ฟังท่านอาจารย์ แล้วก็นั่งสมาธิไปด้วยน่าจะดี
อ.ณภัทร ครั้งที่ฟังท่านอาจารย์ใหม่ๆ มีความคิดว่า ฟังท่านอาจารย์ไปด้วยแล้วก็นั่งสมาธิไปด้วยน่าจะดี เพราะว่าเราฟังท่านอาจารย์ในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ท่านอาจารย์ แค่คำว่าน่าจะดี ก็เป็นตัวตนแล้ว ไม่ต้องไปไกล เพียงแค่นั้นก็นำไปสู่ความเป็นตัวตนยิ่งขึ้น เพราะน่าจะดี ก็ทำตาม ทำตามโลภะไปตลอด
อ.ณภัทร ใช่ ถึงได้บอกว่า ช่วงแรกๆ โลภะนี้แนบเนียนมาก จึงฟังท่านอาจารย์ไปด้วย แล้วก็นั่งสมาธิไปด้วย คิดว่าน่าจะดี แต่ที่ท่านอาจารย์พูดว่า น่าจะดี ก็คือความเป็นเรา แต่เราไม่รู้เลยว่านั่นคือความเป็นเรา ที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่นั่นคือโลภะที่แฝงไว้โดยที่เราไม่รู้ เมื่อฟังไปเรื่อยๆ ก็เป็นสังขารขันธ์ ก็คือความคิดที่อยากจะนั่ง เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น ก็เริ่มลดลงๆ แล้วก็ไม่ได้นั่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาเกิด ไม่หวั่นไหวเลยในความเป็นอนัตตา อกุศลเกิดก็ไม่ใช่เรา เป็นธรรม โลภะเกิด ก็ไม่ใช่เรา เป็นธรรม แม้ขณะที่คิดว่าจะดี ขณะนั้นปัญญาหยั่งรู้ได้ ไม่ใช่เราที่คิด เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดทั้งหลาย ละได้เมื่อเกิดแล้วปัญญารู้ว่าผิด อย่างเช่น สีลัพพตปรามาส เวลาที่มีความเห็นผิด ยึดถือในความเห็นผิด ปฏิบัติผิดด้วย เมื่อมีความเห็นผิด ก็ทำตามความเห็นผิดนั้นได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เมื่อมีความเห็นผิดคิดว่าสมาธิดี แต่ไม่ได้รู้เลยว่าไม่ใช่เราแม้ขณะที่คิด ด้วยเหตุนี้ กว่าจะเป็นพระโสดาบัน ปกติอย่างนี้ทั้งหมดทุกอย่าง ซึ่งขณะนี้สภาพธรรมไม่ได้ปรากฏ เราพูดถึงจิต จิตก็ไม่ได้ปรากฏ พูดถึงผัสสเจตสิก ผัสสเจตสิกก็ไม่ได้ปรากฏ พูดถึงโลภะ โทสะ ก็ไม่ได้ปรากฏ เพราะเกิดปรากฏเป็นนิมิตแล้วดับ ไม่ได้ปรากฏเลยในลักษณะแท้ๆ ของเขา ซึ่งไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้น ก็มีความคิดที่จะไม่ทำอย่างนั้น เพื่อจะไม่เป็นอย่างนี้ หารู้ไม่ว่า แม้ขณะนั้นก็เป็นความคิด เพราะฉะนั้น กว่าจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ตามปกติเลยทุกอย่างที่มี ปัญญาเกิดขึ้นโดยความเป็นอนัตตา ถ้าคิดหวังรอ ไม่มีทาง ขณะนั้นกำลังเตรียมกำลังสงบ กั้นปัญญาหมด ด้วยเหตุนี้ เวลาท่านที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี เป็นปกติ ในขณะที่ล้างเท้า ท่านไม่ได้คิดว่าจะค่อยๆ บรรจงล้างเท้า ค่อยๆ ให้สติตามรู้อย่างนั้นอย่างนี้ แต่เป็นปกติ เพราะฉะนั้น สภาพของสติที่เกิด ปัญญาที่พร้อมที่จะรู้ก็เกิด แสดงความเป็นอนัตตาชัดแจ้ง ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงจะสามารถที่จะมั่นคงในความเป็นอนัตตาว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ดับอนุสัยกิเลสได้ ไม่เกิดอีกเลย แล้วก็ดับวิจิกิจฉานุสัยด้วย ความสงสัยในธรรม เช่น เวลาที่กล่าวถึงจิต ลักษณะของจิตไม่ได้ปรากฏ ย่อมเป็นของธรรมดาที่สงสัยว่าจิตเป็นอย่างไร แล้วกล่าวแต่ชื่อทั้งหมดเลย และเวลานี้ สภาพธรรมทั้งจิต เจตสิก ก็เกิดดับ นับประมาณไม่ได้เลย แต่อาศัยที่จะเข้าใจได้ โดยการแสดงความละเอียดยิ่งของวิถีจิต ของจิตแต่ละหนึ่ง เกิดดับสืบต่อตามลำดับ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงไว้ พระอรรถกถาจารย์ ท่านก็ประมวลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฏกมาเป็นจิตแต่ละประเภท เจตสิกแต่ละประเภท เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องละ ต้องไม่ลืม และการที่จะละก็ไม่ใช่เราพยายาม แต่ปัญญาเกิดขึ้นรู้ ก็ละ
ที่มา ฟัง และ อ่านเพิ่มเติม