เจ็บกาย-ทุกข์ใจ


    ผู้ฟัง ทุกขเวทนากับสุขเวทนา ก็ต้องเป็นเวทนาชาติวิบากเท่านั้น ใช่ไหมคะ

    สุ. เกิดกับจิตอะไร

    ผู้ฟัง เกิดกับกายวิญญาณ

    สุ. ต้องเป็นวิบาก

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นความทุกข์ที่เกิดทางใจกับความสุขที่เกิดทางใจ อันนี้ก็ไม่ใช่ชาติวิบาก

    สุ. ค่ะ ใช้คำว่า โทมนัสกับโสมนัสได้ จะทำให้รู้ว่า ขณะนั้นเป็นเวทนาทางใจ

    ผู้ฟัง ทีนี้เวลาสิ่งที่ตกลงมาทำให้เราได้รับบาดเจ็บ แล้วเป็นความทุกข์ เราก็แยกไม่ออกว่า อันนั้นเป็นความทุกข์ที่เกิดกับกายวิญญาณ หรือว่าเป็นโทมนัส เพราะว่ารวมๆ กัน และเราเรียกว่า “ทุกข์”

    สุ. จะแยกทำไมคะ

    ผู้ฟัง เพราะว่าเป็นเวทนาที่ปรากฏ

    สุ. รู้ลักษณะของเวทนาว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง หรือเปล่า แล้วจะไปแยกอะไร แล้วจะไปรู้ หรือว่า ขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงลักษณะของสภาพของเวทนา ความรู้สึกนั้นเท่านั้น

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นลักษณะของทุกข์ที่เกิดกับกายวิญญาณ กับโทมนัสที่เกิดทางใจละคะ

    สุ. ลักษณะต่างกันอยู่แล้ว เจ็บที่กาย ไม่เหมือนกับความไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่แช่มชื่น เพราะความรู้สึกเจ็บ คิดถึงเจ็บที่กาย จะไปเหมือนกับความรู้สึกไม่แช่มชื่นได้อย่างไร คนละลักษณะค่ะ คัน ที่กายอีก กับลักษณะที่ไม่ชอบ ไม่แช่มชื่น ไม่ถูกใจ ขณะนั้นก็เป็นลักษณะที่ต่างกัน คัน ก็มีลักษณะของคัน ใช่ไหมคะ เจ็บก็มีลักษณะของเจ็บ ปวดก็มีลักษณะของปวด ความรู้สึกไม่พอใจ ขุ่นใจ ไม่แช่มชื่นก็เป็นลักษณะความไม่แช่มชื่นของใจ สภาพธรรมต่างกันอยู่แล้วค่ะ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 277


    หมายเลข 12109
    26 ส.ค. 2567