002 ธรรมสำหรับข้าราชการและทุกชีวิต *


    ข้าราชการ มีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และประชาชน ก็จะต้องไม่ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่จะไม่ให้ทำ (สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์) ได้หรือ ในเมื่อไม่ได้เข้าใจถูกต้อง ว่า อะไรเป็นอะไร อะไรไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น ก็คิดแสวงหาประโยชน์ตน ไม่ได้คิดถึงว่า ข้าราชการ คือ ผู้ที่รับใช้ กระทำงานของแผ่นดิน เพื่อที่จะให้ประชาชน ประเทศชาติ เป็นสุข


    อ.อรรณพ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกตรงกันว่า นี้ไม่ดี อะไรดี อะไรไม่ดี ถ้าตรงกันก็ไม่มีความขัดแย้ง แต่ทุกคนที่ยังปฏิบัติงานอยู่ ก็ย่อมที่จะมีความที่อยากจะได้ผลงาน อยากจะได้อะไรดีๆ ในชีวิตการงานตามสมควร เช่น ได้สิ่งต่างๆ ที่ควรจะเป็นประโยชน์ เป็นผลประโยชน์ตามสมควร กับการที่รับหน้าที่นั้น แต่ในขณะเดียวกัน ความที่อยากจะได้ผลงาน กับการที่เราได้เข้าใจความจริง จะไม่เกิดความขัดแย้งกัน แต่เมื่อต้องการผลงานกันอยู่บ้าง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทำราชการเพื่อต้องการผลงาน หรือว่าทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน ประเทศชาติ เห็นไหม ทั้งหมดมาจากความไม่รู้ ต้นเหตุของทุกอย่าง ที่เป็นปัญหาก็คือ ความไม่รู้ จะแก้ได้ต่อเมื่อเป็นความรู้จริงๆ

    เพราะว่าถ้าเราเข้าใจธรรม เรารู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วจริงๆ อะไรถูก อะไรผิดจริงๆ ความรู้นั้นต่างหาก ที่จะนำชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง ในทางที่เป็นกุศล ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ยืนหยัดในความถูกต้อง ในความที่เป็นกุศลที่ดี จะไม่ทำชั่ว เพราะปัญญา แต่ที่ต้องการผลงาน ไม่ใช่เพราะปัญญา ไม่ใช่ทำเพราะรู้ว่าข้าราชการ คือใคร และก็ทำเพื่ออะไร

    อ.อรรณพ อย่างหน่วยเหนือก็ต้องกำหนดมาแล้ว ว่าเราจะต้องมีผลงานอย่างนี้ๆ

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ ก็แปลว่าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ แต่ต้องการเพื่อตัวเอง

    อ.อรรณพ เพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน

    ท่านอาจารย์ เพื่อประโยชน์ต้องร่วมกันทั้งหมดเลย ข้าราชการทั้งหมด ทำเพื่อประโยชน์ ไม่ใช่หน่วยของฉัน หรือหน่วยของเขา

    อ.อรรณพ ท่านอาจารย์ตอบทั้งลึก และกว้าง ลึกไปจนถึงว่า ความเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ก็คือ ตัวต้นตอ แล้วก็กว้าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าทุกคนทำเพื่อประโยชน์ ไม่มีของเรา ของเขา ใช่ไหม ร่วมแรงร่วมใจกัน

    อ.อรรณพ ท่านอาจารย์ประสานตรงนี้หมดเลย ว่าถ้ามีความเข้าใจถูก ความเห็นถูกว่า สิ่งที่ถูกต้องคืออย่างไร สิ่งที่ไม่ดี ก็เห็นพ้องกันว่าไม่ดีอย่างนี้ สิ่งที่ดีก็เห็นพ้องกันว่าดี เช่น การที่หน่วยงานเล็ก หน่วยงานใหญ่ หรือไปขยายถึงประเทศชาติ ไม่จำกัด แล้วไม่ใช่เฉพาะหน่วยเดียว กว้างออกไปก็ดี ถ้าเข้าใจตรงกัน ก็จะมีความร่วมแรงร่วมใจกัน ในการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ทุกระดับ และเมื่อเกิดประโยชน์นั้น แต่ละคนทำก็ได้รับประโยชน์ไปในตัว แต่ว่าเพราะความอยากได้ผลงานมาเป็นของตัวเอง หรือเป็นของหน่วย เฉพาะของตัวเอง มันก็เลยเหมือนกับว่าจะไปทำให้เกิดความขัดแย้งกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริยธรรม มีประโยชน์หรือเปล่า ไม่ว่าจะกล่าวว่า เพื่อจริยธรรม หรือต้องทำตามจริยธรรม ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นไปไม่ได้เลย

    อ.อรรณพ อยากให้อ.คำปั่น พูดถึงคำนี้ เป็นคำภาษาบาลีเช่นกัน ใช่ไหม อย่างไร

    อ.คำปั่น เป็นภาษาบาลี จริงๆ ก็มีสองคำ จริยะกับคำว่าธรรม ธรรมก็คือสิ่งที่มีจริง แล้วก็ จริยะหมายถึงว่าที่ควรประพฤติ ซึ่งถ้ากล่าวถึง จริยธรรมก็หมายความว่า ธรรมที่ควรที่จะประพฤติ ซึ่งหมายถึงความดีทั้งหมด เป็นจริยธรรม เพราะว่าเป็นสิ่งที่ควรประพฤติ เป็นสิ่งที่ควรที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรประพฤติ ควรเกิดขึ้นจริงๆ ต้องเป็นคุณความดีเท่านั้น ไม่ใช่อกุศลธรรมเลย เพราะว่าถ้าเป็นอกุศลธรรม เป็นความชั่วทั้งหลายแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ

    อ.อรรณพ นี่คือความหมายจริยธรรม อ.จักรกฤษณ์จะกล่าวอะไรหรือไม่

    ผู้ฟัง จริยธรรมกับที่เป็นธรรมจริงๆ ถ้าพิจารณาแล้ว ก็อาจจะสอดคล้องกับจริยธรรมของข้าราชการทั่วๆ ไป เพราะกำหนดไว้ว่า จะต้องยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรม ซึ่งจริยธรรมก็คือการกระทำที่เป็นความดีทั้งหมด พระธรรมท่านอธิบายไว้อย่างละเอียด แต่ว่าถ้าศึกษาพระธรรมท่านก็จะอธิบายลึกลงไปว่า กระทำอย่างไร ดีอย่างไร ซึ่งมีความละเอียดมากแต่ว่าถ้าเป็นจริยธรรม เป็นหัวข้อหนึ่งที่บังคับว่า จะต้องทำดี จะต้องทำตามหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม แต่ว่าไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนลงไป ว่าอย่างไร ตรงนี้ก็จะไม่มีใครที่จะทำแบบนี้ได้ ไม่มีการอธิบายด้วยเหตุ และผล

    ผู้ฟัง มีประโยคหนึ่งที่ได้ยินอาจารย์พูดบ่อยๆ กุศลทั้งหมดเป็นความดี

    ท่านอาจารย์ ภาษาบาลีใช้คำว่า กุศลหรือกุ-สะ-ละ เขาหมายความถึงสภาพธรรมที่ดีงาม ให้ผลเป็นสุข ไม่เป็นโทษ

    ผู้ฟัง จริงๆ ถ้าจะพูดถึงจริยธรรม จริงๆ ก็คือ กุศลทุกประการ ใช่ไหม ข้าราชการต้องทำกุศลทุกประการ

    อ.อรรณพ ถ้าได้เข้าใจธรรมด้วย ว่าความจริงคืออะไร การเจริญกุศลทุกประการ ไม่ใช่ว่าเฉพาะข้าราชการ แม้แต่ท่านอาจารย์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัด ถ้าเจริญกุศลทุกประการ เพื่อความเข้าใจธรรม ก็เป็นบารมีด้วย บารมีที่จะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในแต่ละภพแต่ละชาติ

    ท่านอาจารย์ ชาวบ้านเข้าใจบารมีว่าอย่างไร พอพูดถึงบารมี

    อ.อรรณพ มีอำนาจ คนนี้มีบารมี มีอำนาจต่างๆ

    ท่านอาจารย์ แล้วความจริง บารมีคืออะไร

    อ.คำปั่น คือคุณความดีทั้งหมด ที่จะเป็นเหตุเกื้อกูลให้ถึงฝั่งของการดับกิเลส

    ผู้ฟัง ตรงข้ามกับที่ชาวบ้านคิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ใช่ไหม ทุกคนก็แสวงหาบารมี แต่ไม่รู้ว่าบารมีคือการละกิเลส เพราะความไม่รู้ คิดว่าความยิ่งใหญ่ ความมีอำนาจ สิ่งที่ไม่ดีนั้น เป็นบารมี แต่ความจริงคุณความดีทุกอย่าง ซึ่งมีความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงสามารถที่จะเห็นประโยชน์ของการทำดี ที่ไม่ทำดี เพราะไม่เห็นประโยชน์ คิดว่าทำชั่ว เป็นประโยชน์กว่า ง่ายดี ใช่ไหม แต่ถ้าเห็นประโยชน์จริงๆ ของคุณความดี ไม่มีทางที่จะทำชั่ว นั่นจึงเป็นบารมี

    อ.อรรณพ สรุปได้เลยว่า ปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นในวงราชการหรือว่าเป็นหน่วยงานต่างๆ ก็คือ อะไรครับ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคแท้จริง เพราะว่าในวงงานเรา โดยเฉพาะภาครัฐเรา เวลาให้ลิสต์มาว่า อะไรเป็นปัญหาอุปสรรค เราก็บอกว่าขาดบุคลากร ขาดแคลนงบประมาณ เครื่องมือต่างๆ อะไรมากมาย ที่เราจะคิดกัน ว่านี่คือ ปัญหาอุปสรรคในการที่จะปฏิบัติงาน แต่จริงๆ แล้ว ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานจริงๆ

    ท่านอาจารย์ คุณอรรณพกล่าวแต่วงราชการ หรือวงข้าราชการ ทุกวงได้ไหม ไม่ใช่เจาะจงเฉพาะข้าราชการ แต่เพราะเหตุว่าข้าราชการ มีภาระหน้าที่ ที่จะต้องทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ประชาชน ก็จะต้องไม่ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่จะไม่ทำได้หรือ ในเมื่อไม่ได้เข้าใจถูกต้อง ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นก็คิดแสวงหาประโยชน์ตน ไม่ได้คิดถึง ข้าราชการ คือผู้ที่รับใช้ กระทำงานของแผ่นดิน เพื่อที่จะให้ประชาชน ประเทศชาติเป็นสุข

    เพราะฉะนั้นแต่ละคำ มีสิ่งซึ่งถ้าสำนึก และเข้าใจจริงๆ ในความถูกต้อง ก็รู้ว่าคำสอนเพื่อให้เป็นคนดี ให้ทำสิ่งที่ดี ให้เข้าใจความต่างของความชั่ว และความดี อกุศล และกุศล ซึ่งถ้าไม่มีความเข้าใจ อกุศลก็ชนะ เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นข้าราชการหรือวงไหนก็ตามแต่ จะดี จะชั่ว ก็เพราะเข้าใจหรือไม่เข้าใจธรรม ความจริง

    อ.อรรณพ ตัว ปัญหาก็คือความไม่รู้ อุปสรรคก็คือความไม่รู้ และตรงกันข้าม สิ่งที่จะแก้ปัญหา และขจัดอุปสรรค ก็คือความรู้ ความเข้าใจ ความจริงจริง

    ท่านอาจารย์ ต้องจากการเข้าใจพระธรรมคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาคิดเองไม่ได้


    หมายเลข 11244
    27 ต.ค. 2567