ความตายไม่น่ากลัว


    ผู้ฟัง การตาย พอมานั่งเริ่มศึกษา โป๊ดคิดว่ามันเริ่มไม่น่ากลัวแล้ว

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ความตายที่คุณโป๊ดบอกไม่น่ากลัว ถ้ารู้จริงๆ ไม่น่ากลัวเลย ยิ่งกว่านั้นอีก เพราะอะไร เพราะจิตหนึ่งขณะ แค่หนึ่งขณะคิดดูแค่ไหน เล็กน้อยสั้นแค่ไหน เกิดทำหน้าที่พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ หนึ่งขณะคุณโป๊ดรู้ไหม มีทางจะรู้จิตหนึ่งขณะไหม เห็น กี่ขณะแล้ว ที่กำลังเห็น ตั้งหลายคน เหมือนขณะเดียวใช่ไหม แต่นับไม่ถ้วนขณะ กว่าจะเป็นดอกไม้แต่ละดอก

    เพราะฉะนั้น เพียงหนึ่งขณะใครจะรู้ ไม่มีทางที่ใครจะรู้หนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น หนึ่งขณะเกิดขึ้นทำกิจพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่รู้ตัวด้วย เพราะเหตุว่า เหมือนกับภวังคจิต อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฎเลย และทันที ที่จิตหนึ่งขณะ สั้นที่สุด ประมาณไม่ได้เลยดับไป เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิด โดยกรรมหนึ่งพร้อมจะให้ผล ทำให้จิตเจตสิกรูป ซึ่งเป็นผลของกรรมนั้นเกิดขึ้น หนึ่งขณะอีกเหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น สองขณะไม่มีทางรู้ ไม่ต้องไปกลัวอะไรเลย เพราะรู้ไม่ได้ ใช่ไหม ขณะที่กลัวกี่ขณะแล้ว กับขณะตายจริงๆ หนึ่งขณะ และทั้งปฏิสนธิจิต และจุติจิต จิตที่เราใช้คำว่าจุติ หมายความว่า เกิดขึ้นทำกิจจุติพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น ทันทีที่จิตนั้นดับ เหมือนภวังคจิตคือ หลับสนิท ประเภทเดียวกันเลย เพราะฉะนั้น จิตประเภทเดียวกันที่เป็นผลของกรรมก็คือ ขณะแรกที่เกิดขึ้นในโลกนี้ จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยการสะสมมาของโลภะ โทสะ ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ เพราะยาวนานมาแล้วในสังสารวัฎฎ์ สะสมทั้งกุศล และอกุศล ยากที่จะรู้ ชาตินั้นอาจจะไม่ปรากฎ แต่ความจริงยังอยู่

    เพราะฉะนั้น แต่ละชาติก็เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้ จิตที่ไม่รู้เลยไม่ปรากฎอารมณ์ใดใดเลยก็คือ ขณะแรกของชาตินี้ ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน คือตายแล้วเกิดทันที ไม่มีอะไรคั่นเลย

    เพราะฉะนั้น ชาติก่อนเป็นใครอยู่ที่ไหนไม่รู้ จุติจิตดับเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อ เปลี่ยนกรรม เพราะเหตุว่า จุติ เป็นการสิ้นสุดกรรมที่ทำให้เป็นคนนั้น จะเป็นคนนั้นต่อไปอีกไม่ได้เลย แต่ทันทีที่ดับไป กรรมใหม่ กรรมอื่น ไม่ใช่กรรมที่ทำให้เกิดเป็นคนนี้ ถึงเวลาที่จะทำให้ปฏิสนธิเป็นอย่างนั้นเกิดได้ งู นก ปลา มดอะไรก็แล้วแต่ แต่รูปร่างอะไรก็ยังไม่ปรากฎ เพราะเล็กมากขณะนั้น แต่ว่าเกิดแล้ว เพราะกรรมเป็นปัจจัยตั้งแต่บัดนั้น อุตุคือความเย็นความร้อน ซึ่งเป็นรูปซึ่งเกิดจากรรมเป็นปัจจัย เกิดดับสืบต่อทำให้รูปต่างๆ เกิดขึ้น จะเป็นนกเป็นคน เป็นอะไรก็แล้วแต่ แม้เป็นคน กรรมที่ได้ทำอย่างวิจิตรละเอียด ยากที่จะรู้ได้ที่สะสมมาก็เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นแต่ละหนึ่งในชาตินี้ ซึ่งจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อกรรมที่ทำให้เป็นคนนี้สิ้นสุด แล้วกรรมอื่นก็ให้ผลสืบต่อ ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น เหมือนขณะที่หลับสนิท แล้วกลัวอะไร

    ผู้ฟัง ก็ตายสบายใช่ไหม ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ มากเลย ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ทุกคนรู้หรือไม่ ว่าชอบอะไร ชอบหลับ พอไม่หลับเดือดร้อน ตั้งนานแล้วไม่หลับ พรุ่งนี้จะหลับไหม คิดไปถึงอย่างโน้นก็ได้ ใช่ไหม หมายความว่า เห็นก็แล้ว ได้ยินก็แล้ว สนุกก็แล้ว อร่อยก็แล้ว ก็พอแล้ว เมื่อไหร่จะหลับ ใช่ไหม ทุกคนที่ต้องการ ต้องการหลับ หมายความว่าไม่ต้องการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่พอเห็น ก็อยากจะเห็นแต่สิ่งที่ดี บังคับบัญชาไม่ได้ แสวงหาในสุจริตไม่ได้ ก็เป็นในทางทุจริต เพราะฉะนั้น เราต้องศึกษาธรรมโดยละเอียด ยิ่งเห็นว่าเป็นธรรมก็ยิ่งไม่เดือดร้อน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แต่คนมักจะกลัวก่อนตาย ที่ทรมาน

    ท่านอาจารย์ ก็ขอเล่าถึงพี่เขยเป็นมะเร็ง สบายมากเลย อยู่โรงพยาบาลพระมงกุฎ ทานไอศครีมก็ได้ อะไรก็ได้ทุกอย่างแล้วก็ตาย เป็นมะเร็งที่ไม่ทำให้เกิดความเจ็บ ดีไหม แล้วจะกลัวอะไร

    เพราะฉะนั้น เรากลัวอะไร กลัวกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผลใช่ไหม และกรรมนั้นก็มาจากกิเลส ก็ต้องเห็นโทษของกิเลส เพราะฉะนั้น ถ้าตราบใดที่ยังไม่เห็นโทษของกิเลสจะพ้นสิ่งที่ไม่น่าพอใจไม่ได้ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม แต่ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ชั่วคราวหมดแล้วอยู่ไหน พอถึงหลับ ก็ไม่มีอะไรเลยแม้แต่ชื่อก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน บ้านช่อง ยังไงก็ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่มีอะไรปรากฎเลย หลับสนิท แต่พอตื่นก็มีทุกสิ่งทุกอย่างแล้วก็หลับ

    เพราะฉะนั้น ชีวิตนี้ก็คือ ตื่นแล้วหลับ จนกว่าจะจากโลกนี้ไป ลืมหมดเลย ตื่นหลับมาทำไม เห็นไหม จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจความจริงว่า ชีวิตไม่มีอะไร มีแต่สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นไป แล้วก็หมดไป

    อ.วิชัย ดังนั้นสิ่งที่น่ากลัว ไม่ใช่ความตาย แต่อกุศลกรรม เพราะว่า คือกรรมนี่แหล่ะ จะนำไป กุศลนำไปสุคติ อกุศลนำไปทุคติ แล้วก็เมื่อเกิดแล้ว ชีวิตของบุคคลนั้นจะอยู่ด้วยความสุขสบายหรือลำบาก ก็เพราะกรรมนั้นเอง

    ท่านอาจารย์ วัฏฏะ ๓ ใช่ไหม พูดแล้วเข้าใจ แล้วไม่ลืม กิเลสวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิด กรรมวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิด วิปากวัฏฏ์ ภาษาบาลี วิบากก็เป็นผลของกรรม


    หมายเลข 11814
    12 ก.ย. 2567