อธิปติปัจจัย กับ อธิบดี


    ปัจจัยที่ ๓คืออธิปติปัจจัย

    ชื่อของปัจจัยต่าง ๆ ท่านผู้ฟังคุ้นหูในภาษาไทย แต่ว่ายังไม่ได้ทราบว่า โดยสภาพธรรมตามความเป็นจริง ได้แก่อะไรเช่น“อธิปติ”ในภาษาไทยใช้คำว่า“อธิบดี” ธรรมที่เป็นปัจจัยโดยเป็นใหญ่

    โดยทั่วไปเวลาใช้คำว่าเหตุปัจจัย เป็นคำไวพจน์ได้ หมายความว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ถ้าจะกล่าวแยก ปัจจัยมีหลายปัจจัย ปัจจัย คือ สภาพธรรมที่อุปการะ เกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่นเกิดร่วมด้วย หรือว่าเกิดขึ้นในภายหลัง หรือในภายหน้าต่อจากปัจจัยนั้นก็ได้ โดยที่ว่าปัจจัยบางปัจจัยนั้นไม่ใช่เหตุ คือ ไม่ใช่เจตสิก ๖ ดวง

    เพราะฉะนั้นถ้าพูดโดยกว้าง ๆ จะใช้คำว่าเหตุ จะใช้คำว่าปัจจัย ความหมายเหมือนกัน เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกันได้แต่ถ้าจะกล่าวโดยแยกปัจจัย ได้แก่ ธรรมใด ๆ ก็ตามที่เกื้อกูลอุปการะให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น และปัจจัยนั้นมีหลายชนิด ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเหตุเท่านั้น ซึ่งได้แก่เจตสิก ๖ ดวง ที่เป็นเหตุเห-ตุปัจจัย ยังมีปัจจัยอื่น ซึ่งแม้ไม่ใช่เจตสิก ๖ ดวงก็สามารถที่จะอุปการะ ส่งเสริม อุดหนุนทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นได้ เพราะนอกจากเจตสิก ๖ ซึ่งเป็นเห-ตุปัจจัยธรรมอื่นทั้งหมดคือ ปรมัตถธรรมอื่น เช่น จิต เจตสิกรูป นิพพานและแม้บัญญัติ ก็เป็นปัจจัยได้ แต่ว่าสภาพธรรมอื่น นอกจากเจตสิก ๖ ไม่ใช่เห-ตุปัจจัย


    หมายเลข 2304
    29 ส.ค. 2558