โ ค สิ ง ค ส า ล สู ต ร


    ผู้ฟัง พระอริยสงฆ์ที่อยู่ในป่า มีพระอานนท์ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอนุรุทธะ และจากคำสนทนา พระโมคคัลลานะถามพระสารีบุตรว่า ในป่าโคสิงคสาลวันแห่งนี้สวยงามด้วยภิกษุ เพียงไร พระสารีบุตรตอบว่า พระภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังจิตให้เป็นไปแต่อำนาจ แต่ไม่ใช่เป็นไปในอำนาจของจิต เธอหวังจะเข้าฌาณสมาบัติใด เวลาไหน เช้า เที่ยง เย็น ก็สามารถทำได้ในเวลานั้น ข้อความนี้ฟังๆ คล้ายกับว่าจิตมีสภาพบังคับได้เป็นตัวเป็นตน ก็มาค้านกับความรู้สึกของผมเอง

    ท่านอาจารย์ ค้านกับคำที่พระผู้มีพระภาคตรัส เพราะว่าตรัสไว้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ขอให้ได้ฟังเรื่องโคสิงคสาลสูตร

    อ.ประเชิญ คือยกขึ้นมา ข้อความอาจจะไม่ครบถ้วน ข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขอได้ฟังซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตรงตามพระไตรปิฎก

    อ.ประเชิญ ข้อความจากพระไตรปิฎกโดยตรง คือที่ท่านผู้ถามได้ถามในเรื่องของคำกล่าวของท่านสารีบุตร คือ มาจากมหาโคสิงคสาลสูตร ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ว่า มีภิกษุที่เป็นพระอรหันต์หลายรูป ตั้งแต่ท่านพระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อต้องการฟังธรรม และก็ได้มีการถามกันว่า ในป่าโคสิงคสาสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละไม้ดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ป่านี้จะงามด้วยภิกษุเช่นไร คือก็มีการถามซึ่งกัน และกันว่าจะงามด้วยภิกษุเช่นไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเย็น เปรียบเหมือนพระราชาที่มีหีบผ้าหลากสี หวังจะห่มด้วยผ้าคู่ใดสีใด ก็ห่มด้วยผ้าคู่นั้นสีนั้น นี้ก็เป็นคำกล่าวของท่านพระสารีบุตร ก็เป็นข้อความบางส่วนที่ท่านกล่าว ซึ่งท่านใช้คำว่า ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปในอำนาจของจิต นี้คือข้อความที่ท่านสงสัยใช่ไหม

    ผู้ฟัง คล้ายๆ ว่าจะบังคับจิตได้ ความหมายใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าฟังเพียงเท่านี้ แล้วก็ไม่ฟังส่วนอื่นประกอบ ก็จะไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วท่านพระสารีบุตรมีหรือเปล่า หรือว่ามีแต่สภาพธรรม คือจิต และเจตสิก ซึ่งสะสมสืบต่อมา แสนโกฎิกัปที่จะได้เป็นพระอัครสาวก เพราะฉะนั้นความชำนาญ หรือว่าการสะสมของสังขารขันธ์ ที่จะเป็นไปในวันหนึ่งๆ ก็เป็นเฉพาะท่านพระสารีบุตร พระภิกษุแต่ละรูปหรือว่าเราแต่ละคนก็เช่นเดียวกัน เกิดมานานแสนนาน ขณะนี้จะคิดไหมคะว่า ความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงคิดอย่างนี้ ทำไมถึงพูดอย่างนี้ ทำไมถึงทำอย่างนี้ แต่ละคนก็ตามการสะสม เพราะฉะนั้นการสะสมของผู้ที่เป็นอัครสาวก ก็จะมีปัจจัยซึ่งทำให้เป็นไปอย่างที่ได้กล่าวไว้ แต่ว่าจริงๆ แล้วก็คือสภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งเป็นอนัตตา ต้องประกอบกันหมดทุกข้อความ ไม่ใช่ว่าตอนนี้เป็นอัตตา ตอนนั้นเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ

    ท่านอาจารย์ อะไรยัง ไม่ใช่ตัวท่านแน่ แต่เป็นสังขารขันธ์ที่ได้สะสมมา

    ผู้ฟัง พระโมคคัลลานะมีฤทธิ์ พระอนุรุทธะที่สามารถระลึกชาติได้ ก็เป็นการใช้จิตใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครใช้เลย การสะสมที่เป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่งให้ท่านเป็นเอตทัคคะในทางต่างๆ ขณะนี้ที่เรากำลังคิดอย่างนี้ เราเตรียมคิดมาก่อนรึเปล่า หรือว่ามีปัจจัยปรุงแต่งให้คิดอย่างนี้เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง คือผมเข้าใจของผมเอง เข้าใจว่าจิตเมื่อฝึกไปแล้วจะมีตัวตนให้บังคับใช้ได้ตามปรารถนา

    ท่านอาจารย์ แต่ก็ไม่ใช่ตัวตน แต่ว่าเป็นสังขารขันธ์ทั้งหมดเลย เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม เป็นจิต เจตสิก รูป ไม่มีตัวตน คนที่เหาะเหินเดินอากาศ มีอิทธิปาฏิหารย์ในครั้งพุทธกาลมีไหม (ใช่ครับ) แต่ต้องรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นการสะสมของสังขารขันธ์ ทั้งหมดเป็น จิต เจตสิก รูป ต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมจริงๆ เป็นอนัตตาจริงๆ แล้วทุกอย่างจะเข้าใจได้ ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคง ว่าไม่มีเราแต่มีสภาพธรรม ก็จะเข้าใจข้อความในพระไตรปิฎกได้ว่า แม้อย่างนั้นก็คือสภาพธรรม ที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั่นเอง

    ผู้ฟัง ผมเป็นผู้เข้ามาใหม่ในวงการนี้ คือปฏิบัติผมเป็นมานานแล้ว แต่ว่าในเรื่องลงมือปฏิบัติ เพื่อจะให้พ้นจากอบายภูมิ เพิ่งมาฟังจากอาจารย์เดือน มกรา ผมมาเริ่มเอาจริงเอาจัง ทีนี้ผมก็เลยมาสะดุดตรงนี้ สะดุดอย่างแรงที่เรียนถามอาจารย์

    ท่านอาจารย์ มีข้อความอย่างนี้ในพระสูตร ซึ่งผู้ที่ไม่ได้ศึกษา และไม่มั่นคงในความเป็นอนัตตา แต่เข้าใจว่าเป็นอัตตา และเข้าใจว่าทำได้ แต่ความจริงแล้วไม่มีใครทำ นอกจากสภาพธรรม ขณะเห็นเราทำได้ไหม (คนละขณะ) แล้วขณะไหนที่เราทำ (ขณะที่ทำ) ทำยังไง ทำอันไหน จะทำขณะไหน (หยิบกล่อง) นี่คือเราหรือ (สภาพธรรมที่ปรากฏ) ถ้าไม่มีจิต มือจะเคลื่อนไหวได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นเราหรือจิต (จิต) ก็ต้องเป็นจิต ก็ไม่ใช่เรา (สภาพรู้) ทั้งหมดก็ไม่มีเราเลย

    ผู้ฟัง ถ้าจิตมันกันจิตสังขารไปให้หมดแล้ว จะไปเข้าเนวสัญญานาสัญญา ใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ นั่นไม่ใช่หนทาง ไม่ได้เลย ทั้งหมดคือ จิต เจตสิก แม้แต่เมื่อยกมือแล้วคิดว่าทำได้ ความจริงก็คือจิต ถ้าไม่มีจิตจะยกไม่ได้เลย (จิตก็ไม่ใช่เราด้วย) จิต เจตสิก รูป จิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้

    ผู้ฟัง แล้วเวลาจะฝึกทำให้จิตว่างต้องทำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ มีรูปหรือเปล่า ถ้าไม่มีรูปยกได้มั้ย (ไม่มี) ถ้าไม่มีจิตที่จะต้องการยก รูปนั้นจะเคลื่อนไหวไปที่จะยกได้ไหม (ไม่ได้) ที่เข้าใจว่าเป็นเรายก ก็คือจิต เจตสิก ที่ทำให้รูปนั้นเคลื่อนไหวไป

    ผู้ฟัง ในคำพูดที่ว่าสังขารขันธ์ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สังขารขันธ์ หมายความถึงเจตสิก ๕๐ ต้องมีสังขารธรรม สังขารขันธ์ และอภิสังขาร

    ผู้ฟัง ถ้าจะปฏิบัติให้ได้ผล ค่อนข้างจะมั่นใจ จำเป็นต้องศึกษาอภิธรรมไหม

    ท่านอาจารย์ อภิธรรมคืออะไร คือทุกอย่างอย่าผ่านไปโดยไม่รู้ (เป็นคำภีร์หนึ่งในพุทธศาสนา) ไม่ใช่ เป็นคัมภีร์หรือเป็นสภาพธรรม มีตัวธรรมจริงๆ หรือมีแต่กระดาษ กับหนังสือ

    ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์บรรยายศัพท์ทางอภิธรรมมากมาย ที่ฟังแล้วไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เลยว่าถ้าหากเราจะปฏิบัติจริงๆ จำเป็นไหมต้องศึกษาตัวนี้ให้เข้าใจก่อนหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ปัญญาใช่ไหม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นมรรค ในมรรคมีองค์ ๘ แล้วมีหรือเปล่า ถ้าไม่มีแล้วอะไรจะปฏิบัติ สัมมาทิฏฐิปฏิบัติ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ปฏิบัติกิจของสภาพธรรมนั้นๆ ไม่ใช่เราเลย เพราะฉะนั้นปัญญาต้องมี จึงจะปฏิบัติได้ ตามกิจของปัญญา ว่าปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูก เข้าใจถูก ถ้าไม่มีแล้วจะเอาอะไรปฏิบัติ หรือจะปฏิบัติอะไร

    ผู้ฟัง ปัญญาจะเห็นถูก เข้าใจถูก ก็ต้องมาจากสุตมยปัญญา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง การฟัง การศึกษา

    ผู้ฟัง สุตมยปัญญา ก็ต้องมาจากการศึกษาพระอภิธรรมอยู่ดี โยงไปถึงตรงนั้นหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจธรรม ธรรมกับอภิธรรมนี้แยกกันหรือไม่ (อภิธรรมเป็นส่วนหนึ่งของธรรม) อย่างนั้นคือเราไปอ่านเรื่องราว แต่เราไม่รู้จักตัวธรรมเลยว่า แท้ที่จริงแล้วธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ

    ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์บรรยายออกทางวิทยุ จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น คั่นด้วยภวังคจิต แล้วจิตดวงต่อไปก็เกิดขึ้น คำว่าภวังคจิตผมไม่เข้าใจเลยว่าจิตเกิดดับเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจตั้งแต่คำแรกคือ ธรรม ทุกคำที่ได้ยินเหมือนอย่างตอนแรกก็พูดเรื่องสมถะ วิปัสสนา คู่กันด้วย พูดอย่างนั้น แต่ก่อนที่จะคู่กัน หรือไม่คู่กันอย่างไร ต้องเข้าใจถูกต้องว่า สมถะคืออย่างไร วิปัสสนาคืออย่างไร เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ที่จะพูดถึงอะไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าคืออะไรก่อน ถ้ายังไม่เข้าใจสิ่งนั้น แล้วจะไปพูดอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ต้องเข้าใจว่าคืออะไรเสียก่อน จิตคืออะไร ธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง ก็เลยมาเรียนถามย้ำ ถามอาจารย์อีกครั้งว่า จำเป็นไหมต้องศึกษาอภิธรรม เพื่อให้การปฏิบัตินั้นไม่เบี่ยงเบนออกจากทาง

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเป็นธรรมหรือเปล่า (อันนี้เข้าใจ) ถ้าไม่ฟังธรรมจะเข้าใจธรรมได้ไหม ถ้าฟังเรื่องไหนก็เข้าใจเรื่องนั้น ฟังเรื่องทำกับข้าวก็รู้เรื่องทำกับข้าว แต่ถ้าไม่ฟังธรรมจะเข้าใจธรรมได้มั้ย

    ผู้ฟัง จับใจความประเด็นที่อาจารย์พูดอย่างนี้ ออกมาว่าถ้าอยากจะรู้เรื่องไหน ก็ต้องศึกษาเรื่องนั้น

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะเข้าใจธรรม ยังไม่ต้องถึงปฏิบัติธรรม แต่ต้องเข้าใจธรรมเสียก่อน ถ้าไม่ฟังธรรม ไม่เข้าใจธรรม ปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องมีปัญญาตามระดับขั้น คือขั้นฟังก่อน

    อ.กุลวิไล ขาดไม่ได้ สำหรับการที่จะศึกษาทั้ง ๓ ส่วน ก็คือทั้งพระวินัยพระสูตร พระอภิธรรม โดยเฉพาะพระอภิธรรมลึกซึ้งโดยสภาวะ จะเห็นความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่มี ต้องศึกษาพระอภิธรรม


    หมายเลข 2617
    22 ก.ย. 2567