บางครั้งทรงใช้คำว่าสัญญาแทนจิต


    บางครั้งทรงใช้คำว่าสัญญาแทนจิต อย่างเช่น เนวสัญญา นาสัญญายตน ยกสัญญาขึ้นมากล่าว หรือว่าบางแห่งก็จะกล่าวถึงภพภูมิต่างๆ ภพภูมิที่มีสัญญา ไม่มีสัญญา เป็นต้น เพราะว่าเราลืมความสำคัญของคำว่าสัญญาเจตสิก จริงๆ แล้วสภาพธรรมทั้งหมดเป็นธรรมที่ละเอียดมาก และก็วิจิตรมาก คนที่ได้ฟังธรรมแล้วจะกี่นาทีก็ตามวันนี้ รู้หรือเปล่าว่าสัญญาจำ แต่ว่าจำได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพของเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ถ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น สัญญาก็ค่อยๆ จำถูกต้องขึ้น เห็นถูกต้องขึ้น แต่ว่าเครื่องพิสูจน์ก็คือว่าพอพ้นจากห้องนี้ไป ห้องที่ฟังธรรม สัญญาอะไรเกิด รวดเร็วมาก และก็จะมาคิดว่าทำไมสติปัฏฐานไม่เกิด ทำไมไม่ระลึกถึงธรรม ทำไมไม่เข้าใจถูกเห็นถูก ก็สัญญาจำอะไรไว้มากๆ เหลือเกิน เช่นวันนี้เดี๋ยวนี้ถามว่าเห็นอะไร ก็ตอบว่าเห็นคน ก็คือความชำนาญของสัญญาซึ่งจำไว้แสนโกฏิกัปป์ เพราะฉะนั้นจะมีสัญญาที่จำไว้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏมีจริงๆ เป็นลักษณะที่มีจริงชนิดหนึ่งเท่านั้น กว่าสัญญานี้จะมั่นคงที่จะทำให้มีการระลึกได้ว่าลักษณะของธรรมแต่ละประเภทเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรมอย่างหนึ่งแน่นอนแต่ละอย่าง เสียงที่กำลังปรากฏทางหูก็เป็นธรรมอีกอย่างหนึ่งแต่ละอย่าง เมื่อไหร่จะมีสัญญาที่มั่นคงที่จะจำความเป็นธรรมของสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ ที่ได้ยินได้ฟังตั้งแต่เริ่มฟังธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม นี่สัญญาจำไว้แค่ไหน นิดเดียว เพียงแต่จำเรื่อง แต่ว่าตราบใดที่ยังไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นแต่เพียงว่ากล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ขณะนี้เป็นธรรมหรือยัง นี่ก็แสดงให้เห็นว่ากว่าสัญญาจะค่อยๆ อบรมสะสมเป็นปกตูนิสสยปัจจัยจนกระทั่งให้ผู้นั้นสามารถที่จะระลึกถึงเพราะสัญญาเกิดขึ้น และก็จำได้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้การฟังพระธรรมต้องเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็เข้าใจทุกอย่าง ไม่ว่าจะพูดเรื่องรูปเป็นรูปขันธ์ เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ ก็จะผ่านไปโดยที่ไม่คิดถึงความสำคัญของแต่ละอย่างซึ่งขณะนี้ก็เป็นอย่างนั้นโดยไม่รู้ เพราะเหตุว่าถ้าขณะใดกุศลจิตไม่เกิด อกุศลก็เป็นมูลที่จะให้จิตขณะนั้นเป็นอกุศลประเภทต่างๆ สะสมไปแล้วก็จะรู้ความจริง นี่คือความจริงที่สุด ฟังแล้วก็พิจารณาด้วยว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211


    หมายเลข 10780
    31 ส.ค. 2567