มโนทวารวิถี
เด่นพงศ์ สมมติว่าเป็นจักขุทวาร ก็เป็นจิตแค่เห็นว่า เป็นสีอะไร แต่ว่ามโนทวารถึงจะมีกิจรู้ว่าเป็นสีดอกไม้ เป็นสีคน เป็นสีเสื้อ ไม่แน่ใจว่า ผมเข้าใจอย่างนั้นจะถูกหรือไม่
สุ. ค่ะ คือ ทางที่จะรู้รูปจริงๆ ที่มีลักษณะปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้องมีรูปที่เกิด และกระทบกับปสาทรูป ขณะนั้นรูปมีอายุ ๑๗ ขณะ แสดงว่าจิตหลายขณะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ คือ รูปที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นรู้รูปที่ยังไม่ดับ เป็นจักขุทวารวิถีจิต เพราะฉะนั้นเราต้องแยกทวารก่อน จักขุทวารวิถีจิต คือ จิตทุกประเภทที่เกิดขึ้นรู้รูปที่ยังไม่ดับ และเมื่อรูปดับแล้ว ภวังคจิตเกิดสืบต่อ ดำรงภพชาติ แต่จากที่มีการเห็นทางตาที่ดับไปแล้ว ก็ทำให้มโนทวาราวัชชนจิต คือ มโนทวารวิถีจิต
ถ้าใช้คำว่า “วิถีจิต” ก็ต้องแยก จักขุทวารวิถี รู้รูปที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ โสตทวารวิถี ก็ได้ยินเสียงที่ยังไม่ดับ ฆานทวารวิถี รู้กลิ่นที่ยังไม่ดับ ชิวหาวิญญาณ หรือชิวหาทวารวิถีจิต ก็รู้รสที่ยังไม่ดับ กายทวารวิถีจิตก็รู้รูปที่กระทบกายที่ยังไม่ดับ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ต้องยังไม่ดับ แต่เมื่อรูปดับแล้ว ภวังคจิตเกิดต่อ แล้วมโนทวารวิถีจิตซึ่งไม่ได้อาศัยจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท จึงเป็นมโนทวารวิถี ถ้ายังอาศัยจักขุปสาท ต้องเป็นจักขุทวารวิถี ถ้าอาศัยโสตปสาท ต้องเป็นโสตทวารวิถี แต่เมื่อใช้คำว่า “มโนทวารวิถี” หมายความว่าขณะนั้นไม่ได้อาศัย จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กายเป็นทวาร เพราะฉะนั้นเมื่อภวังคจิตดับแล้ว มโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตที่เกิดอาศัยใจ คือ ภวังค์คุปเฉทะที่ดับไป เกิดขึ้น แล้วก็รู้อารมณ์ที่ดับไปแล้ว ๑ ขณะ หลังจากนั้นก็เป็นกุศลหรืออกุศล สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ สำหรับพระอรหันต์ก็เป็นกิริยา ขณะนั้นยังไม่มีการคิดนึก เรื่อง สิ่งที่ดับไปแล้ว แต่ว่ามีลักษณะของสิ่งที่ดับไปแล้ว มโนทวารรู้ทางใจอีกครั้งหนึ่ง
เด่นพงศ์ อาจารย์ใช้คำว่า ไม่ได้อาศัยจักขุทวาร แต่เมื่อกี้ผมยกตัวอย่างว่า เห็นแค่สีเฉยๆ
สุ. เดี๋ยวก่อนนะคะ ถ้าใช้คำว่า มโนทวารวิถี หมายความว่าไม่ใช่จักขุทวารที่อาศัยจักขุปสาท จิตที่อาศัยปสาทใด เป็นทวารวิถีนั้น เช่น จิตทั้งหมดกี่ขณะก็ตาม ที่อาศัยจักขุปสาท จิตทั้งหมดนั้นเป็นจักขุทวารวิถี คือ วิถีจิตที่อาศัยจักขุทวารเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ ถ้าเป็นโสตทวารวิถี ไม่ใช่มโนทวารวิถี จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยอาศัยโสตทวาร รู้เสียงที่ยังไม่ดับ เป็นโสตทวารวิถีจิต หมายความว่า แสดงว่าวิถีจิตเหล่านี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยโสตเป็นทวาร
เพราะฉะนั้นเมื่อใช้คำว่า “มโนทวารวิถี” หมายความว่าไม่ใช่จักขุทวารวิถีจิต ไม่ใช่โสตทวารวิถีจิต เป็นต้น จึงไม่ต้องอาศัยจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท ต้องแยกกันระหว่าง ๖ ทวาร คือ จิตที่อาศัยรูป ๕ ทวาร เป็นทวารวิถีที่อาศัยปสาทรูปนั้น สำหรับมโนทวารวิถี ชื่อบอกแล้ว ไม่ได้อาศัยจักขุทวาร โสตทวาร ไม่ได้อาศัยจักขุปสาท โสตปสาท แต่อาศัยมโน คือ ภวังคุปัจเฉทะที่ดับไป เป็นทวารให้มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงอะไรก็ได้ จะนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาที่ดับไปก็ได้ จะนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ก็ได้
เพราะฉะนั้นมโนทวารวิถีสามารถจะรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง
เด่นพงศ์ สมมติว่ามโนทวารนึกถึงสีเมี่อกี้นี้ ถึงจะรู้ว่าสีเหลือง
สุ. ยังไม่มีความคิด แต่ลักษณะของสิ่งนั้นที่ปรากฏทางทวารนั้นๆ ปรากฏเป็นอารมณ์ของมโนทวารวิถีก่อนวาระแรก อย่างเสียง ทางโสตทวารวิถีรู้เสียงนั้นดับไปแล้ว เสียงนั้นก็ดับไป มโนทวารวิถีจิตรู้เสียงนั้น มีเสียงนั้นแหละที่เพิ่งดับไปเป็นอารมณ์ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่า “มโนทวารวิถีจิต” วาระที่ ๑ วาระแรก จะไม่มีการคิดนึกใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ว่ามีอารมณ์ที่เพิ่งดับไปเป็นอารมณ์
เด่นพงศ์ ท่านอาจารย์ครับ ผมอยากเข้าใจเพียงง่ายๆ สั้นๆ ว่า สมมติว่า จักขุทวารเพียงแค่เห็นรูป
สุ. ที่ยังไม่ดับ
เด่นพงศ์ แต่ถ้าเป็นมโนทวาร ถึงจะรู้ว่าเห็นรูปอะไร อย่างนั้นพอจะอธิบายได้ไหมครับ
สุ. ค่ะ มโนทวารวิถีจิตรู้อารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถีจิตที่เพิ่งดับไปวาระแรก แล้วก็มีวาระหลังๆ ตามมา ที่จะคิดนึกเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ ต้องวาระหลังๆ
เด่นพงศ์ สมมติว่า คำถามสั้นๆ ว่า เห็นครั้งแรก เห็นเป็นสีเฉยๆ เป็นวัณณะเฉยๆ เป็นรูปเฉยๆ
สุ. ค่ะ
เด่นพงศ์ แต่กว่าจะรู้ว่าเป็นรูปดอกไม้ เป็นรูปแจกัน เป็นคน เป็นสัตว์
สุ. ต้องมโนทวารวิถี
เด่นพงศ์ พูดอย่างนี้ได้ใช่ไหมครับ
สุ. ได้ค่ะ
เด่นพงศ์ เพราะบางทีพวกผมใช้คำไม่ถูก ปัญจทวาราวัชชนจิต ปัญจทวาร ก็เป็นวิถีจิตอันหนึ่ง
สุ. ปัญจทวารกับปัญจทวาราวัชชนะ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ปัญจทวารเป็นรูป แต่ปัญจทวาราวัชชนะเป็นวิถีจิตแรก
เด่นพงศ์ ที่รู้เพียงแค่เป็นสี
สุ. รู้รูปที่ปรากฏแต่ละทวารได้
เด่นพงศ์ แต่ยังไม่รู้เป็นอะไร
สุ. ไม่เลยค่ะ รู้รูปที่ยังไม่ดับ จะเป็นอะไรไม่ได้ เพราะรูปนั้นยังเป็นอย่างนั้นอยู่
เด่นพงศ์ โดยนัยอย่างเดียวกัน ใช้กับทวารทั้ง ๕
สุ. ถูกต้องค่ะ
เด่นพงศ์ วิถีจิตที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นกิริยาจิต
สุ. และวิถีจิตคือจิตที่ไม่ใช่ภวังคจิต โดยอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่น เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นรู้ว่าอารมณ์กระทบทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร
สำหรับทางใจ ไม่ใช่ปัญจทวาราวัชชนจิต แต่เป็นกิริยาจิตที่เป็นมโนทวาราวัชชนจิต เพราะฉะนั้นรู้อารมณ์กระทบทางใจเป็นขณะแรก ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิต สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์จะเกิดขึ้น
ที่มา ...