ปัณฑระ
สุ. จิตเป็นใหญ่ในการรู้ เกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นจิตจึงต่างกันไป จิตที่เป็นกุศล เมื่อโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตที่เป็นอกุศล เมื่ออกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตที่เป็นกิริยา มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เจตสิกนั้นไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล และจิตที่เป็นวิบาก ก็มีเจตสิกที่เป็นวิบากเกิดร่วมด้วย
เด่นพงศ์ ก็เลยเรียกว่า จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล
สุ. เมื่อมีเจตสิกนั้นๆ เกิดร่วมด้วย แต่ลักษณะของจิตเป็นปัณฑระ คือ เฉพาะจิตจริงๆ ผ่องใส ในความหมายที่ว่า ไม่กล่าวถึงเจตสิกซึ่งเกิดร่วมที่ทำให้จิตเปลี่ยนสภาพเป็นจิตประเภทต่างๆ คือ เป็นอกุศลบ้าง เป็นกุศลบ้าง
เด่นพงศ์ ยิ่งอาจารย์พูดถึงคำว่า “ปัณฑระ” ผมก็กำลังจะไปถึงตรงนั้นพอดี อาจารย์เคยพูดว่า จิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกัน ถ้าปกติจิตเป็นปัณฑระอยู่แล้ว กุศลหรือไม่ใช่กุศล มันเกิดทีหลัง ไม่ใช่หรือครับ
สุ. พร้อมกันค่ะ ไม่แยกกันเลย
เด่นพงศ์ เพราะว่ามันเร็ว เราถึงว่าพร้อมกัน หรือว่าพร้อมกันจริงๆ
สุ. พร้อมกันแน่นอน เพราะว่าสภาพธรรมทั้งหลายถ้าไม่มีปัจจัย ก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย และเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดจิต และจิตก็เป็นปัจจัยให้เกิดเจตสิก ปราศจากกันไม่ได้
เด่นพงศ์ อย่างเราเห็นของ ๒ สิ่ง ผมเห็นก้อนอิฐ กับผมเห็นเพชร ๑ เม็ด โลภะเกิดพร้อมกันกับเห็นก้อนอิฐกับเห็นเพชร พร้อมกันหรือเปล่าครับ
สุ. จิตเห็น ไม่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นไม่ใช่ขณะที่เกิดความติดข้องในสิ่งที่เห็น
เด่นพงศ์ แต่ที่โลภะเกิดขึ้นหลังจากที่รู้ว่าเป็นอิฐ หรือรู้ว่าเป็นเพชร
สุ. หลังจากเห็นดับไปแล้ว
เด่นพงศ์ ตรงนี้ที่ผมบอกว่า มาทีหลัง มันไม่พร้อมกัน
สุ. แต่ขณะที่จิตเห็นเกิด ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ใช่โลภเจตสิก
ธรรมเป็นสิ่งที่ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เวลาจิตเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง จะมากหรือน้อยก็ต่างกันตามประเภทของจิตนั้นๆ
ที่มา ...