นัยของการเจริญอานาปานสติ
ในวิสุทธิมรรคนั้นเป็นเรื่องของการเจริญสมถภาวนา มีโดยนัยของการนับ โดยนัยของการตาม โดยนัยของการผูก หลายนัยด้วยกัน
ในพระไตรปิฎกมีเท่าที่ได้อ่านในตอนต้น ข้อความของอานาปานบรรพมีเท่าไหร่ ก็ได้อ่านให้ฟังตั้งแต่เบื้องต้นว่า ในมหาสติปัฏฐานสูตรมีข้อความเพียงเท่านั้นในเรื่องของอานาปานบรรพ แต่ก็เห็นว่าอานาปานสตินั้น เป็นทั้งเจริญโดยนัยของสมถะก็ได้ เจริญโดยนัยของวิปัสสนาก็ได้ ส่วนใดที่เป็นโดนนัยของวิปัสสนาก็อยู่ในมหาสติปัฏฐานเท่าที่ข้อความมีอยู่ แต่ส่วนในพระสูตรอื่นๆ หรือในที่อื่นๆ นั้น เป็นการเจริญอานาปานสติสมาธิ แล้วก็ได้ทรงแสดงว่า การเจริญอานาปานสติสมาธิอย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับในอานาปานบรรพนี้ ก็มีข้อความจริงที่ได้อ่านให้ฟังตั้งแต่ตอนต้น
เป็นเรื่องของสติที่จะระลึกรู้ ทุกระยะของลมหายใจ ไม่ว่าเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น สติจะต้องระลึกรู้เพียงสภาพลักษณะของลมนั้นชัดเจนถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อละเพื่อคลาย ไม่ใช่เพื่อให้เกิดนิมิต ไม่ใช่เพื่อให้ละนิวรณ์เป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการเจริญอานาปานสติภาวนาที่เป็นมหาสติปัฏฐานต่างกับที่เป็นสมถภาวนา ที่เป็นสมถภาวนานัยมากมายกว่านี้ แต่ว่าในมหาสติปัฏฐานไม่มากอย่างนั้น เพราะเหตุว่าเป็นเพียงสติที่ตามระลึกลมหายใจ ไม่ว่าจะในลักษณะใด ให้รู้ลักษณะนั้นตามความเป็นจริง แต่ไม่ใช่จุดประสงค์ที่จะให้สงบเป็นสมาธิ
ต่อไปในอีกนัยหนึ่ง ไม่ใช่นัยของการเจริญสติที่เป็นอานาปานบรรพในมหาสติปัฏฐาน ไม่อยู่ในมหาสติปัฏฐานในทีฆนิกาย ที่เป็นอานาปานบรรพ ที่เป็นการเจริญวิปัสสนาเท่านั้น ที่ได้เรียนให้ทราบแล้วอานาปานสติสมาธิเป็นสมถภาวนา ผู้ที่เคยเสพเคยเจริญจนคุ้นเคยแล้ว และก็เป็นผู้ได้ฟังธรรมเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานด้วย อานาปานสติสมาธินั้นเจริญอย่างไรจึงจะมีผลมากมีอานิสงส์มาก ก็ต้องเป็นการเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ในขณะที่หายใจเข้าในขณะที่หายใจออกนั่นเอง