โลกิยวิบาก กับ สหชาตาธิปติปัจจัย
โลกุตตรมัคคจิตก็ดี และโลกุตตรผลจิต ซึ่งโดยชาติ โลกุตตรมัคคจิตเป็นชาติกุศล และโลกุตตรผลจิตเป็นชาติวิบากกระทำชวนกิจเป็นชวนจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัยโดยแน่นอนสำหรับโลกุตตรวิบาก
เพราะฉะนั้นสำหรับสหชาตาธิปติปัจจัยให้ทราบว่า เว้นโลกียวิบาก แต่ไม่เว้นโลกุตตร วิบากเพราะเหตุว่าโลกุตตรวิบากเป็นชวนจิต แต่ท่านผู้ฟังจะเห็นเหตุผลที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอธิปติปัจจัยเป็นปัจจัยที่ ๓ ต่อจากเห-ตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุว่า วิบากจิตไม่สำคัญอะไรเลย ใช่ไหมคะ ไม่มีแม้อธิปติปัจจัย ไม่มีสหชาตาธิปติปัจจัย กำลังนอนหลับสนิท ภวังคจิตของบางท่านประกอบด้วยอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก คือปัญญาเจตสิกเพราะเหตุว่าเป็นผลของกุศลซึ่งประกอบด้วยปัญญา ทำให้พื้นจิตเป็นจิตซึ่งมีปัญญาร่วมด้วยพร้อมที่จะเจริญเติบโตได้พร้อมที่จะเจริญขึ้นในภายหลังได้ สำหรับผู้ที่ภวังคจิตมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ในขณะที่นอนหลับสนิท แม้ภวังคจิตของบุคคลนั้น จะมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย บุคคลนั้นทำอะไรได้ ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลย ในขณะที่เป็นภวังคจิตเพราะฉะนั้นแม้ปัญญาจะเกิดกับภวังคจิต ก็ไม่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย
นี่เป็นเหตุที่วิบากจิตทั้งหมดที่เป็นโลกียวิบาก ไม่สำคัญอะไรเลย ไม่สามารถที่จะเป็นอธิปติปัจจัยได้ แต่ชีวิตในวันหนึ่ง ๆ ขณะไหนสำคัญขณะที่เป็นชวนจิตสำคัญที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงว่า สำหรับชวนจิตขณะใด ฉันทะเป็นอธิบดี หรือวิริยะเป็นอธิบดี หรือปัญญาเป็นอธิบดี หรือจิตเป็นอธิบดี เพราะเหตุใด เพื่อที่จะให้เห็นว่า แม้ในขณะที่กำลังเป็นโลภะหรือขณะที่กำลังเป็นกุศล ซึ่งสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดปรากฏลักษณะ ที่เป็นหัวหน้า เป็นอธิบดีก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะเช่นนั้นเกิดขึ้น เพราะอาศัยสภาพธรรมใดเป็นอธิบดี เพื่อที่จะให้เห็นความเป็นอนัตตาของในขณะที่เป็นกุศลหรืออกุศลนั่นเอง