อารมณ์ที่สะสมคุ้นเคย


        อ.อรรณพ อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ซึ่งถ้าคุ้นเคยกับการรู้อารมณ์ใดด้วยกุศลหรืออกุศล ก็สะสมความคุ้นเคยที่จะเป็นกุศลหรืออกุศลในอารมณ์นั้นๆ แต่อารมณ์ที่ จะทำให้สะสมคุ้นเคยที่เป็นประโยชน์ก็คือพระธรรม


        ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมทีละคำ จะได้ชัดเจน เวลาที่คุณธีรพันธ์กล่าวถึงโคจร อีกความหมายหนึ่ง ซึ่งคุณคำปั่นก็บอกแล้วว่า หมายความถึงจิตไปสู่อารมณ์ใด บ่อยๆ นั่นก็คือว่า เริ่มมีอุปนิสัยความคุ้นเคยต่ออารมณ์นั้น ก็เป็นโคจรอุปนิสสย ต่างคนต่างรู้ใช่หรือไม่ ไม่ใช่ว่าฟังธรรมแล้ว ได้ยินคำนี้ และลืมไปเลย แต่ว่าพอฟังธรรมแต่ละคำ ฟังบ่อยๆ เราก็จะรู้ได้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่จิตที่ได้สะสมมา คุ้นเคยบ่อยๆ อุป ก็มีกำลังที่จะทำให้ไปสู่อารมณ์นั้นบ่อยๆ

        ถ้าฟังธรรมทุกวัน โคจรอุปนิสสยะ คือไม่ฟังไม่ได้ เพราะว่าเห็นประโยชน์ในการที่ได้ฟัง และมีความเข้าใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ฟัง โคจรอุปนิสสยของเขาก็เป็นอื่น หมายความว่าไม่ใชอารมณ์ที่เขาคุ้นเคย ที่จะไปสู่บ่อยๆ แต่ละคำที่ได้ยินแล้ว เราก็รู้ตัวของเราเอง บางคนชอบดูลิเก อะไรเป็นอุปนิสสยของเขา อะไรเป็นอารัมณอุปนิสสยของเขา ก็ลิเก ใช่หรือไม่ ไม่เห็นก็ฟัง ร้องลิเกเห็นหรือไม่ อยู่ไม่ได้เลย ได้ยินเสียงลิเกไปเลยอย่างนั้นก็ได้

        ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้บ่อยๆ จนกระทั่งคุ้นเคยจนเป็นอุปนิสัย ยับยั้งได้หรือไม่ แม้แต่บุหรี่ หรือเหล้า หรืออะไรก็ตามแต่ ที่เสพกันจนคุ้น ธรรมฝ่ายตรงข้ามก็คือว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นประโยชน์จนกระทั่งไม่มีใครที่จะห้ามไม่ให้คนนั้นได้ฟังธรรม ได้สนทนาธรรม ได้เข้าใจธรรม ได้ไตร่ตรองธรรม ทุกอย่างก็เป็นไปตามการที่คุ้นเคยเกิดบ่อยๆ นั่นเอง ซึ่งถ้าเป็นในทางฝ่ายดีก็เป็นอารักขอุปนิสสย เราไม่ทำชั่วแน่ เพราะคุ้นเคยต่อการไม่ทำ ก็แสดงให้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ซึ่งเป็นอนัตตา จนกว่าจะถึงอุปนิพันธโคจร เห็น ไม่ไปที่อื่นเลย กำลังสนใจ กำลังฟังเรื่องเห็น และมีเห็นจริงๆ จนกว่าความสนใจ ความใส่ใจ ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งรู้เฉพาะตรงเห็น ซึ่งเป็นธาตุรู้ เวลานี้ก็มีเห็น แล้วก็ฟังเรื่องเห็น ว่าเห็นเป็นสภาพรู้ แต่ความคุ้นเคยยังไม่พอ ก็เพียงแค่รู้ว่า พูดเรื่องเห็น ทั้งๆ ที่มีเห็น แต่ว่ายังไม่คุ้นเคยกับลักษณะ ซึ่งเป็นเห็น ซึ่งไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุเห็น ก็จะต้องมีการที่จะค่อยๆ อบรมจนกระทั่งสามารถที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ตอนเป็นเด็กทำอะไรบ้าง บางคนเห็นวัดก็อยากเข้าไปดู เห็นหรือไม่ มีความสนใจว่า ที่นั่นมีอะไร บางคนก็ผ่านไปเลยไม่สนใจ เพราะเหตุว่าไม่ได้สะสมมาที่จะมีอารมณ์ที่คุ้นเคยกับสิ่งนั้น และก็อุปนิสัยที่สะสมมาแล้วในกี่ชาติก็ตามแต่ ก็จะทำให้คุ้นเคย ผูกพันกับสิ่งนั้นเพิ่มขึ้น ถ้าได้ฟังว่ามีการสอนพระอภิธรรมไปฟัง กับบางคนที่ไม่สนใจเลย ทุกขณะไม่กลับมาเลย แต่ว่าสิ่งที่ได้เคยเกิดแล้ว ก็สะสมอยู่ในจิตขณะต่อไป ซึ่งเกิดจากจิตขณะก่อนๆ

        อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ แล้วอารักขโคจร

        ท่านอาจารย์ ฟังธรรม เป็นอกุศลได้หรือไม่

        อ.ธิดารัตน์ ก็มีสลับได้

        ท่านอาจารย์ มีโอกาสได้ ฟังธรรมเพื่ออะไร

        อ.ธิดารัตน์ เพื่อเข้าใจ

        ท่านอาจารย์ แน่ใจหรือ

        อ.ธิดารัตน์ อย่างเช่นฟังแล้ว ก็จำชื่อ จำเรื่องก็ต้องมี

        ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะเป็นผิดจากธรรม ธรรมทรงแสดงไว้ชัดเจนไม่ว่าใครทั้งสิ้น นิสัยต่างๆ กัน เพราะอะไร จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ ไม่รู้อารมณ์ได้หรือไม่

        อ.ธิดารัตน์ ไม่ได้

        ท่านอาจารย์ แล้วอารมณ์อะไร ที่เรามีบ่อยๆ จนกระทั่งปรากฏว่าเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง สิ่งนั้นก็เป็นอุปนิสัย เพราะอุป แปลว่ามีกำลัง นิสสย ก็เกิดขึ้นบ่อยๆ จนกระทั่งคุ้นเคย จนเป็นที่อาศัยให้สิ่งนั้นเกิดอีก ถ้าให้คนที่ไม่ชอบรับประทานทุเรียน คะยั้นคะยอสักเท่าไหร่ เขาก็ไม่รับประทาน นี่ก็คือพูดถึงอารมณ์ทั่วๆ ไป แต่พูดถึงทางฝ่ายที่เป็นประโยชน์ ที่ควรอย่างยิ่งที่จะมี ก็คือว่าสิ่งที่เป็นอารมณ์ เช่นการเข้าใจธรรม การเห็นประโยชน์ของการที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ไม่ใช่เพียงแค่ฟัง บางคนฟังจริง แต่ไม่เคยคิดจะประพฤติปฏิบัติตามเลย ก็เป็นไปได้ ไม่ได้อารักขา แต่เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วปัญญาที่เข้าใจถูกต้อง ก็อารักขาไม่ให้เป็นไปในทางที่ไม่ดี จนกว่าจะถึงอีกขั้นหนึ่ง เห็นเดี๋ยวนี้ รู้ตรงเห็น เพราะได้เคยฟังมาแล้ว สะสมอารมณ์ที่จะต้องรู้ว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง สิ่งที่กำลังปรากฏเท่านั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เพราะรู้ได้ แต่สิ่งอื่นจะไปพยายามรู้ได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏ


    หมายเลข 11476
    3 มี.ค. 2567