ถ้าไม่มีจิต ก็จะไม่มีบัญญัติ


    สภาพธรรมนั้นๆ ยังไม่ปรากฏกับบุคคลใด ก็ยังไม่แจ่มแจ้งกับบุคคลนั้น

    เพราะฉะนั้นเวลาที่เรารู้ว่าขณะนี้ มีจิต เจตสิก รูปก็จริง แต่ถ้าไม่มีคำสำหรับเรียก เราสามารถที่จะรู้ความต่างของจิตกับเจตสิกไหมคะ จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ แต่จิตไม่โกรธ จิตไม่ดีใจ จิตไม่จำ จิตไม่เมตตา นั่นเป็นหน้าที่ของสภาพธรรมที่เกิดกับจิตเป็นเจตสิกประเภทต่างๆ ซึ่งจิต ๑ ขณะเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ชนิด หรือ๗ ประเภท

    เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า เวลาที่เราจำเป็นจะต้องใช้คำ เพื่อที่จะแสดงความต่าง หรือว่าชื่อต่างๆ ก็เพราะเหตุว่าขณะนั้นมีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ จึงสามารถคิดคำ ถ้าไม่มีจิตที่คิดคำ หรือเรื่องราวต่างๆ คำหรือเรื่องราวต่างๆ ก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้นสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม มีลักษณะจริงๆ เกิดดับจริงๆ แต่ต้องอาศัยคำซึ่งเป็นบัญญัติ เรียกสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ให้หมายรู้ว่า หมายความถึงสิ่งใด เช่นถ้าพูดถึงจิต ไม่ได้หมายความถึงเจตสิก ไม่ได้หมายความถึงรูป และคำต่างๆ การนึกคิดเป็นบัญญัติ เป็นอารมณ์ของจิต ถ้าไม่มีจิต ก็จะไม่มีบัญญัติ


    หมายเลข 1977
    27 ส.ค. 2567