กุศลเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของโลภะได้
ท่านผู้ฟังชอบกุศลจิตใช่ไหมคะ ? ชอบหรือไม่ชอบ จริง ๆ แล้ว ต้องหยั่งลงไปถึงใจอีก เพราะเหตุว่าบางทีฟังชื่อดู ก็น่าชอบ ใช่ไหม กุศลจิตดีงาม น่าที่จะปรารถนา ต้องการพอใจแต่ลึกลงไปจริง ๆจะชอบสักแค่ไหน แต่ว่าโดยทั่ว ๆ ไปทุกท่านก็ปรารถนาที่จะมีจิตที่ดีงามขณะใด ขณะนั้นกุศลประเภทนั้น ๆ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของกุศลจิตก็ได้ หรือของโลภมูลจิตก็ได้
โลภมูลจิตนี้ จะกล่าวได้เลยว่าหนีไม่พ้น แม้แต่เป็นกุศลอารมณ์เป็นกุศล ขึ้นอยู่กับโยนิโสมนสิการว่า อารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น เป็นอารมณ์ของกุศลจิต หรือว่าเป็นอารมณ์ของโลภมูลจิต
ธรรมนี้ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ถ้าไม่ตรงเพียงนิดเดียว หรือว่าเข้าใจผิด แทนที่กุศลจะเจริญ อกุศลเจริญเสียแล้ว โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นการที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ก็ต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ จึงจะสามารถรู้ได้ว่า ขณะที่กำลังนึกถึง คิดถึงกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด ขณะนั้นเป็นจิตที่เป็นกุศล หรือเป็นโลภมูลจิต
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ว่าโลภะ อะไรก็กินเรียบหมด เว้นแต่อารมณ์ของโลกุตตระ แต่ถ้าเป็นกุศล เป็นปัจจัยต่อให้เป็นกุศลอีกได้ใช่ไหมครับ ?
ท่านอาจารย์ กุศลจิตเป็นอารมณ์ของกุศลจิตได้ เวลาที่นึกถึงกุศลแล้วเกิดปลาบปลื้ม ผ่องใสในกุศลที่ได้กระทำแล้ว ในขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตได้ แต่ถ้าทำกุศลแล้ว อย่าลืมต้องพิจารณาว่าถ้าเกิดดีใจว่า เรา ตัวเรานี้ได้กระทำกุศลอย่างใหญ่สำเร็จลงไปแล้วกุศลหรือเปล่า ขณะนั้น
ผู้ฟัง
ท่านอาจารย์ มานะได้ไหม สำคัญตนได้ไหมว่าเราได้กระทำกุศลอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเรื่องของกุศลจิตและอกุศลจิตเป็นเรื่องที่จะต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้ในขณะนั้นจึงจะรู้ความต่างกันเวลาที่กระทำกุศลแล้วนึกถึงกุศลแล้วเกิดเบิกบานผ่องใสในกุศล ไม่ใช่ด้วยความสำคัญตน นี้ต่างกันใช่ไหม ?
ผู้ฟัง
ท่านอาจารย์ หมายความว่าไม่ทิ้งอารมณ์นั้นเลย เพราะเหตุว่าท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ลืมตามาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้โลภมูลจิตเกิดนับไม่ถ้วน ทางตาที่เห็น ทางหูที่ได้ยิน ทางจมูกที่ได้กลิ่น ทางลิ้นที่ลิ้มรส รับประทานอาหารทุกวันๆ ที่พอใจ โลภมูลจิตหรือเปล่า ถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทสมูลจิต ไม่ใช่ความรู้สึกที่ไม่แช่มชื่นแล้วละก็ ขณะนั้นก็รับประทานด้วยโลภะ
ทางกายที่กระทบสัมผัสก็กระทบสัมผัสสิ่งที่พอใจถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทสมูลจิต หรือไม่ใช่กุศลจิตเพราะฉะนั้นโลภะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ แต่ว่าขณะใดบ้างซึ่งรู้สึกว่า ปรารถนาต้องการอารมณ์ใดบางอารมณ์ในวันนี้ อารมณ์นั้นในขณะนั้นเป็นอารัมมณาธิปติ ไม่ใช่เป็นเพียงอารัมมณปัจจัย
ผู้ฟัง
ท่านอาจารย์ นิพพานหรือโลกุตตรธรรม
เพราะฉะนั้นอารัมมณาธิปติปัจจัยนี้นอกจากกุศลจิต และที่เป็นโลกียกุศลแล้ว โลกุตตรกุศลก็เป็นอารัมมณธิปติปัจจัย แต่เป็นอารัมมณธิปติปัจจัยแก่เฉพาะกุศลญาณสัมปยุตต์ หรือว่ากิริยาจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์เท่านั้น จะไม่เป็นปัจจัยแก่โลภมูลจิตเลย ถ้าเป็นฝ่ายโลกุตตรธรรม แต่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของกุศลญาณสัมปยุตต์ และกิริยาญาณสัมปยุตต์ได้ หลังจากที่บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ก็จะมีการพิจารณามัคคจิต ผลจิต และนิพพาน กิเลสที่ดับและกิเลสที่เหลือขณะนั้นเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ที่พิจารณาโลกุตตรจิตถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ที่พิจารณาโลกุตตรธรรม
เพราะฉะนั้นฝ่ายสูงสุดของอารัมมณาธิปติก็ได้แก่ โลกุตตรธรรมซึ่งจะไม่เป็นปัจจัยของโลภมูลจิตเลยโลภมูลจิตไม่มีทางที่จะมีโลกุตตรธรรมเป็นอารมณ์แต่ว่าสำหรับกุศลอื่น ทานศีลหรือสมถภาวนาไม่ว่าจะเป็นรูปาวจรกุศลอรูปาวจรกุศลทั้งหมด ก็ยังเป็นอารมณ์ของโลภมูลจิตซึ่งเป็นอารัมมณธิปติปัจจัย ไม่ใช่อารมณ์ธรรมดาที่ผ่านไปวันหนึ่ง ๆ แล้วก็เกิดโลภะ แต่เป็นอารมณ์ซึ่งมีกำลังชักจูงให้จิตประเภทนั้น ๆ เกิดขึ้นได้