อารัมมณปัจจัย กับ อารัมมณาธิปติปัจจัย


    มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ? ในเรื่องของอธิปติปัจจัยในชีวิตประจำวัน

    ทรง. ขอให้อาจารย์ช่วยขยายความอีกว่าอารัมมณปัจจัยกับอารัมมณาธิปติปัจจัยต่างกันอย่างไร อธิบดีก็หมายถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นใหญ่นั้นก็เป็นอธิปติปัจจัย เป็นอารมณ์การพูด ก็หมายความว่ารูปทั้งหมดที่เป็นอารัมมณธิปติปัจจัยไม่ได้ หมายความว่า

    ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษนะคะ รูปธรรมเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของโลภมูลจิตได้ แต่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของกุศลจิตไม่ได้ตามความเป็นจริงทุกท่านทิ้งรูป ทิ้งได้ไหม ไม่ให้เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ให้ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหูหมดความสนใจใยดีในสิ่งที่สวย ๆ งาม ๆ ทางตา ในเสียงที่เพราะ ๆ ในกลิ่นหอม ๆ ในรสที่อร่อย ในโผฏฐัพพะที่เป็นสุขทิ้งได้ไหม

    ทรง. บางครั้งก็ทิ้งได้

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นรูปเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจัย แต่เวลาที่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ให้สังเกตดูว่าเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของโลภมูลจิต ซึ่งไม่ทิ้งอารมณ์นั้น ทิ้งได้เดี๋ยวเดียวใช่ไหม เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยใหม่อีกแล้ว

    ทรง. ก็ทิ้งได้เดี๋ยวเดียวขณะนั้นก็เป็นอารัมมณาธิปติแล้วนี่ครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ค่ะ เพราะเหตุว่าเป็นอารัมมณาธิปติ เมื่อเวลาเป็นอารมณ์ที่หนักแน่น ไม่ควรทอดทิ้ง แต่เวลาที่กุศลจิตเกิด ไม่ได้ปรารถนาไม่ได้ต้องการ ไม่ได้ติดเพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่อารัมมณาธิปติปัจจัย แต่ถ้าเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ต้องเป็นอารมณ์ที่ไม่ควรทอดทิ้ง เพราะฉะนั้นจึงเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของโลภมูลจิต ไม่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของ โทสมูลจิตเพราะเหตุว่าโทสมูลจิตไม่ปรารถนาในอารมณ์นั้น

    ทรง. คำจำกัดความอารัมมณาธิปติว่าอย่างไรครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมที่เป็นปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ที่ควรได้ ไม่ควรทอดทิ้ง ไม่ควรดูหมิ่น ด้วยอำนาจความเคารพยำเกรง หรือด้วยอำนาจความปรารถนา นี่คือลักษณะของอารัมมณาธิปติปัจจัยสภาพธรรมที่เป็น “อารัมมณาธิปติปัจจัย”

    ชีวิตประจำวัน จริงๆแล้วเป็นอย่างนี้ อารมณ์ที่ไม่ควรทอดทิ้งทั้งหลายที่กำลังปรารถนาขณะใด ขณะนั้นไม่ใช่เป็นแต่เพียงอารัมมณปัจจัยของโลภมูลจิตซึ่งเกิดอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำแต่ว่าเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแล้ว

    ถ้าเป็นรูป รูปทั้งหมดที่ปรารถนาเป็นอารัมมณธิปติปัจจัยของโลภมูลจิต บางท่านอาจจะบอกว่า ปรารถนาที่จะถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ถูกไหมคะ เกิดกุศลจิต ขณะที่มีรูปเป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารัมมณาธิปติปัจจัย ไม่มีกำลังโดยที่ว่าเมื่อเห็นรูปนั้นแล้ว กุศลจะเจริญขึ้นเรื่อย ๆหรืองอกงามไพบูลย์ แต่ที่กุศลจะเจริญงอกงามไพบูลย์เพราะกุศลก่อน ๆ ที่ได้กระทำแล้ว หรือเวลานึกถึงกุศลที่ได้กระทำแล้ว นึกถึงสภาพที่เป็นกุศล แล้วจิตก็ผ่องใส ว่าขณะที่ทำเป็นกุศลแท้ๆ ไม่ได้ปรารถนาสิ่งใดเลย ในขณะนั้นก็เป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด แต่ไม่ใช่ไปนึกถึงวัตถุทานซึ่งเป็นรูป แล้วกุศลจะผ่องใสได้มากมาย แต่ว่าขณะใดก็ตามที่นึกถึงวัตถุทานที่ประณีต สติสัมปชัญญะควรจะเกิดระลึกรู้ว่า ในขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตหรือเปล่าแม้แต่ในขณะที่กระทำทานกุศล ถ้าอารมณ์ประณีตกำลังปรากฏ ในขณะที่กำลังกระทำกุศล สติสัมปชัญญะก็ควรที่จะระลึกรู้ตามความเป็นจริงว่า ในขณะที่รูปซึ่งประณีตกำลังเป็นอารมณ์นั้นเป็นโลภมูลจิตหรือเป็นกุศลจิต

    นี่คือการที่จะอบรมเจริญกุศลแท้ ๆ ยิ่งขึ้นคือสามารถที่จะแยกรู้ลักษณะของจิต ซึ่งเป็นอกุศลได้ว่าต่างกับขณะที่เป็นกุศลถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะทราบไหมว่าความพอใจในวัตถุทานเป็นโลภมูลจิต หรือว่าเป็นกุศลจิต ใกล้ชิดกันมากเพราะฉะนั้นถ้าไม่สังเกตจริง ๆไม่สามารถที่จะแยกลักษณะของโลภมูลจิตออกในขณะที่กำลังกระทำกุศลประเภทหนึ่งประเภทใดถ้าอาหารที่จะถวายพระภิกษุมีรสอร่อยแยกได้ไหมว่าขณะไหนเป็นกุศลจิต ขณะไหนเป็นอกุศลจิตหรือจะเหมารวมไปว่าเป็นกุศลทั้งนั้น ถ้าเหมารวมว่าเป็นกุศลทั้งนั้น ผิดหรือถูก

    เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียดแม้แต่ในการที่จะพิจารณาเมื่อมีความเข้าใจที่จะให้ตรึกตรองพิจารณาเพิ่มขึ้นจึงเกื้อกูลอุปการะในขณะที่ทำกุศลที่จะให้สติระลึกได้ว่า แม้ในขณะนั้นจิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล สติสัมปชัญญะก็จะต้องตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้น ๆ ตามความเป็นจริง เมื่อเป็นอกุศลจิตก็เป็นอกุศลจิต เมื่อเป็นกุศลจิตก็เป็นกุศลจิต ซึ่งไม่ใช่เรา อกุศลจิตก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา กุศลจิตก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา

    แต่การเข้าใจเรื่องของปัจจัย จะทำให้เห็นความเป็นอนัตตาละเอียดขึ้น


    หมายเลข 2646
    29 ส.ค. 2558