อย่างไรก็เป็นอนัตตา


        ท่านอาจารย์ แค่ได้ยินคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เป็นความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่ความไม่รู้ และการยึดถือว่าเป็นเรา มีมากกว่าที่ได้ฟัง ต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไร สะสมความเป็นเรา สะสมความไม่รู้มานานมาก และเพิ่งจะได้ยินได้ฟังคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วค่อยๆ เข้าใจในขณะที่ฟัง แต่ขณะอื่นล่ะ ก็มีปัจจัยที่สะสมมา ที่จะยึดถือว่าเป็นเรา และไม่รู้

        เพราะฉะนั้น ไม่มีการไปห้าม ไม่ทำอะไรเลย เพราะฉะนั้น ถ้าฟังผิดก็ทำอะไรไม่ได้เลย นั่งนิ่งๆ เนี่ย ทำไม่ได้ ไม่รู้จะทำอะไร เป็นอนัตตาไปหมด แต่ไม่ใช่ให้เป็นอย่างนั้น แม้ขณะนั้นที่คิดก็เป็นอนัตตา ทำไมมันนั่งนิ่งๆ ไม่ไปรักษาตัว ไม่ใช่เราที่จะไปบังคับ แต่สะสมมาที่จะคิดอย่างนั้น เป็นอย่างนั้นพวกเดียรถีย์ เขาก็เป็นอนัตตาหมดไม่มีใครเป็นอัตตา แต่เขาไม่รู้

        เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่รู้ กับ ไม่รู้ แต่ธรรมเปลี่ยนไม่ได้ ธรรมทั้งหมดต้องเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ฟังว่าธรรมไม่ใช่เรา มีจริงๆ เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยบังคับบัญชาไม่ได้ นี่คือ ความเข้าใจ กว่าจะมั่นคงเพราะเป็นเราอีกแล้ว เป็นเราอีกแล้ว เวลาคิดอย่างอื่น แต่การที่ได้ฟังไม่สูญหาย ยังมีการระลึกได้ว่า นี่ขณะนี้ไม่ใช่เรา แม้แต่ท่านคิดค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งฟังมากขึ้นเข้าใจขึ้น ก็รู้ลักษณะที่ไม่ใช่เรา ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่รู้ว่าความเป็นเราน้อยลงหรือเปล่า เพราะอะไรด้วย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ไปน้อยลงด้วยความเป็นเรา

        ผู้ฟัง ฉะนั้นความเป็นอนัตตาไม่ได้หมายความว่า

        ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเป็นอย่างเดิม ไม่ใช่เลยค่ะ ทำยังไงก็อนัตตา คิดยังไงก็อนัตตาแต่ไม่รู้ว่าเป็นอนัตตา

        ผู้ฟัง ด้วยความเป็นตัวตนของเราเอง พยายามที่จะไปคิดว่ามันเป็นอัตตาแต่จริงๆ แล้วมันคือ อนัตตา

        ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นอนัตตาที่คิดอย่างนั้น ต้องมั่นคงจริงๆ ไม่ว่าจะคิดอะไรยังไงเกิดอะไรยังไง ก็คือ เป็นธรรม ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย กำลังพูดเป็นอนัตตาหรือเปล่า

        ผู้ฟัง เป็น

        ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ถาม ก็เป็นเรา แต่พอได้ยินก็จำได้ว่าไม่ใช่เรา แต่แค่คิดจนกว่าลักษณะของธรรมแต่ละหนึ่ง เข้าใจขึ้นจึงคลายความเป็นอัตตาจากสิ่งที่ปรากฏ จะรู้ว่าความเข้าใจในความเป็นอนัตตามั่นคงเมื่อไหร่ ก็ต่อเมื่อเป็นปกติ ไม่มีอะไรพ้นจากสิ่งที่มีจริงที่เกิดแล้ว ให้เห็นว่าเราไม่ได้ไปบังคับให้หิว หรือเราไม่ได้ไปฝืนว่าอย่ารับประทาน ทุกอย่างเกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัยเปลี่ยนสิ ก็คือ เราคิดว่าเราจะเปลี่ยน ทำได้ แต่ความจริงแม้คิดอย่างนั้น ก็เกิดแล้วตามที่เคยสะสมมาที่จะคิดอย่างนั้น จนกว่าทั้งหมดเป็นธรรมนั่นแหละ คือ มั่นคงจริงๆ ไม่เปลี่ยนนะคะ อะไรจะเกิด ก็คือ เกิดแล้ว คิดแล้ว ทำแล้วทั้งหมด

        ผู้ฟัง การที่มีกุศลที่เจริญขึ้น ที่จะคลายเป็นปกติหรือว่าบุคคลนั้นทำให้ผิดปกติครับ

        ท่านอาจารย์ มีบุคคลไหม

        ผู้ฟัง ความจริง คือ ไม่มี

        ท่านอาจารย์ เห็นไหม กว่าจะลึกลงไปจนกระทั่งว่าไม่มี ยังคงเป็นคน ยังคงเป็นเรา ยังคงเป็นคิด จะทำอย่างนั้นดี หรือจะทำอย่างนี้ดี ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่ากิเลสอยู่ไหน ก็ไปคิดว่ากิเลสอยู่ที่แต่งตัว ไปคิดว่ากิเลสอยู่ที่ดูโทรทัศน์ แต่รู้ไหมว่ากิเลส คือ เข้าใจว่าเป็นเรา ในเมื่อไม่มีเรา

        เพราะฉะนั้น ไปห่วงใย กังวลกับการเล่นดนตรี การฟังดนตรี การดูโทรทัศน์ การเต้นรำ การแต่งตัว ไม่รู้เลยว่า นั่นแหล่ะเรา ยังอยู่เต็มที่ กิเลสทั้งหลายหมดไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่รู้ไม่ใช่เรา เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ความพอใจดูโทรทัศน์ ก็เป็นธรรม ความพอใจแต่งตัวก็เป็นธรรม ความพอใจอาหารอร่อยก็เป็นธรรม ก็ยังไม่รู้เลย ได้แต่พูดว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ถึงเวลาจริงๆ ไม่ได้เป็น กลายเป็นเราไปหมด

        เพราะฉะนั้น ผู้นั้นต้องรู้จริงๆ ว่ากิเลสอยู่ที่ไหนถึงจะละได้ตามลำดับกิเลสทั้งหมดอยู่ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่เราเลย เป็นแต่สิ่งที่มีจริง ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เป็นไปแต่ละขณะไม่ซ้ำ และไม่กลับมาอีกด้วย กว่าจะถ้อยคำแต่ละคำจะมาปรุงแต่งให้ค่อยๆ คลายความติดข้องในความเป็นเรา

        ผู้ฟัง ทั้งหมดก็จะเป็นไปในการค่อยๆ ละคลายอกุศลไปเรื่อยๆ

        ท่านอาจารย์ เพื่ออะไร ดีไปเพื่ออะไร

        ผู้ฟัง เพื่อรู้ความเป็นจริงของธรรม

        ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ความเป็นจริง แล้วดีไปเรื่อยๆ แล้วก็ไม่รู้ ต่างกันแล้วใช่ไหม

        ผู้ฟัง ต่างกัน

        ท่านอาจารย์ บารมี คือ ต้องมีความเข้าใจเป็นปัญญา รู้ว่าไม่มีเรา กว่าจะไม่มีเราได้ ก็ต้องรู้ว่า ต้องเป็นปกติที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่า สิ่งนั้นเกิดแล้ว ตามการสะสม ตามปกติ ไม่อย่างนั้น เราจะเข้าใจหรือ ว่าทำไมเราคิดต่างกัน ทำไมเราชอบต่างกัน ทำไมอะไรไม่เหมือนกัน เพราะมีปัจจัยที่ต่างกัน จึงต้องเป็นปกติ เพราะฉะนั้น ปัญญาเท่านั้นรู้ แล้วจึงละ


    หมายเลข 11790
    31 ธ.ค. 2566