รากเป็นพิษแต่ยอดหวาน
ความโกรธเป็นอกุศลที่ประทุษร้ายจิต แต่ด้วยความไม่รู้ในโทษของความโกรธ จึงยังมีความพอใจที่จะโกรธต่อไป
อ.วิชัย พระธรรมเทศนาที่กล่าว ที่ว่าโทสะหรือความโกรธเป็นสิ่งที่มีรากเป็นพิษ แต่หยอดหวาน ก็ดูเหมือนกับว่า ถ้าศึกษาอภิธรรมโดยละเอียดก็จะรู้ว่าขณะที่ความโกรธเกิดขึ้น ก็มีความพอใจในความโกรธนั้นด้วย ก็จะเห็นที่ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างว่า แม้จะกล่าวพรรณนาโทษของความโกรธมากสักเท่าใดก็ตามแต่ บางบุคคลก็ยังพอใจที่จะโกรธได้ แต่ไม่รู้ว่าโทษทุกข์ภัยจากความโกรธนั้น มีโทษด้วย
ท่านอาจารย์ พูดถึงเรื่องทำร้ายใช่ไหม อย่างในพระสูตรนี้ ถ้าไม่อยากจะทำร้าย จะทำร้ายหรือไม่ คิดว่าดีใช่ไหมถึงอยาก ทุกคนที่ทำร้าย คิดว่าดี แล้วคิดว่าทำแล้วก็ดีด้วย จึงได้ทำ คิดว่าคนนี้ต้องตาย คิดว่าอย่างนั้น อยากให้เขาตายใช่ไหม คิดว่าดีที่คนนี้ตาย ถ้าคิดอย่างนี้ แล้วทำอย่างนี้ คิดว่าดีแล้วที่เขาตาย ก่อนจะฆ่า คิดว่าคนนี้ตายเสียก็ดีก่อนฆ่า แต่พอฆ่าแล้ว ก็ดีแล้วที่เขาตาย หวานไหม พอใจหรือเปล่าที่ได้ทำสิ่งนั้นสำเร็จ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นโทษ กับตนเอง
ธรรมนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก จะรู้ได้เลยว่าลึกซึ้ง ถ้าไม่มีความต้องการที่จะให้ประหารใคร หรือทำอะไรก็ได้ ทำร้ายใคร ก็ไม่ทำแน่ๆ จะไปทำร้ายเขาทำไม แต่พอคิดว่าคนนี้ควรจะตายเสีย หรือว่าทำร้ายคนนี้ด้วยประการใดๆ ก็ตามแต่ ขณะนั้นมีความพอใจที่จะกระทำ เมื่อทำแล้วก็ดีใจที่ได้กระทำ หวานมากเลย แต่โทษมาก
อ.วิชัย ความไม่รู้ ไม่รู้จริงๆ แม้แต่ความที่พอใจว่าเป็นทุกข์โทษ ในการที่จะกระทำประทุษร้ายบุคคลอื่น ก็ไม่เห็นทุกข์โทษภัยของสิ่งเหล่านั้นเลย
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นแล้วไม่หวานแน่ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุว่าเป็นโทษมาก แค่คิดร้ายก็โทษแล้ว และยังทำด้วย ทำแล้วยังพอใจที่ได้ทำสำเร็จด้วย
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ บางครั้งความรู้สึกไม่พอใจ ก็มีปัจจัยให้เกิดได้ ก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี คิดตาม แต่ว่าสิ่งนั้นก็ยังเกิดเป็นไปอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าต้องเป็นไปตามปัญญา ถ้ายังไม่ถึงการรู้ความจริง ถึงความเป็นพระอนาคามี ยังต้องโกรธ แต่สำหรับผู้มีปัญญา โกรธเกิดไม่ได้ทำร้ายใคร ทั้งกาย และวาจา ขณะนั้นก็ต่างกับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจธรรม ไม่ได้สะสมปัญญา พอโกรธก็วาจาออกไปเลย กายออกไปเลย แต่สำหรับคนที่ไม่โกรธ ไม่ได้ เพราะว่ายังไม่ใช่พระอนาคามี ก็รู้ตามความเป็นจริงว่า โกรธ แต่ก็ไม่ทำร้ายใครเลย ควรจะเป็นอย่างนั้นไหม เป็นไปเองตามการสะสม ไม่มีใครสามารถที่จะไปฝืนความคิดร้ายๆ ของใครได้เลย แต่ว่าเพราะมีการเห็นโทษ คิดร้าย ถ้าไม่หยุดไม่ยั้ง ก็กระทำสิ่งที่ร้ายต่อไปอีก คนที่มีปัญญา ห้ามความโกรธไม่ได้ รู้ว่าความโกรธเกิด แต่ปัญญามีพอที่จะไม่ทำร้ายใคร วาจาไม่กระทบกระเทือนใครเลย กายก็ไม่หวั่นไหวทางกายเลย เพราะปัญญาระดับหนึ่ง
อ.วิชัย ก็เห็นกำลังของโทสะ ก็ยังมีอยู่ แต่ว่ากำลังของปัญญาที่ค่อยๆ ที่จะเห็นว่า โทษภัยที่ถึงแม้จะมีความโกรธ แต่ว่าถ้าล่วงออกมาทางกาย วาจา ที่จะประทุษร้ายบุคคลอื่น ก็มีโทษมากกว่า
ท่านอาจารย์ เห็นคนที่เราก็รู้ว่าเขาโกรธ หรือเราก็โกรธ แต่เฉย ไม่กระทำต่อทางกาย ทางวาจา แต่ทั้งหมดเป็นไปได้ด้วยปัญญา กว่าปัญญาจะเข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย เป็นธาตุที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่ใช่ใคร เป็นอนัตตา แต่เป็นไปตามปัจจัย เพราะว่าต้องมีปัจจัยที่จะให้โกรธเกิด โกรธก็ต้องเกิด
อ.วิชัย บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลที่โกรธอยู่ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ โดยยาก ก็เหมือนประหนึ่งสงครามภายใน ระหว่างปัญญากับอวิชชา อย่างไหนจะมากกว่ากัน
ท่านอาจารย์ ต่อสู้กับกิเลสโดยไม่รู้ตัว โดยไม่ต้องตั้งใจ แต่การที่จะมีความเข้าใจถูกขณะนั้นที่เกิดขึ้น ก็ละความไม่รู้
อ.วิชัย ที่กล่าวว่า ถ้าบุคคลที่โกรธตอบบุคคลที่โกรธอยู่ ก็เป็นบุคคลที่เลวทรามกว่าบุคคลนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเรื่องไม่จบ เขาโกรธแล้ว เขาจบใช่ไหม แต่เราโกรธต่อไปอีก ก็ทำให้มีเรื่องโกรธกันมาก