ชีวิตที่ต่างกัน
ชีวิตคฤหัสถ์กับบรรพชิตมีความแตกต่างกันอย่างไร
พระธรรมเป็นความจริงสำหรับทุกคนหรือเปล่า ผู้ที่มีโอกาสได้ฟังธรรมในครั้งนั้นทั้งหมด ยังไม่พูดถึงท่านที่เป็นพระปัญจวคีย์ หรือว่าผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมแล้ว แต่พูดถึงคนทั่วไป ขณะนั้นฟังแล้วเข้าใจ แล้วก็สามารถที่จะเห็นประโยชน์ของการที่จะมีชีวิตที่สงบ ต่างกันแล้ว เป็น ๒ พวกฟังเข้าใจด้วยกันเดี๋ยวนี้ เราทุกคนอยู่ในห้องนี้ จะละอาคารบ้านเรือนไหม ไม่ละ เราก็เหมือนคนส่วนใหญ่ในครั้งโน้นหรือเปล่า คฤหัสถ์กับบรรพชิตใครมากกว่าใคร เพราะว่าบรรพชิตหมายความถึงผู้ที่ได้ฟังพระธรรม แล้วรู้จักตนเองสำคัญที่สุด ถ้ารู้จักคนอื่น ไม่รู้จักตนเอง ขัดเกลากิเลสของใคร ไม่ได้ขัดเกลากิเลสเลย เที่ยวรู้จักแต่คนอื่นทั้งนั้นเลย เขาไม่ดี เขาดีอะไรก็ทุกอย่าง แต่ขณะนั้นกิเลสอยู่ไหน และจะละได้อย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะละได้ ถ้าไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ซึ่งมีตนเอง ตนที่นี้หมายความถึงธรรมที่เป็นกุศลธรรม เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่อกุศลธรรมเป็นที่พึ่ง อกุศลธรรมไม่สามารถที่จะละกิเลสได้เลย แต่คิดดู กว่าจะได้ฟังพระธรรม แต่ละวันตอนเช้าหมดไปกี่ชั่วโมงกว่าจะได้ฟัง เสร็จแล้วก็ไม่ได้ฟังอีก เป็นอย่างนี้ทุกวันโอกาสที่จะได้ฟังก็ย่อมน้อยกว่า
ความเป็นผู้ไม่ประมาทก็คือว่า รู้ตามความเป็นจริงว่า ต้องเข้าใจแต่ละคำ คฤหัสถ์ฟังแล้วรู้จักตัวเอง การบวชหมายความถึงการสละบรรพชา การสละทั่ว การละทั่ว ทั่วนี่คือทรัพย์สิน เงินทอง บ้านเรือน วงศาคณาญาติ ธุรกิจการงานทั้งหมด ที่เคยเป็น เห็นไหมว่า ถ้าใครได้ฟังอย่างนี้แล้วเขาสะสมมา ที่จะสละอาคารบ้านเรือน เขาจึงสละ เพราะเห็นประโยชน์ของการที่จะเข้าใจธรรม และขัดเกลากิเลสในเพศของพระภิกษุ วินัยหมายความถึงการนำออก พระธรรมนำออกหรือไม่ พระธรรมก็นำออก คนที่ฟังธรรม เเล้วมีวินัยหรือไม่ ก็ต้องมี ไม่ใช่มีแต่อกุศลเรื่อยไปเหมือนเดิม แต่เมื่อไรก็ตามที่เริ่มมีการที่จะละเว้นสิ่งที่ไม่ดี เพราะรู้ว่าอกุศลทั้งหมดไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ได้เลย และโอกาสที่กุศลจิตจะเกิดก็ไม่มากเลย ลองดูชีวิตประจำวัน แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าสะสมมาแล้วเป็นผู้ตรง
ในครั้งพุทธกาลแม้เป็นบุตรชายคนเดียว ได้สะสมมาได้ฟังพระธรรม ใคร่ที่จะบวช ไม่ใช่ว่าอยากบวช โดยที่ไม่เข้าใจธรรม แต่รู้ว่าเป็นบุตรคนเดียว พ่อแม่ไม่มีลูกคนอื่นเลย ทรัพย์สมบัติก็มีมาก จะเอาไปทำอะไรที่ไหน เขาก็เป็นบุตรคนเดียว แต่อะไรมีค่ากว่ากัน ถ้ายังคงติดข้องในทรัพย์สมบัติ ก็ละทิ้งสิ่งซึ่งมีค่ายิ่งกว่านั้น ถ้าสามารถที่สะสมมา ที่จะดำเนินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเปรียบเสมือนบุตร ศากยบุตร พระองค์ประพฤติอย่างไร ขัดเกลาอย่างไร ดับกิเลสอย่างไร ผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลส แต่เห็นประโยชน์ก็ดำเนินรอยตาม เพื่อถึงการดับกิเลสเช่นพระองค์ด้วย จึงสามารถที่จะละอาคารบ้านเรือน ด้วยปัญญา อย่าลืมต้องด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยความอยาก ยุคสมัยก็เปลี่ยนแปลงไป ถ้ามาถึงสมัยซึ่งไม่มีการศึกษาธรรมเลย และก็เห็นว่าชีวิตของพระภิกษุสบายกว่าคฤหัสถ์มาก คือไม่ทำงานไม่ต้องหาเลี้ยงชีพ และก็มีคนกราบไหว้ แล้วสมควรไหม สำหรับในครั้งนี้ที่จะเริ่มสำนึกว่า ทำความดีเพราะการขอ ความหมายของภิกษุอีกคำหนึ่งก็คือขอ แต่ไม่ใช่ไปขอ อย่างขอทาน แต่ขอผู้ที่มีศรัทธา ที่เห็นประโยชน์ ที่รู้ว่าพระภิกษุรูปนี้ดำเนินชีวิตอย่างนี้เพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อไปทำมาหากิน มีทรัพย์สินเงินทอง รับเงินทองหรืออะไรอย่างนั้นเลย แต่เพื่อขัดเกลากิเลส ซึ่งยากที่จะใครจะทำได้
ด้วยเหตุนี้การที่มีศรัทธาอย่างนั้น แล้วก็มีผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ทะนุบำรุงพระศาสนา พระศาสนาก็ขาดบริษัททั้งสองไม่ได้ คือคฤหัสถ์ และบรรพชิต แต่ภิกษุต้องมีปัญญา ไม่ใช่ไม่มีปัญญาแล้วเป็นภิกษุ ก็จะเห็นได้ว่าต้องเป็นผู้ตรง และเป็นผู้ที่รู้ความจริง และการที่จะดำเนินรอยตามพระบาท ก็คือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติอย่างไร ต้องประพฤติตามอย่างนั้น
ในสมัยเเรก ไม่มีสิกขาบทเลย เพราะเหตุว่าผู้ที่มีศรัทธาอย่างนี้ มีหรือที่จะล่วงกิเลส หรือทำสิ่งซึ่งเหมือนชาวบ้าน เพราะว่าสะสมมาที่เห็นโทษแล้ว ใช่หรือไม่ จึงได้ละอาคารบ้านเรือน ขออุปสมบท อุปสมบทต้องขอ เพื่ออนุญาตให้บุคคลนี้สามารถประพฤติปฏิบัติตามพระองค์ได้ เพราะเป็นผู้ที่มีศรัทธา และมีปัญญา ในสมัยโน้นกิเลสก็ยังไม่ปรากฏให้เห็น ที่จะต้องมีสิกขาบท แต่ว่ากิเลสมากๆ ยังไม่ได้ละเลย และการที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ขัดเกลา เมื่อมีคนที่บวชมากขึ้นๆ บวชตามที่เห็นประโยชน์เพียงแค่เล็กน้อย แต่ไม่ใช่เพียงเพื่อที่จะไม่ทำงาน มีเงินทองมากมายกว่าผู้ที่เป็นชาวนา ชาวไร่ และก็มีรายได้ รายได้มีจริงๆ จากงานศพ สวดพระอภิธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่โยงใยทุกอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นการที่ไม่ได้เป็นไปตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่เข้าใจพระธรรม ก็จะเห็นได้ ไม่ต้องเสียภาษี และก็มีรายได้ประจำ ถ้าสวดงานศพหนึ่งคืน ไม่ทราบรายได้เท่าไหร่ ที่ใช้คำว่ารายได้เพราะเป็นเงินทอง แล้วก็ยังมีสารพัดเรื่อง ซึ่งชาวบ้านทั่วๆ ไปก็รู้กันอยู่ เพียงแต่ว่าไม่รู้ว่ามาจากไหน ทั้งหมดมาจากไม่เข้าใจธรรม
เป็นเรื่องที่ต้องละเอียดมากทีเดียว ที่จะต้องมีความเข้าใจถูกต้อง ไม่ว่าในกาลสมัยไหน ฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง เวลานี้ก็กำลังมี ขณะไหนที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่จะนำไปสู่ความสงบ ขณะนั้นก็ไม่ใช่สัทธรรม หรือไม่ใช่ปัญญาที่จะนำไปสู่การละกิเลส
การนำกิเลสออกโดยเพศของคฤหัสถ์ และโดยเพศของบรรพชิต ต่างกันที่ว่า การนำกิเลสออกของคฤหัสถ์ ก็มีวินัยของคฤหัสถ์ เพราะเข้าใจว่าอะไรไม่ควรอย่างยิ่ง และสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตามได้ ก็ประพฤติปฏิบัติตาม กรรมทั้งหมดทางกาย วาจา ก็ต้องให้ผลตามกรรมนั้นๆ โดยที่ว่าเมื่อไม่ใช่เพศภิกษุ จึงไม่อาบัติ ไม่ต้องมีการปลง เพราะเหตุว่าปลงวัดไหวหรือไม่ ไม่หวาดไม่ไหวเลย ถ้าจะปลงอาบัติ
แต่สำหรับพระภิกษุกิเลสมีมากกันทุกคน การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ยังไม่ได้ดับกิเลส กิเลสยังมี ไม่ใช่มีแค่วันนั้น ชาตินั้น แต่ชาติก่อนๆ ที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด ก็ยังมีอยู่ในจิต กิเลสใดยังไม่ปรากฏสำหรับพระภิกษุ ไม่ทรงบัญญัติพระวินัย ต้องมีการปรากฏของกิเลสก่อน เพราะเดี๋ยวนี้ทุกคนมีกิเลส มีโลภะ มีโทสะ มีโมหะ มีอิสสา มีมานะ ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล ยังไม่ได้ดับไปเลย แต่อยู่ไหน มองไม่เห็น ลึกลงไปเหมือนอยู่ใต้มหาสมุทร ไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาเลย เพราะต้องเป็นปัญญาที่เห็น แต่ว่ากิเลสทุกวันของชาวบ้านของเราทุกคน ทางกาย ทางวาจา มีใครไหมที่ไม่พูด ไม่ทำอะไร ไม่มีใช่ไหม บวชเป็นพระภิกษุแล้วก็ยังคงมี การพูดทางวาจา และการกระทำทางกาย แล้วกิเลสก็ไม่โผล่ ใช่ไหม จนกว่าเมื่อไรที่ แม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น โทษหรือไม่ สำหรับพระภิกษุ คฤหัสถ์ทุกวันเลย ไม่หัวเราะ ไม่สนุก แต่ว่าสำหรับบรรพชิตเห็นโทษ ภิกษุห่างไกลกันมากกับคฤหัสถ์ และก็ห่างไกลกันเท่าไรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่บำเพ็ญพระบารมีตรัสรู้ แล้วก็ดับกิเลสได้ และพระปัญญาของพระองค์เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ถึงพระปัญญาของพระองค์ได้ เพราะใครจะรู้ว่าใครมีปัญญา คนนั้นต้องมีปัญญา ที่จะรู้ว่าปัญญานั้นคืออะไร และปัญญานั้นรู้อะไร
กิเลสทั้งหลายที่สะสมมาถึงทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ไม่รู้ว่าสะสมเท่าไหร่ เกิดเมื่อไหร่รู้ ใครสนุกสนานมาก หัวเราะรื่นเริง เป็นแบบหนึ่ง แต่กิเลสก็มีทางออกมาทุกทาง โดยเฉพาะวาจากับกาย ลองคิดดูว่าพูดมาก หรือทำมาก นั่งนิ่งๆ กันทุกคน แต่คุยกันสารพัดเรื่อง ทุพภาษิต วาจาที่ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต แค่นี้คิดดู สมควรไหมที่จะเป็นภิกษุ พระธรรมละเอียดอย่างยิ่ง ขัดเกลาอย่างยิ่ง สำหรับพระภิกษุจึงเป็นพระวินัยบัญญัติ ที่ว่าใครก็ตามที่สามารถที่จะมีชีวิต ที่ขัดเกลาอย่างนั้นได้ จึงสมควรที่จะเป็นศากยบุตร เป็นโอรสที่เกิดจากพระอุระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปราถนาจะขัดเกลากิเลสอย่างนั้นได้ แต่ต้องทำ ถ้าไม่ทำอาบัติ หมายความว่าเป็นโทษที่ล่วงละเมิด สิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วว่าไม่ทำก็ทำ หรือสิ่งที่บัญญัติว่าทำไม่ได้ ก็ทำ แม้เพียงเล็กน้อยเป็นทุพภาษิต