เพราะเหตุใดท่านอาจารย์สุจินต์จึงเข้ารับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์


    อ.คำปั่น มีคำถามที่กล่าวถึงท่านอาจารย์ เป็นประเด็นหนึ่งที่ควรที่จะได้ความชัดเจนจากท่านอาจารย์ คือถามว่าเหตุใดท่านอาจารย์สุจินต์เข้ารับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พุทธศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งที่ท่านอาจารย์ไม่เห็นด้วยกับที่พระสงฆ์ศึกษาทางโลก และมหาวิทยาลัยแห่งนี้จัดหลักสูตรให้พระสงฆ์ศึกษาทางโลกเช่นกัน

    ท่านอาจารย์ ดิฉันมีความเป็นมิตรตลอดเสมอมาไม่ว่ากับใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นความเป็นมิตรคือไมตรี ถ้าใครให้อะไรแล้วไม่รับ จะถูกไหม หากในขณะเดียวกัน อะไรที่ถูกก็คือถูก อะไรที่ผิดก็คือผิด เพราะฉะนั้นความเป็นเพื่อนจะไม่ทำให้เพื่อนต้องเดือดร้อนหรืออะไรเลย เพราะฉะนั้นการที่กล่าวถึงธรรมวินัยทั้งหมดก็เพื่อให้ทุกคนซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้ที่หวังดีเป็นเพื่อนที่แท้จริง ได้เข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นทุกคำที่พูด ด้วยความหวังดีที่จะให้เข้าใจถูก ไม่ได้ไปกล่าวร้ายใครเลยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าใครจะตำหนิ เราไม่มีสิทธิ์เลย แต่ว่าความถูกต้องคืออะไร พระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัติไว้แล้วคืออย่างไร สมควรที่จะประพฤติตามหรือไม่ หรือว่าไม่สมควรที่จะประพฤติตามไม่ใช่เรามีหน้าที่เป็นบอกว่าใครผิดใครถูก แต่ว่าเราแสดงความถูกต้องตรงทางพระธรรมวินัยให้ไตร่ตรองให้คิด แต่ว่าด้วยความหวังดีตลอด แม้แต่ที่แสดงก็ด้วยความหวังดีเพื่อประโยชน์ของผู้ฟังเองจะได้พิจารณาไตร่ตรองว่าอะไรถูกอะไรผิด ฟังความเห็นของคนอื่นพร้อมทั้งพระธรรมวินัยที่ได้ตรัสไว้ดีแล้วเพื่อที่จะไตร่ตรองว่าอะไรถูกอะไรผิด ซึ่ง การเข้าใจถูกต้อง เป็นประโยชน์ไหม นี่คือความหวังดีตลอดไป

    อ.คำปั่น ปลาบปลื้มมากครับ ก็ได้ฟังช่วงที่ท่านอาจารย์ก็เคยกล่าวว่าท่านอาจารย์เป็นมิตรเป็นเพื่อนกับทุกคน เมื่อมีบุคคลผู้ให้ แล้วในฐานะที่เป็นผู้รับจะปฏิเสธความเป็นมิตรเป็นเพื่อนของผู้ให้ได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นความหวังดีของเขาด้วยใช่ไหม แต่ว่าทั้งหมดนี้ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้เราติดข้อง แต่ให้รู้ความจริง เพราะฉะนั้นแม้ว่าเราจะได้ทำสิ่งที่เราได้ทำให้คนอื่นไม่สบายใจ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็แสดงความเข้าใจที่ถูกต้องให้เขาฟังด้วย และการรับนี่แสดงความเป็นมิตรหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นมิตรตลอดไป เพราะฉะนั้นการรับเป็นอาการของมิตรหรือไม่

    อ.คำปั่น ใช่ครับ


    หมายเลข 12049
    13 ส.ค. 2567