รู้สภาพธรรมไม่ใช่รู้ชื่อ


        สภาพธรรมแต่ละอย่าง มีลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ โดยไม่ต้องเรียกชื่อ ดังนั้นการรู้ตรงลักษณะสภาพธรรม จึงไม่ใช่การคิดถึงชื่อธรรม


        อ.อรรณพ ความสงสัยในเรื่องของสภาพธรรมถือว่าเป็นความสงสัยในสภาพธรรม

        ท่านอาจารย์ เพราะไม่เข้าใจธรรม เรียนมาตั้งนานมากมาย แต่เวลาธรรมเกิดไม่เข้าใจ ทำไมเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่

        อ.อรรณพ เรียนมาก็ ๗ ประเภท

        ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี้กำลังเห็น เข้าใจหรือไม่ มีแต่ชื่อ ทำไมไม่เรียนธรรมจริงๆ แทนชื่อ มีใครบ้างไหมที่ไม่เคยไม่สบายใจ ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่สบายใจมีแน่นอน แต่ไม่ใช่เรา มีใครบ้างไหมที่ไม่โกรธ ไม่มี แต่เวลาโกรธไม่รู้ว่าเป็นธรรม รู้จักแต่โทสะมูลจิต มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ แต่เวลาที่กำลังโกรธ ตัวจริงเลย ไม่รู้จักเลย เป็นเราทั้งหมด การศึกษาอย่างนี้จะทำให้เข้าใจธรรมหรือไม่ ไม่ว่าเรื่อง สมมุติว่าลืมกุญแจอะไรก็แล้วแต่ คนทั้งโลกแต่ละหนึ่งไม่เหมือนกันเลย คนนี้ลืมกุญแจ คนนั้นลืมของใช้ สารพัดอย่าง แล้วเราจะตอบเรื่องอะไร หรือว่าจะให้เขาเข้าใจ ว่าธรรมะนี่มีจริงๆ แล้วมีตลอดเวลาด้วย แล้วก็ไม่ต้องเรียกชื่อ เพราะอะไร ยังไม่ทันเรียกชื่อเลย ลักษณะนั้นก็ดับแล้ว เกิด จริง ปรากฏจริง ให้รู้ว่าเป็นอย่างนั้นจริง แต่สั้นมาก แล้วก็ดับไปจริงๆ แล้ว พอได้ยินคำอะไรก็ตามแต่ ส่วนใหญ่เราเรียนธรรมภาษาบาลี แต่เราไม่ได้เข้าใจ จำชื่อ ทำไมจะต้องเรียกว่ากุกกุจจะ วันนี้เรามีกุกกุจจะ หรือไม่ มีกี่ครั้งกุกกุจจะ วันนี้เท่าไหร่ ก็เลยไม่ต้องมีภาษาไทย แล้วจะเข้าใจธรรมได้อย่างไร เพราะมัวแต่คิดถึงคำว่ากุกกุจจะ แค่คิดคำว่ากุกกุจจะ ก็ไม่มีธรรมแล้ว เพราะขณะนั้นเป็นคำที่คิดว่ากุกกุจจะ กว่าจะเข้าใจได้จริงๆ ว่า ศึกษาธรรม ถ้าเป็นคนไทยก็ศึกษาในภาษาไทย ถ้าเป็นชาวมคธ ครั้งโน้นเขาก็ฟังธรรมในภาษามคธี ใครอยู่ประเทศใด ก็ใช้ภาษานั้นๆ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เมื่อเสียงมาสู่คลองของโสตะ ควรศึกษาให้เข้าใจในภาษาของตนๆ ชัดเจน ไม่สบายใจก็รู้ โกรธก็รู้ หงุดหงิดก็รู้ รำคาญมีไหม แค่รำคาญ มีคำตั้งหลายคำ แสดงให้เห็นว่าความไม่สบายใจมีหลายอย่าง ไม่ใช่มีแต่โกรธอย่างเดียว แม้รำคาญก็เป็นความไม่สบายใจแล้วใช่ไหม เพิ่มขึ้นไปอีกหน่อยก็หงุดหงิด รำคาญมากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ทั้งหมดจะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อ สภาพธรรมนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ไม่ใช่เรา ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าไม่ต้องไปจำว่านามธรรม เจตสิกหรืออะไร แต่ลักษณะของสภาพธรรมนั้นต่างหากที่แสดงว่าเป็นอะไร เช่นลักษณะที่แข็งไม่ต้องไปนึกถึงคำว่ารูปธรรม แข็งเป็นแข็ง แข็งเป็นอื่นไม่ได้ เพราะขณะนั้นไม่ใช่สภาพที่กำลังรู้แข็ง ถ้าไม่เข้าใจในขณะนั้นจะมีประโยชน์อะไร ที่เราจะกล่าวถึงว่า ธรรมทั้งหมดก็มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยก็อย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีธาตุรู้หรือธรรมะที่เกิดขึ้นรู้ อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ คือฟังให้เข้าใจจริงๆ จนถึงเดี๋ยวนี้ ฟังคำนี้ เดี๋ยวนี้ก็คือเข้าใจเดี๋ยวนี้ว่า ถ้าไม่มีธาตุรู้ อะไรก็ไม่ปรากฏ ก็แสดงเห็นว่า เราไม่ต้องไปจำคำอื่น แล้วถ้าสมมุติว่าเราเกิดรำคาญพูดซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆ บางคนก็อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ ไม่เห็นประโยชน์ และพูดเพื่ออะไร ถ้าไม่พูดก็คิดถึงเรื่องอื่น แต่ถ้าพูดคำนี้ได้ยินคำนี้ ยังเป็นโอกาสที่จะคิดถึงคำนี้ให้เข้าใจได้ พูดบ่อยๆ เพื่อให้ไม่ลืม แต่บางคนก็รำคาญ เห็นมีจริงเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เป็นขณะที่เพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น ไม่รู้เลยว่ายิ่งฟังเท่าไหร่ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยมากขึ้น นั่นแหละ จะทำให้สามารถถึงเฉพาะเห็นด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ สะสมมาทีละเล็กทีละน้อย ธรรมทั้งหมดเป็นอย่างนี้ หลากหลายแม้แต่ความรำคาญใจ ภาษาอื่นจะใช้คำอะไรก็ตามแต่ แต่ว่าเคยไหม ไม่เรียกได้ไหม โลภะมีกี่ชื่อ จะเอาหมดไหม ถ้ารู้ให้หมดเลย หลากหลายปานนั้น แล้วจะเอาคำอะไรมาเรียกโลภะได้ แค่อาสา ก็เป็นโลภะ ราคะ ตัณหา นันทิ มีอีกมากเลย สิเนหา ยางใย ใยสักเท่าไหร่ก็ยังไม่ขาด เพราะเหนียวมาก ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราสามารถที่จะรู้จักความจริงของธรรมไม่ใช่เพียงจำชื่อ แล้วก็มานั่งคิด ว่านี่เป็นนี่หรือเปล่า นั่นเป็นนั่นหรือเปล่า นี่เป็นกุกกุจจะหรือเปล่า จะเป็นหรือไม่เป็นก็คือรำคาญใจ เกิดแล้วดับแล้ว แล้วข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าไม่ใช่ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เพราะต้องมีการรู้ จึงรำคาญ ลักษณะของสภาพที่เป็นจิตก็เป็นจิต ลักษณะสภาพของเจตสิกก็เป็นเจตสิก เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้

        อ.อรรรพ ความต่างของสภาพธรรมที่เป็นโทสะกับสภาพธรรมเดือดร้อนรำคาญใจที่ไม่ใช่ตัวโทสะโดยตรงในขั้นการฟังการพิจารณา สมควรอย่างไร

        ท่านอาจารย์ คุณอรรณพเคยน้อยใจหรือไม่

        อ.อรรรพ ก็มี

        ท่านอาจารย์ ทำไมรู้

        อ.อรรรพ ก็เกิด

        ท่านอาจารย์ ขณะนั้นชอบไหม

        อ.อรรรพ ไม่ชอบ

        ท่านอาจารย์ ตกลงรู้จักน้อยใจ

        อ.อรรรพ ครับ

        ท่านอาจารย์ เดือดร้อนใจรู้ไหม

        อ.อรรรพ ก็รู้

        ท่านอาจารย์ ก็มีจริงๆ ใครก็รู้ แล้วก็ขณะที่ความเดือดร้อนใจกำลังปรากฏ แต่ไม่รู้ตอนนั้น มารู้ตอนพูดถึงชื่อ แล้วจะมีประโยชน์ไหม

        อ.อรรรพ แต่จากชื่อ จะเป็นประโยชน์ให้เข้าใจตัวธรรมะได้อย่างไร

        ท่านอาจารย์ ถ้ายังงั้นจำไว้เลย เดือดร้อนใจ พอเดือดร้อนใจรู้ไหมว่าเดือดร้อนใจไม่ใช่เรา แค่จำชื่อก็ไม่รู้ ก็หาคำตอบเองดีที่สุด เพราะฟังแล้ว แล้วก็มีคำที่เข้าใจได้ แต่สภาพธรรมะขณะนั้นไม่ได้ปรากฏ แต่เมื่อเข้าใจแล้วเวลาที่สภาพธรรมะนั้นปรากฏก็เข้าใจ ความเข้าใจต้องเข้าใจว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ได้ฟังคำที่จริง แล้วก็รู้ว่าคำนั้นไม่ได้กล่าวเลื่อนลอย ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี แต่คำจริงทุกคำเป็นคำจริง เพราะพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ เพื่อให้เข้าใจความจริงก็ต้องเข้าใจด้วย ฟัง และพูดเพื่อให้เข้าใจความจริงที่มีจริงๆ


    หมายเลข 10763
    8 มี.ค. 2567