อยู่ลำบากหรืออยู่สบาย


    อ.อรรณพ ชีวิตบรรพชิตที่อยู่สบายตามพระธรรมวินัยคืออย่างไร


    ท่านอาจารย์ ใครจะรู้ถึงที่สุด อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงบัญญัติว่า ภิกษุในธรรมวินัยไม่รับ และไม่ยินดีในเงิน และทอง ถ้ารับก็ยินดีใช่ไหม แล้วก็ยินดีจึงรับใช่ไหม

    อ.วิชัย ยินดี ก็จึงรับ

    ท่านอาจารย์ สละหรือเปล่า ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม คำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับเพศคฤหัสถ์ และเพศบรรพชิตต่างกัน ที่ใครบอกว่าจะสละต้องสละจริงๆ พูดเล่นๆ ได้อย่างไร พูดไม่จริงได้อย่างไร พูดหลอกลวงได้อย่างไร ต้องจริงใจ สัจจบารมี มั่นคงอธิษฐานบารมี ชีวิตบรรพชิตลำบากมาก หรือไม่ลำบาก หรือสบาย

    อ.วิชัย ความเป็นอยู่ถ้าคิดอย่างคฤหัสถ์ก็ไม่สบาย แต่ว่าถ้าพูดถึงที่จะละความติดข้องคืออกุศล ก็สบายจากอกุศล

    ท่านอาจารย์ สำหรับคฤหัสถ์สบายอย่างคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตไม่ได้ แต่ว่าสำหรับบรรพชิตแล้ว อยู่อย่างคฤหัสถ์ลำบาก ต้องอยู่อย่างบรรพชิตจึงจะสบาย ก็ต่างกันแล้ว ต่างกันตั้งแต่ความจริงใจ ไม่ใช่ว่าจะเป็นพระภิกษุโดยง่าย ในครั้งพุทธกาลต้องขอประทานจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะอุปสมบทแล้วทรงอนุญาตให้บวช เพราะรู้จิตใจของผู้ที่มีศรัทธามั่นคงว่า บวชแล้วเขาก็จะดำรงรักษาเพศของพระภิกษุไว้ได้ แต่ถ้าไม่ทรงบัญญัติพระวินัย เขาก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลา เมื่อยังมีกิเลสอยู่ เมื่อมีความตั้งใจมั่นคง ที่จะดำรงเพศบรรพชิต อยู่ลำบากอย่างคฤหัสถ์ จึงจะต้องอยู่สบายอย่างบรรพชิต แต่ถ้าบรรพชิตอยู่ไม่สบายก็คือว่า ไม่ใช่บรรพชิตแล้ว ถ้าไม่รักษาพระธรรมวินัย

    อ.อรรณพ อยู่ลำบากหรืออยู่สบาย สำหรับใคร ผู้ที่ยังติดอยู่ในเบญจกามคุณ ถ้าไปอยู่ในเพศบรรพชิต จะลำบากอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ง่ายๆ เลยไม่มีเงินทอง ลำบากไหม

    อ.อรรณพ ไม่มีเงินทองก็ลำบากใจมาก สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินทอง

    ท่านอาจารย์ เขาเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์

    อ.อรรณพ ด้วยจิตใจแล้วเป็นคฤหัสถ์

    ท่านอาจารย์ ก็ชัดเจน ว่าลำบาก ก่อนบวชคิดให้ดี ไม่ใช่เพราะอยากบวช คิดไม่ออก ก็ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาพระวินัยบัญญัติให้ครบถ้วนเลย กี่วันก็ได้ ไตร่ตรองก่อนที่จะบวช ว่าสามารถที่จะอยู่สบาย โดยไม่มีเงินได้ไหม

    อ.อรรณพ ถ้ายังไม่แน่ใจ ก็ทดลองสมาทานสิกขาบท โดยไม่ต้องบวชก่อน

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะว่าถ้าศึกษาพระวินัย ทุกคนเพิ่มศีลให้ตัวเองได้ ไม่มีการที่จะไปบอกใคร ขอใคร เห็นประโยชน์จริงๆ เมื่อเห็นประโยชน์จริงๆ จึงกระทำ

    อ.อรรณพ ไม่ได้หมายความว่า จะหวังให้ใครมาดูแลตน ต้องการให้มีไวยาวัจกร ต้องการให้มีกัปปิยการก คือผู้ช่วยทำอะไรให้เรียบร้อย

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้สละเลย ต้องตรง สละแล้วจะต้องมีอย่างนี้หรือ อย่างนี้ก็ไม่ได้สละแล้ว

    อ.อรรณพ อย่างผู้ที่เขาคิดจะบวช ก่อนบวชเขามีสมบัติ ให้ญาติหรือคนที่เขาคุ้นเคย ช่วยจัดการเอาเงินเอาทอง ไปดูแลตอนที่เขาบวช จะเป็นการเหมาะควรหรือไม่ที่จะไปบวช

    ท่านอาจารย์ ดูแลให้ใคร

    อ.อรรณพ ดูแลให้ตัวเอง

    ท่านอาจารย์ แทนใคร สำหรับใคร ดูแลอย่างไร

    ผู้ฟัง สมัยนี้จะบวช ก็มีค่าน้ำ ค่าไฟ

    ท่านอาจารย์ ก็จะบวชทำไม จะบวชทำไมะ ไม่สละก็อย่าบวช

    ผู้ฟัง บวชเพื่อเข้าไปศึกษาธรรม

    ท่านอาจารย์ คฤหัสถ์ศึกษาได้ แล้วก็ไม่ผิดพระวินัยด้วย ไม่กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ไม่ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง ไม่บริโภคก้อนข้าวของชาวบ้าน โดยไม่ได้ทำกิจของภิกษุ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมวินัย

    ผู้ฟัง แต่เขาก็

    ท่านอาจารย์ อยากบวชเท่านั้น

    ผู้ฟัง ผู้ที่ประสงค์จะสละจริงๆ แล้วจะบวช

    ท่านอาจารย์ เพราะรู้ว่าสามารถที่จะอยู่อย่างบรรพชิตได้ เคยเป็นสามีภรรยา บุตรธิดา มิตรสหายเพื่อนฝูง คือไม่มีอีกแล้ว สละไม่เกี่ยวข้อง แม้ด้วยใจ เพราะภิกษุไม่มีเงินทอง ทรัพย์สมบัติ อาหาร ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้ขอ แต่ขอ ไม่ไช่ขออย่างผู้ที่ไม่มีคุณธรรม ต้องมีคุณธรรมใช่หรือไม่ ที่จะไปขอเขา ที่จะเป็นภิกษุในพระธรรมวินัย แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ไปขอใครก็ได้ ไม่ต้องเป็นภิกษุในธรรมวินัย

    อ.อรรณพ ประเด็นที่ว่าอยู่ลำบากหรืออยู่สบาย สำหรับใคร สำหรับผู้ที่สะสมปัญญามา พร้อมที่จะไปบวชเป็นเพศบรรพชิต ทำไมผู้ที่มีคุณธรรมอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้ที่อยู่ลำบากในเพศคฤหัสถ์

    ท่านอาจารย์ รู้ก่อนใช่หรือไม่ ว่าบรรพชิตคือสละ สามารถสละได้ จึงอยู่ได้สบาย ถ้าอยู่ลำบากก็คือสละไม่ได้ สึกเสีย อยู่ดีๆ บวชได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่เพราะรู้คุณของพระธรรม

    อ.คำปั่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ว่าเรากล่าวกำเนิด ๒ อย่างก็คือ สัตว์นรกกับกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน สำหรับภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว


    หมายเลข 11155
    18 มี.ค. 2567