การให้ผลของกรรมโดยประเภทของกรรม
ท่านอาจารย์ สำหรับลำดับการให้ผลของกรรม โดยประเภทของกรรม คือ
ประเภทของกรรมที่มีกำลังในการให้ผล มี ๔ คือ ครุกรรม ๑ พหุลกรรม ๑ อาสันนกรรมหรือยทาสันนกรรม ๑ กฏัตตาวาปนกรรม ๑
สำหรับลำดับการให้ผลของกรรม โดยประเภทของกรรม คือ
ครุกรรม เป็นกรรมหนัก ย่อมให้ผลก่อน
พหุลกรรม คือ กรรมที่มีกำลัง หรือกรรมที่เสพคุ้น เพราะเหตุว่าบางกรรมถึงทำไปแล้วก็ไม่ได้นึกถึงอีกเลย ก็มีใช่ไหมคะ แต่บางกรรมทำแล้วไม่ลืม ทำแล้วยังระลึกบ่อยๆ เพราะฉะนั้นกรรมที่มีกำลังหรือเสพคุ้น คือ ทำไปแล้วก็ยังระลึกถึงอีกเนืองๆ นั้นเป็นพหุลกรรม
อีกกรรมหนึ่ง คือ อาสันนกรรม บางแห่งใช้คำว่า ยทาสันนกรรม ได้แก่ กรรมที่ทำใกล้จะจุติ
และอีกกรรมหนึ่ง คือ กฏัตตาวาปนกรรม คือ นอกจากครุกรรม พหุลกรรม และอาสันนกรรมแล้ว ก็เป็นกฏัตตาวาปนกรรม กรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้กระทำที่ไม่ใช่ครุกรรม ไม่ใช่พหุลกรรม ไม่ใช่อาสันนกรรม
นี่คือประเภทของกรรมที่มีกำลังในการให้ผล
ผู้ฟัง ต่อไปก็คืออาจิณณกรรม ใช่ไหมคะ ต่อจากอาสันนกรรม
ท่านอาจารย์ ข้อความในมโนรถปูรณี ไม่มีอาจิณณกรรม
ผู้ฟัง หายไปไหนไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่หายค่ะ แต่จะเหมือนกับพหุลกรรม คือ กรรมที่มีกำลังหรือกรรมที่เสพคุ้น กรรมที่ระลึกถึงบ่อยๆ
ผู้ฟัง อาจิณณกรรมก็คงจะรวมกับพหุลกรรมได้ ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ
ที่มา ...