การจำแนกกรรมโดยกิจ
ต่อไปก็คือ กรรมที่กระทำกิจโดยกิจต่างกัน ข้อความใน มโนรถปุรณีอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จำแนกกรรมไว้ คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปรปริยายเวทนียกรรม แสดงถึงการให้ผลโดยกาล ครุกรรม พหุลกรรม อาสันนกรรม กฏัตตาวาปนกรรม การให้ ผลโดยลำดับของกรรมที่เป็นกรรมที่มีกำลัง หรือกรรมที่ไม่มีกำลัง ต่อไปก็คือ การให้ผลโดยกระทำกิจมี ๔ คือ ชนกกรรม ๑ อุปถัมภกกรรม ๑ อุปปีฬกกรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑ กรรมที่ได้กระทำแล้ว แล้วแต่ว่าจะกระทำกิจใดใน ๔ กิจ ชนกกรรม คือ กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น
อุปถัมภกกรรม คือ เมื่อวิบากอันกรรมอื่นทำให้เกิดแล้ว กรรมที่เป็นอุปถัมภก กรรมย่อมตามสนับสนุนความสุข และความทุกข์ คือ ทำให้การได้รับวิบากที่เป็นสุขหรือ เป็นทุกข์นั้นยืดยาวต่อไป คือ อุปถัมภ์ให้ความสุขดำรงต่อไปอีก หรือว่า อุปถัมภ์ให้ความ ทุกข์ดำรงต่อไปอีก เพราะว่าทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรมย่อมเป็นอุปถัมภกกรรม คือ ทำ กิจอุปถัมภ์ได้
สำหรับอุปปีฬกกรรม คือ เมื่อวิบากอันกรรมอื่นให้เกิดแล้ว อุปปีฬกกรรมย่อมบีบ คั้นเบียดเบียนความสุขความทุกข์ คือ ไม่ให้ความสุขก็ดี หรือความทุกข์ก็ดีในขณะนั้น ยืดยาวต่อไป นั่นเป็นกิจของอุปปีฬกกรรม
ส่วนอุปฆาตกกรรม ซึ่งก็เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้างนั้นเป็นกรรมที่กำจัดกรรม ที่มีกำลังอ่อนอย่างอื่นเสีย ขัดขวางวิบากของกรรมนั้น แล้วก็ย่อมจะทำโอกาสแก่วิบาก ของตน
เพราะฉะนั้นถ้าจะจำแนกกรรมโดยกิจ ไม่มีใครสามารถรู้ได้โดยประจักษ์แจ้งว่า กรรมที่ได้กระทำแล้วในชาติก่อน และในอดีตอนันตชาติมาแล้ว กรรมใดทำให้ปฏิสนธิ- จิตในชาตินี้เกิดขึ้น กรรมนั้นเป็นชนกกรรม