เทศน์ตลกจิตเศร้าหมอง


        ท่านอาจารย์ พูดถึงพระที่พูดตลก แล้วก็เป็นยังไงเศร้าหมอง

        อ.คำปั่น จิตของผู้ที่พูดตลก ก็คือ เศร้าหมอง

        ท่านอาจารย์ แล้วคนฟัง

        อ.คำปั่น คนฟังก็เศร้าหมองด้วย

        ท่านอาจารย์ คนไม่รู้ก็บอกว่า เอ๊ะ ฉันสนุกอ่ะ แล้วก็มาบอกว่าฉันเศร้าหมอง จริง หรือ เริ่มคลางแคลงใจ เพราะเขาไม่รู้ว่า เศร้าหมอง คือ อะไร เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้เลยนะคะ แล้วก็พูดไปๆ คิดว่าเขารู้ แต่เขาไม่รู้ เพราะฉะนั้น เศร้าหมองที่นี่ไม่ได้ หมายความถึง ความรู้สึกโศกเศร้า เสียใจ เป็นทุกข์ แต่จิตแปดเปื้อนด้วยอกุศล เพราะฉะนั้น เศร้าหมอง คือ ขณะที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าอะไรก็ตามค่ะ เพชรนิลจินดา ถ้ามีฝุ่น มีอะไรไปเกาะ ใช่ไหมคะ เราใช้คำว่าเศร้าหมอง คือ ไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจภาษาด้วย ว่าภาษาที่ใช้ในภษาหนึ่ง พอแปลอีกภาษาหนึ่ง ถ้าไม่อธิบายให้เขาเข้าใจชัดเจน เขาก็เข้าใจผิด เขาก็บอกว่าสนุกออก แล้วจะมาบอกว่าเศร้าหมอง แต่หารู้ไม่ จะฟังตลก หรือจะฟังธรรม จิตเศร้าหมองเมื่อไหร่ ต้องรู้ ว่าขณะที่กำลังฟังเรื่องตลกไม่ได้เข้าใจธรรม แปดเปื้อนด้วยความสนุก ถูกต้องไหมคะ หรือใครบอกว่า เอ๊ะ สนุกดี แล้วจะะบอกว่าแปดเปื้อนด้วยความสนุกยังไง ขณะใดก็ตามที่ไม่ได้เข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่รู้จักธรรม ขณะไม่รู้นั่นหน่ะแปดเปื้อนแล้ว เหมือนกับสิ่งที่สกปรก อย่างเราเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เอาสีดำไปทา ทาให้บ่อย ทาให้เยอะเลย กว่าจะเอาออกเนี่ย ยากไหม ทุกวันทาสีแปดเปื้อนด้วยกิเลส แล้วแต่ว่าจะเป็นสีอะไรก็ตามแต่ สนุกสนานเพลิดเพลิน

        เพราะฉะนั้น แม้แต่ขณะนั้นนะคะ ผู้พูดก็ไม่รู้ว่าใจตัวเองเศร้าหมอง เพราะสนุกสนาน และก็คนฟังก็เศร้าหมอง เพราะไม่ได้เข้าใจอะไร มีแต่ความสนุกที่ทับถม ยิ่งตลกยิ่งเศร้าหมอง แต่เขาก็คิดว่ายิ่งตลกยิ่งสนุกดี เพราะฉะนั้น ทุกคำ ไม่ว่าในภาษาอะไรเนี่ย เราต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ฟังตลกเศร้าหมอง เพราะว่า มีกิเลสอกุศล ฟังธรรมเศร้าหมอง เห็นไหมคะ ความละเอียดนะคะ ละเอียดมาก ถ้าเราไม่ไตร่ตรองจริงๆ ไม่มีทางที่จะเอากิเลสออกได้เลย เพราะว่ากิเลสมีมากมายหลายประการ ไม่ได้มีแต่เฉพาะโลภะ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะโทสะ ยังมีความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้ เป็นต้นตอของกิเลสทั้งหลายด้วย

        เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณาว่า แม้ขณะที่ฟัง ก็ยังมีขณะที่เศร้าหมอง แล้วตลกหล่ะ ไม่มีอะไรที่จะเข้าใจเลย แต่ขณะที่ฟัง ยังมีปัญญาที่เกิดท่ามกลางกิเลส คือ ความเศร้าหมอง ซึ่งปัญญาเนี่ยค่อยๆ เจริญ ค่อยๆ เติบโตขึ้น โดยที่ว่า ถ้าใครไปหวังให้เร็วๆ ก็เศร้าหมองไปอีกละ เพราะว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดมากค่ะ

        เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเนี่ย ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ฟังด้วยความแยบคาย ฟังด้วยการรู้ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้เลย คนที่สะสมปัญญามานะค่ะ ฟังตลกปัญญาเเกิดได้ รู้เลยขณะนั้น จิตเป็นอะไร เป็นธรรมประเภทไหน เพราะใครจะรู้ว่าปัญญาจะเกิดเมื่อไหร่ เราไม่มีทางรู้เลยการฟังธรรม และความเข้าใจทีละนิดทีละหน่อย จะสะสมเนิ่นนานโดยการที่ว่าไม่มีใครไปบังคับให้เร็ว หรือว่าให้มากมาย ทางตาให้รู้เดี๋ยวนี้นะ ทางใจก็ต้องรู้ด้วย อะไรอย่างเงี้ย นั่นคือ ไม่เข้าใจธรรม เพราะแม้แต่คำว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาก็ลืม ถ้าไม่เข้าใจคำนี้อย่างมั่นคงนะคะ ไม่มีทางเลยที่จะเป็นกิเลส หรือว่าเศร้าหมองไปเรื่อยๆ เพราะความหวัง ขณะที่ฟังก็หวังว่าจะเข้าใจก็เศร้าหมอง แค่นี้ยังเศร้าหมอง แล้วคิดดูนะคะ ว่า ปัญญาระดับไหนซึ่งจะละสิ่งที่ปรากฏ และเคยยึดถือเป็นเรา ให้รู้ความจริงว่า ไม่มีทางที่จะบังคับบัญชาได้เลย ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ความเข้าใจตรงนี้แหละ จะไปฟังตลกกี่ร้อยประเภท ปัญญาก็สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะว่า ปัญญาต้องเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่ไปละเว้น ไปกักขัง ไปทำอะไรไม่ให้ปัญญาเกิด และคิดว่ากำลังมีความเข้าใจมากขึ้น นั่นคือ ความเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ฟังก็ต้องละเอียด และควรเข้าใจทุกคำ


    หมายเลข 11757
    6 ม.ค. 2567