. . . วิ ถี จิ ต . . .
ท่านอาจารย์ คำว่า “วิถีจิต” คงไม่ลืมว่าขณะใดที่ไม่ใช่ภวังคจิต ไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ไม่ใช่จุติจิตแล้ว เป็นวิถีจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจักขุวิญญาณเป็นจักขุวิญญาณวิถีจิต สัมปฏิจฉนะก็เป็นวิถีจิต สันตีรณะก็เป็นวิถีจิต จิตใดที่ไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ไม่ใช่ภวังคจิต ไม่ใช่จุติจิตแล้ว เป็นวิถีจิตทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเวลาที่ทางตามีการเห็นครั้งหนึ่ง บางครั้งเมื่อปัญจทวาราวัชชนวิถีจิตดับแล้วจักขุวิญญาณเกิด ดับแล้ว สัมปฏิจฉนจิตเกิด ดับแล้ว สันตีรณจิตเกิด ดับแล้ว โวฏฐัพพนจิตเกิดดับแล้ว อารมณ์ดับชวนจิตไม่เกิด ขณะนั้นจะรู้ไหมว่าเห็นอะไร ในเมื่อชวนวิถีจิตไม่เกิด แต่ว่าปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดแล้ว จักขุวิญญาณเกิดแล้ว สัมปฏิจฉนจิตเกิดแล้ว สันตีรณจิตเกิดแล้วโวฏฐัพพนจิตเกิดแล้ว
ทรง. ก็ต้องไม่รู้อะไรซิครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นที่กำลังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ ที่จะศึกษารู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมไม่ใช่จะไปเจาะจงรู้ที่ลักษณะของจักขุวิญญาณ แต่ขณะที่ชวนะกำลังรู้ในอารมณ์ที่ปรากฏทางตา ในขณะนั้นกำลังมีสี คือ สีสันวัณณะต่างๆขณะนี้เป็นอารมณ์ของชวนจิตซ้ำกัน ๗ ขณะ และไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะวิถีเดียว หรือครั้งเดียวของการเห็น เพราะเหตุว่า ในเวลานี้จักขุวิญญาณในวิถีหนึ่งดับไปแล้วมีภวังค์คั่น มีมโนทวารวิถีจิตคั่น แล้วก็มีจักขุวิญญาณเกิดอีก ทำให้ดูเหมือนไม่ดับแต่ที่จะพิจารณารู้ ต้องในขณะที่เป็นชวนวิถีจิต
ทรง. ผู้ที่มโนทวารวิถียังไม่ปรากฏก็เลยไม่ต้องรู้เลยว่า ที่เห็น ที่พอใจ ไม่พอใจนั้นเป็นมโนทวารวิถี หรือเป็นปัญจทวารวิถี
ท่านอาจารย์ เมื่อไม่ปรากฏก็รู้ไม่ได้ เป็นของธรรมดาแต่ศึกษาได้เพื่อที่จะได้ปรากฏ เมื่อปรากฏแล้วก็รู้ แต่ถ้าไม่ปรากฏจะรู้ไม่ได้