเขาแต่ละคนวันนี้ทำความดีอะไรบ้างหรือเปล่า มีอะไรที่ทำให้พ่อแม่สบายใจ หรือไม่ ไหว้พ่อแม่บ้างไหม ค่อยๆ สอนให้เขาเห็น ให้เข้าใจ ให้เขาประพฤติตั้งแต่เยาว์วัยในสิ่งที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน นั่นคือธรรมะที่ค่อยๆ แทรกเข้าไปในความเป็นจริงว่าทั้งหมดเป็นอนัตตา ถ้าทำไม่ดีผลคืออย่างไร ถ้าทำดีผลคืออย่างไร เพื่อนฝูงก็มี ใครชอบคนไหน ไม่ชอบคนไหน เพราะอะไร ประโยชน์มากกว่าการที่จะสวดมนต์ แต่ก็ไม่เข้าใจอะไรเลย